รู้หรือไม่ หากลูกค้าคุณเป็นคนญี่ปุ่นควรทักทายแบบใด

1024 525 Mitsumoto
  • 0

วัฒนธรรม - ประเทศญี่ปุ่น Japan

วิธีการทักทายคนในประเทศญี่ปุ่น

เมื่อนึกถึงคนญี่ปุ่น อันดับแรกเลยคงหนีไม่พ้น วัฒนธรรม และ นวัตกรรมใหม่ๆของคนญี่ปุ่น แต่วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องของการทักทายในแบบของคนญี่ปุ่นกันค่ะ เนื่องด้วยประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่หลายๆคนใฝ่ฝัน และ ชื่นชอบในการอยากไปเที่ยวมาก เพราะ มีทั้งอาหารที่อร่อย สถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย และน่าจะมีหลายคนที่อยากไปเที่ยวญี่ปุ่น เพราะถูกใจในการบริการด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่นและการแสดงกิริยาที่เป็นมิตรทำให้หลายๆคนชื่นชอบประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง   ดังนั้นในการไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น หรือ แม้จะอยู่ประเทศใดหากรู้จักกับคนญี่ปุ่นเราควรจะรู้จักวิธีการทักทายเบื้องต้นไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นวิชาติดตัวไว้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย

 

มารยาททักทายอย่างเป็นทางการ 

1) รักษาระยะห่าง   อย่าก้าวเข้าสู่ด้วยการจับมือ หรือโอบกอด  แต่ควรจะรักษาระยะห่างที่เหมาะสม  วัฒนธรรมญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับพื้นที่และความเป็นส่วนตัว  ดังนั้นต้องให้แน่ใจว่าภาษากายของคุณจะสะท้อนถึงคุณค่าเกี่ยวกับการรักษาระยะห่างได้อย่างเหมาะสม ซึ่งก็ควรเป็นระยะซักสองหรือสามฟุตระหว่างคุณกับคู่สนทนา   แต่ข้อควรระวัง หากคุณอยู่ไกลเกินไป การพูดและการมีปฏิสัมพันธ์กับคู่สนทนาอาจกลายเป็นเรื่องที่น่าอึดอัดใจหรือยากขึ้นแทน

 

2) การให้เกียรติ   พูดตรงประเด็นด้วยท่าทางที่สุภาพอ่อนน้อม และควรระวังพฤติกรรมเชิงก้าวร้าวที่ถือว่าไม่สุภาพ อีกทั้งไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือในขณะสนทนา พึงตระหนักถึงการให้ความสำคัญกับบุคคลที่คุณได้พบปะ

 

3) ลดสายตาลงต่ำ   การสบตาโดยตรง (Bold Eye Contact) ถือเป็นเรื่องไม่สุภาพ  ดังนั้นอย่าลืมลดสายตาของคุณเมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้   โดยไม่จำเป็นต้องลดต่ำในระดับจ้องที่เท้าของตัวเอง แต่พยายามอยู่ในระดับที่พอมองเห็นปากหรือคางของคู่สนทนาในขณะที่พูดคุยกัน  และจงหลีกเลี่ยงการสบตาอย่างจริงจัง เพราะอาจดูเป็นการก้าวร้าวและไม่เหมาะสม

 

มารยาทการทักทายของคนญี่ปุ่น

4) การโค้งคำนับ ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “Rei” (れい/เร) หรือ “Ojigi” (/おじぎ/โอจิกิ) การโค้งคำนับถือว่าเป็นการทักทายผู้อื่นพื้นฐานที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำ ซึ่งจะคล้ายๆกับการไหว้ของคนไทย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะไม่ถือว่าใครอายุน้อยกว่าต้องคำนับก่อน ซึ่งการโค้งคำนับผู้ชายกับผู้หญิงจะมีอริยาบทต่างกัน และการโค้งคำนับนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามลำดับของบุคคล โดยแบ่งหลักๆได้ดังนี้   การโค้งคำนับมีถึง 3 ระดับเพื่อแสดงถึงความเคารพที่ต่างกัน มาดูกันว่าเราควรโค้งคำนับแบบไหน กับใครบ้าง
  •  การโค้งทักทาย (Eshaku/えしゃく/ อิชิคุ) คือ การทักทายกับผู้ที่สนิทแบบเป็นกันเอง วิธีการคือ ก้มตัวทำมุมประมาณ 15 องศา
  • การโค้งเคารพแบบธรรมดา (Futsuu Rei/ふつう/ ฟุสึยุ) คือ การทักทายกับผู้ที่เรารู้จัก หรือพนักงานขายกับลูกค้า วิธีการคือ ก้มตัวประมาณ 30 องศา
  • การโค้งเคารพแบบนอบน้อม (Saikei Rei/さつうれい/ ซาอิเครอิ เรอิ) คือ การให้ความเคารพกับผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเจ้านายที่มีตำแหน่งสูง วิธีการ คือ ก้มตัวประมาร 45 องศา กับแนวเส้นตรง
และที่สำคัญ เวลาโค้งกลับ เราต้องโค้งให้ต่ำกว่าคนที่โค้งทักทายคุณก่อน การโค้งต่ำกว่า  แสดงให้เห็นว่าเราเคารพคนคนนั้น คนที่เป็นฝ่ายโค้งก่อนแสดงความเคารพโดยการโค้ง ถ้าเราไม่ โค้งต่ำกว่า คงคล้ายกับเรายกมือรับไหว้ข้างเดียวซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบกันนัก

 

การทักทายในวัฒนธรรมต่างๆ - โพสต์ทูเดย์ ข่าวAEC (ประชาคมอาเซียน)

5) การจับมือ   การสัมผัสโดยทั่วไปถือเป็นเรื่องต้องห้ามของวัฒนธรรมญี่ปุ่นในสถานการณ์ที่เป็นทางการ  ดังนั้น การจับมือควรมีส่วนร่วมเฉพาะในกรณีที่ผู้พูดจะเป็นฝ่ายเริ่มต้นในการติดต่อก่อน

 

 

6) การแลกเปลี่ยนนามบัตรในวัฒนธรรมญี่ปุ่นการแลกเปลี่ยนนามบัตรเป็นสิ่งสำคัญของการติดต่อสื่อสาร  หากต้องการให้นามบัตรของคุณในลักษณะที่ถูกต้อง คุณต้องจับด้านข้างของตัวนามบัตรด้วยมือทั้งสองข้างโดยหันตัวอักษรไปทางคู่สนทนาของคุณ  และในการรับนามบัตรที่ถูกต้อง คุณต้องรับนามบัตรด้วยมือทั้งสองข้างและโค้งคำนับเพื่อแสดงความยินดี

 

ข้อมูลจาก: https://www.teelangka.com/greetingjp2-2/
รูปภาพจาก: Posttoday , ThaiGoodview

#mitsumoto #mitsumotothailand #endcap #จุกปิดกันฝุ่น #plastic #automotive #vacuum #thermoforming #จุกพลาสติกปิดกันฝุ่น

#วิธีการแลกนามบัตร #โค้งคำนับแบบคนญี่ปุ่น #แสดงความเคารพ #การทักทายแบบคนญี่ปุ่น #Japan

Author

Mitsumoto

All stories by: Mitsumoto