FMEA คืออะไร?
Failure Modes and Effects Analysis (FMEA) คือเทคนิคที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงมีให้เห็นกันทั่วไปในชีวิตประจำวันเพื่อคาดการ์ณสถานะการที่เลวร้ายที่สุดในเหตุการ์ณหรือกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นการทำธุรกิจก็เช่นกัน ดังคำกล่าวที่ว่า “การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง” เหล่าบรรดานักธุรกิจหรือผู้ลงทุนจึงต้องมีการคิดวิเคราะห์ความเสี่ยงที่พวกเขาจะต้องลงทุนว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เพื่อป้องกัน กำจัด หรือลดโอกาสความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ลูกค้าและเรายอมรับได้
FMEA ถูกแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
– Design FMEA
การประเมินผลความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ ว่ามีความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบกับผู้ใช้งาน อย่างไรบ้าง
– Process FMEA
การประเมิณผลการใช้งาน ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์เกิดความล้มเหลว จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานอย่างไรบ้าง โดย Process FMEA จะครอบคลุมตั้งแต่ กระบวนผลิต กระบวนการส่งต่อ จนถึงผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์
ขั้นตอนการนำมาปรับใช้ในธุรกิจถูกแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก 7 ขั้นตอนย่อย
– System analysis คือ การวิเคราะห์โครงสร้าง
– Planning & Preparation คือ การกำหนดแผนงาน กำหนดผู้เกี่ยวข้อง
– Structure Analysis คือ การวิเคราะห์โครงสร้างภาพรวมของผลิตภัณฑ์
– Function Analysis คือ การวิเคราะห์กลไกลการทำงานของผลิตภัณฑ์
– Failure Analysis and Mitigation วิเคราะห์ความล้มเหลวที่อาจจะเกิด และมีแนวทางการป้องกันอย่างไร
– Failure Analysis วิเคราะห์ความล้มเหลว วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ ผลกระทบของความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์
– Risk Analysis การประเมิณความเสี่ยงหรือการให้คะแนนความเสี่ยง (RPN risk priority number) เพื่อแก้ปัญหาตามลำดับ
– Optimization จัดลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อเรียงลำดับการแก้ปัญหา
– Risk Communication การจัดสื่อสารการจัดการความเสี่ยงอย่างไร
– Result Documentation การสื่อสารผลการทำงาน หรือการสรุปผลการประเมินความเสี่ยง
ในวงการธุรกิจยานยนต์ โดยส่วนใหญ่ จะใช้รูปแบบ PFMEA ( Process Failure Modes and Effects Analysis) เนื่องจาก เป็นรูปแบบที่ครอบคลุมหลาย Process ตั้งแต่ Production Process จนถึง Delivery Process โดยทุกขั้นตอนการทำงาน จะถูกนำมาวิเคราะห์ความล้มเหลว แลละนำมาแก้ไข โดยให้ลำดับความสำคัญของความล้มเหลวที่ส่งผลกระทบมากที่สุดมาแก้ปัญหาก่อน