โคดาวาริ หัวใจหลักที่ทำให้ญี่ปุ่นผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1024 525 Mitsumoto

หลายๆท่านที่ได้ยินคำนี้ (โคดาวาริ “こだわり” ) ก็อาจเกิดการสงสัย และอยากรู้ จนต้องได้ไปหาข้อมูลว่าหมายถึงอะไร เพราะคำว่า โคดาวาริ ไม่มีคำแปลที่ตรงตัว แต่อธิบายขยายความความหมายได้ว่า ‘ความตั้งใจแน่วแน่ในการทำบางสิ่งให้ออกมาดีที่สุด ไม่ให้มีที่ติแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ’ หรือ การที่เราทุ่มเทให้กับงานหรือแม้กิจกรรมที่ตัวเองสนใจ เพื่อผลักดันตัวเอง และยังเป็นการพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นคนที่มีคุณภาพ ไม่ท้อแท้ ห่อเหี่ยว เบื่อหน่าย ทุกครั้งที่ต้องทำงาน  ไม่สนว่างานที่จะต้องทำนั้นน่าเบื่อแค่ไหน การที่เราจะก้าวข้ามผ่านความรู้สึกแบบนี้นั้น ควรเริ่มจากการเรียนรู้แนวคิดในแบบของคนญี่ปุ่น นั่นก็คือ ‘โคดาวาริ’   โคดาวาริ เป็นแนวคิดที่แฝงอยู่ในตัวของคนญี่ปุ่น และถ่ายทอดสืบต่อกันมาสู่รุ่นต่อรุ่น เพราะ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม จึงทำให้โคดาวาริอยู่ในชีวิตประจำวันของเขา โดยที่เขาไม่รู้ตัว และ แสดงออมาผ่านกิจวัตรประจำวัน ซึ่งในบางเรื่องนั้นแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย ถ้าป็นบ้านเราก็จะพูดว่า ‘หยวนๆกันไป ไม่เป็นไรหรอก’ แต่ดวยความที่คนญี่ปุ่นเป็นคนที่ค่อนข้างเคร่งครัดมากๆ จริงจัง และ เอาใจใส่ไปซะทุกเรื่อง จึงทำให้ คำว่า ‘หยวนๆกันไป ไม่เป็นไรหรอก’ ไม่มีอยู่ในพจนานุกรมของเขา   “โคดาวาริ” ที่สะท้อนให้เห็นในสังคมวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้แก่ สำหรับบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งที่ ผู้บริหารระดับสูงจะยืนโค้งคำนับส่งแขกขึ้นรถที่หน้าประตูบริษัท และจะโค้งอยู่แบบนั้นจนกว่ารถของแขกจะหายลับออกจากรั้วของบริษัทไปเลยทีเดียว อีกหนึ่งตัวอย่างของระดับ Staff ร้านขายเสื้อญี่ปุ่นชื่อดังในประเทศไทยเราเอง ที่มีหลากหลายสาขามากๆ พนักงานจะก้มขอบคุณลูกค้าทุกครั้งที่ลูกค้าซื้อของ   ในส่วนของทำงานคนญี่ปุ่นก็ทุ่มสุดตัว หลายๆคนกล่าวว่า คนญี่ปุ่นบ้างาน เพราะ “โคดาวาริ” ทำให้คนญี่ปุ่นมีลักษณะนิสัยที่มักจะทุ่มเททำงานและใส่ใจในงานร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ทำงานไปคุยไลน์ไป หรือดูข่าวดาราไป การทำงานแบบญี่ปุ่นยังเน้นการพัฒนางานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่ทำไปวันๆ พวกเขามักรู้สึกว่างานที่ตัวเองทำมีความหมายและภาคภูมิใจในงานที่ทำ   อีกเรื่องที่คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญไม่แพ้ข้ออื่นเลยก็คือ ความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย คนญี่ปุ่นรักษาความสะอาดเป็นระเบียบในบ้านเรือนและที่สาธารณะได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นท้องถนน ห้องน้ำสาธารณะ รถโดยสาร ฯลฯ ทั้งนี้เพราะความสะอาดจะต้องสะอาดจริงๆ   ดังนั้นเมื่อเราได้รู้จักกับโคดาวาริแล้ว เราสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงาน หรือ แม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวันของเราให้มีคุณค่า นำมาพัฒนาตัวเองอยู่สม่ำเสมอ ในวันที่เรารู้สึกหมด Passion เราต้องคิดและเปลี่ยน Mindset ของเรา เพราะโคดาวาริ สามารถนำมาเป็นพลังบวกให้เราสู้และไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ด้วยความตั้งใจแน่วแน่ว่าเราก็สามารถทำทุกสิ่งที่เราตั้งใจให้ออกมาดีได้เหมือนกัน   #mitsumoto #mitsumotothailand #kodawari #โคดาวาริ #endcap #dustcap #จุกปิดกันฝุ่น #จุกปิดท่อพลาสติก

ลดปัญหาจากงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย FMEA
1024 724 Mitsumoto

FMEA คืออะไร? Failure Modes and Effects Analysis (FMEA) คือเทคนิคที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงมีให้เห็นกันทั่วไปในชีวิตประจำวันเพื่อคาดการ์ณสถานะการที่เลวร้ายที่สุดในเหตุการ์ณหรือกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นการทำธุรกิจก็เช่นกัน ดังคำกล่าวที่ว่า “การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง” เหล่าบรรดานักธุรกิจหรือผู้ลงทุนจึงต้องมีการคิดวิเคราะห์ความเสี่ยงที่พวกเขาจะต้องลงทุนว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เพื่อป้องกัน กำจัด หรือลดโอกาสความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ลูกค้าและเรายอมรับได้ FMEA ถูกแบ่งเป็น 2 แบบ คือ – Design FMEA การประเมินผลความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ ว่ามีความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบกับผู้ใช้งาน อย่างไรบ้าง – Process FMEA การประเมิณผลการใช้งาน ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์เกิดความล้มเหลว จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานอย่างไรบ้าง โดย Process FMEA จะครอบคลุมตั้งแต่ กระบวนผลิต กระบวนการส่งต่อ จนถึงผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนการนำมาปรับใช้ในธุรกิจถูกแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก 7 ขั้นตอนย่อย – System analysis คือ การวิเคราะห์โครงสร้าง – Planning & Preparation คือ การกำหนดแผนงาน กำหนดผู้เกี่ยวข้อง – Structure Analysis คือ การวิเคราะห์โครงสร้างภาพรวมของผลิตภัณฑ์ – Function Analysis คือ การวิเคราะห์กลไกลการทำงานของผลิตภัณฑ์ – Failure Analysis and Mitigation วิเคราะห์ความล้มเหลวที่อาจจะเกิด และมีแนวทางการป้องกันอย่างไร – Failure Analysis วิเคราะห์ความล้มเหลว วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ ผลกระทบของความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ – Risk Analysis การประเมิณความเสี่ยงหรือการให้คะแนนความเสี่ยง (RPN risk priority number) เพื่อแก้ปัญหาตามลำดับ – Optimization จัดลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อเรียงลำดับการแก้ปัญหา – Risk Communication การจัดสื่อสารการจัดการความเสี่ยงอย่างไร – Result Documentation การสื่อสารผลการทำงาน หรือการสรุปผลการประเมินความเสี่ยง ในวงการธุรกิจยานยนต์ โดยส่วนใหญ่ จะใช้รูปแบบ PFMEA ( Process Failure Modes and Effects Analysis) เนื่องจาก เป็นรูปแบบที่ครอบคลุมหลาย Process ตั้งแต่ Production Process จนถึง Delivery Process โดยทุกขั้นตอนการทำงาน จะถูกนำมาวิเคราะห์ความล้มเหลว แลละนำมาแก้ไข…

POMODORO เทคนิคการแบ่งเวลาการทำงานโดยใช้รูปทรงมะเขือเทศ
1024 525 Mitsumoto

เทคนิคการแบ่งเวลาการทงานโดยใช้รูปทรงมะเขือเทศ Pomodoro ที่อ่านออกเสียงเหมือนภาษาญี่ปุ่น แต่เดี๋ยวก่อน คำนี้มาจากภาษาอิตาลีที่แปลว่า มะเขือเทศ แต่ PomodorosTechnique ที่เราพูดถึงนั้นไม่ได้หมายถึงวิธีการทำมะเขือเทศ แต่ pomodorosคือวิธีการจัดการเวลาที่กำลังเป็นที่นิยม ด้วยการแบ่งเวลาการทำงานเป็นช่วงการทำงานที่เน้นย้ำ โดยแบ่งเป็นช่วงพักสั้นๆ บ่อยๆ โดยจะแบ่งช่วงเวลาการทำงานออกเป็นเซสชั่นละ 25 นาที และพักเบรค 5-10 นาทีเพื่อรีเฟรชสมอง ซึ่งการใช้เทคนิค pomodorosนั้นง่ายดายและทำได้ไม่ยากค่ะ แค่หยิบปากกาและกระดาษ วางแผนงานของคุณ จากนั้นเริ่มจับเวลา 25 นาที !   เทคนิคการบริหารเวลาที่จะช่วยปรับปรุงการโฟกัสและประสิทธิภาพการทำงานของคุณ ทำให้เราสามารถทำงานได้ภายในเวลาที่จำกัดและสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่เราตั้งไว้ เป็นวิธีการบริหารเวลายอดนิยมที่คิดค้นโดย Francesco Cirillo ชาวอิตาลีค่ะ โดยเขาค้นพบเนื่องจากสมัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย เขามีปัญหาในการจดจ่อกับการเรียนและทำงานที่ได้รับมอบหมาย เขาจึงใช้นาฬิกาจับเวลาในครัวรูปทรงมะเขือเทศเพื่อวัดช่วงเวลา 25 นาทีของเขาที่ทุ่มเทเวลาเรียนในช่วงเวลานั้น และนับแต่นั้นมาเทคนิค Pomodoro ก็ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเทคนิค Pomodoro นั้นเรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพมาก  เทคนิคนี้เหมาะกับใครบ้าง เทคนิค pomodorosคือเทคนิคที่เหมาะกับคนที่ต้องการทำงานอย่างต่อเนื่องผ่านจุดที่มีประสิทธิผลสูงสุด หรือคนที่มักจะมี สิ่งรบกวนเล็กน้อยซึ่งมักจะทำให้วันทำงานหยุดชะงัก หรือมีงานจำนวนมากที่อาจใช้เวลามาก และต้องการจัดเวลาหรือทำให้เสร็จตามกำหนด นอกจากนี้ยังเหมาะกับคนที่สนุกกับการตั้งเป้าหมายให้ตัวเองด้วยค่ะ คราวนี้เมื่อเรารู้แล้วว่า pomodorosคืออะไร และเหมาะกับใครแล้วบ้างนั้น เรามาดูวิธีการกันค่ะว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เทคนิค Pomodoro ทำงานอย่างไร ? 1.ลิสต์รายการที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นงานที่คุณพยายามจัดการมานานหลายปี หรืองานที่ต้องรีบทำให้เสร็จตามกำหนด หรือแม้แต่งานอดิเรกที่อยากทำมานานแต่จัดการเวลาไม่ได้ เช่น ทำที่คั่นหนังสือก็ตาม ลองลิสต์ออกมาแล้วมาลงมือทำกัน 2.โฟกัสที่งาน ตั้งเวลาของคุณเป็นเวลา 25 นาที และมุ่งความสนใจไปที่งานเดียวจนกว่าตัวจับเวลาจะดังขึ้น อย่าลืมปิดอีเมล ปิดโซเชียล ปิดโทรศัพท์ ปิดประตูห้อง ห้ามคนรบกวน เพราะการเรียนรู้ที่จะจัดการสิ่งรบกวนสมาธิเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่เทคนิค Pomodorosจะสอนคุณ หลังจากทั้งหมดใช้เวลาเพียง 25 นาทีเท่านั้น 3.เลือกงานที่จะทำ เริ่มจับเวลา 25 นาที และเริ่มทำงาน เมื่อใช้เทคนิคโพโมโดโรจะไม่มีการหยุดทำชั่วคราวจนกว่าจะครบเวลา เมื่อเซสชั่นของคุณสิ้นสุดลง ให้ทำเครื่องหมายหนึ่งโพโมโดโร และบันทึกสิ่งที่คุณทำเสร็จ 4.พักระยะสั้น เมื่อทำครบเวลาและเซสชั่นเสร็จสมบูรณ์ ให้ก้าวออกจากโต๊ะทำงานและพักสักห้านาที ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง อาจเหยียดแขนเหยียดขา หรือหาความสดชื่นให้กับร่างกายด้วยกาแฟสักถ้วย 5.ทำซ้ำ เริ่มจับเวลาอีกครั้งสำหรับเซสชั่นต่อไป และทำให้ครบสี่โพโมโดโร 6.พักระยะยาว หลังจากครบสี่โพโมโดโร ให้ใช้เวลาพักให้นานขึ้น โดยพัก 15-20 นาที และกลับมาอย่างสดชื่น   เทคนิค Pomodoro ทำแล้วได้ประโยชน์อย่างไร บางครั้งเมื่อเราต้องเผชิญกับงานใหญ่หรืองานเป็นชุด อาจเป็นเรื่องยากที่จะเริ่มต้นหรือรักษาแรงจูงใจไว้ การแบ่งงานเป็นช่วงสั้นๆ ตามด้วยช่วงพักสั้นๆ ด้วยวิธี pomodorosคือสิ่งที่จะทำให้เราจัดการงานได้ง่ายขึ้นค่ะ เราสามารถใช้กระบวนการนี้เพื่อฝึกสมองของคุณให้มีสมาธิและช่วยให้คุณก้าวหน้าได้แม้จะมีสิ่งรบกวนมากมาย รวมถึงยังช่วยให้เราจัดเวลา และจัดการงานต่างๆ ได้สำเร็จอีกด้วย เพราะบางครั้งพลังใจของเราอาจจะยังไม่เพียงพอ แต่เทคนิค…

Agile
แนวคิดการทำงานแบบอไจล์ (Agile)
1024 525 Mitsumoto

Agile (อไจล์) Agile  ‘แนวคิดในการทำงาน’ (ไม่ใช่รูปแบบวิธีการหรือขั้นตอนในการทำงาน) และไม่ได้จำกัดว่าต้องนำไปใช้กับการพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้น เพราะอไจล์ให้ความสำคัญในเรื่อง ‘คน’ ‘การสื่อสาร’ และ ‘แนวทางที่จะนำไปใช้พัฒนาสินค้าและบริการ’ ขององค์กรให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สินค้าและบริการเหล่านั้นตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้ใช้งานรวมถึงผู้บริโภคอยู่เสมอ   องค์กรส่วนใหญ่มักจะทำงานด้วยระบบจัดการที่มีชื่อเรียกว่า Project Management โดยมี Project Manager หรือ PM เป็นผู้จัดการโครงการและมีทีมมานั่งวางแผนร่วมกันก่อนที่จะเริ่มโครงการ ดูทั้งเรื่องงบประมาณโครงการ ระยะเวลา กำลังคน และองค์ประกอบอื่นๆ ตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ ซึ่งมักจะใช้รูปแบบการทำงานแบบ ‘Waterfall Process’ คือแบบมีขั้นมีตอน ซึ่งเป็นการทำงานที่ต้องให้ผ่านไปทีละขั้น แต่แนวคิดอไจล์นั้นมีรูปแบบการทำงานที่ต่างออกไป อาจกล่าวได้ว่า   ‘อไจล์เป็นกระบวนการที่ช่วยลดการทำงานที่เป็นขั้นตอนและงานด้านการทำเอกสารลง’ แต่จะไปมุ่งเน้นในเรื่องการสื่อสารของทีมมากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ได้รวดเร็วขึ้น แล้วจึงนำสิ่งที่ได้ไปให้ผู้ใช้กลุ่มตัวอย่าง (Target group) ทดสอบใช้งานจริง จากนั้นจึงรวมรวมผลทดสอบมาประเมินดูอีกครั้ง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงสินค้าและบริการนั้นๆ ให้ดีขึ้นทีละนิด ด้วยแนวทางนี้จะทำให้องค์กรสามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็วและตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากขึ้นอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง       แนวคิดแบบ ‘อไจล์’ เลยถูกนำมาประยุกต์ใช้ โดย ‘แทนที่เราจะวางเป้าหมายให้ใหญ่ๆ แล้วยังต้องใช้ระยะเวลานานๆ อีกทั้งความพยายามทำให้ซอฟต์แวร์ออกมาให้สมบูรณ์แบบที่สุดในคราวเดียว’ ก็ให้เปลี่ยนเป็นการวางแผนและพัฒนาไปทีละนิด แบ่งซอยขอบเขตงานให้เล็กลง แล้วค่อยๆ ประเมินไปทีละเฟสว่าทำออกมาดีไหม ทำมาถูกทางหรือไม่ จะก้าวต่อไปอย่างไร เมื่อประเมินแล้วจึงค่อยไปต่อในเฟสถัดๆ ไป การกำหนดเป้าหมายให้มีระยะสั้นและค่อยเป็นค่อยไปนี้ เผื่อกรณีที่เจอปัญหาทีมก็จะได้แก้ไขได้ง่ายขึ้น ทีมก็จะได้รับทราบข้อมูลและผลตอบรับจากผู้ใช้งานจริงอยู่เสมอ ซึ่งช่วยให้ทีมสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้นด้วย   หลักการของทำงานแบบอไจล์นั้นจริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีความซับซ้อน แต่กลับมีประสิทธิภาพมาก หลักการทำงานแบบอไจล์ประกอบด้วย มีการทำงานแบบ Cross-functional team คือการนำคนที่มาจากหลายสายงานที่มักมีความต่างกัน มาทำงานร่วมกันอยู่ในทีมเดียวกัน สิ่งนี้จะส่งผลให้ทีมสามารถทำความเข้าใจกับรายละเอียดของงานได้ง่ายขึ้นแล้วยังส่งผลถึงเรื่องการประสานงานกับส่วนงานต่างๆ ที่มีความคล่องตัวมากขึ้น ทีมมีอำนาจในการในการตัดสินใจและกำหนดทิศทางของโครงการมากขึ้น ส่วนใหญ่คนที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานใน Agile squad จะได้รับอำนาจในการตัดสินใจที่มากพอเพื่อไม่ให้โครงการต้องผ่านกระบวนการการขออนุมัติขององค์กรที่มักจะใช้เวลานาน หมายความว่า Product Owner จะต้องมีอำนาจตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วที่สุด ใช้บุคลากรที่ทำงานเพื่อโครงการนี้โดยเฉพาะ (Dedicated resources) มีการแต่งตั้งคนที่รับผิดชอบงานในแต่ละส่วน เพื่อโฟกัสใน Scope  of work ของโครงการที่ได้รับมอบหมายมา แบ่งเฟสงานให้เป็นโครงการเล็กๆ กำหนดเป้าหมายที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆ และต้องส่งมอบผลงานเป็นโครงการเล็กๆ เมื่อประเมินผลแล้วว่าอยู่ในทิศทางที่ดีจึงค่อยต่อยอดทำเพิ่มไปเรื่อยๆ ซึ่งหากพบข้อผิดพลาดหรือจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงใด ก็จะปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมในแต่ละรอบไป มักเรียกวิธีการนี้ว่า Sprint ทุกคนสามารถรับรู้สถานะของโครงการได้อย่างชัดเจน ทุกคนจะต้องสื่อสารและรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นของโครงการ รวมทั้งรายงานความคืบหน้าของโครงการให้ทั้งทีมได้รู้ เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนและการวัดผลได้ เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ เรียนรู้ข้อผิดพลาดและข้อดีได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการทำงานเป็นรอบเล็กๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้อผิดพลาดที่พบจากครั้งก่อนๆ และสามารถหาข้อบกพร่องตลอดจนข้อดีในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว   การสร้างวัฒนธรรมการทำงานภายในองค์กรที่เอื้อต่อการทำงานแบบอไจล์ หัวใจสำคัญของแนวคิดการทำงานแบบอไจล์ก็คือ “คน” “การสื่อสารระหว่างกันภายในทีม” และ “การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ” ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องปลูกฝังและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการทำงานแบบอไจล์ ดังต่อไปนี้ ให้เคารพในความคิดเห็นของกันและกัน ไม่ว่าคนในทีมจะแตกต่างกันเรื่องเพศ อายุ วัยวุฒิ คุณวุฒิ รวมถึงทักษะความสามารถต่างๆ เพราะด้วยความหลากหลายของสมาชิกภายในทีมนี้จะช่วยให้เราสามารถสร้างผลงานที่มีคุณค่าและตอบโจทย์ผู้ใช้ในวงกว้างได้ ให้เชื่อมั่นว่าแต่ละคนจะทำงานของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ บริหารจัดการงานต่างๆ ได้ด้วยตนเอง และมีแรงจูงใจที่อยากจะพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นได้เสมอ กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารกันภายในทีม เพื่อให้ทีมมองเห็นเป้าหมายตรงกันจะทำงานไปในทิศทางใด ทุกคนต้องเข้าใจกระบวนการการทำงานซึ่งกันและกัน ใครติดปัญหาหรือต้องการแก้ไขปรับปรุงสิ่งใดก็จะได้ร่วมมือแก้ไขกันได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำกัดเฉพาะแค่เรื่องที่เป็นปัญหาเท่านั้น แต่ถ้ามีเรื่องที่ชอบ พึงพอใจหรืออยากจะชื่นชมทีม ก็สามารถทำได้ทันที เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทีมมีกำลังใจในการทำงานต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการ สร้างความรู้สึกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทีมจะเปิดใจที่จะนำเสนอความคิดเห็นหรือแนวคิดใหม่ๆ…

Muda Mura Muri
3มู ที่ทำให้ธุรกิจไปไม่ถึงฝัน
1024 525 Mitsumoto

ในครั้งก่อนจากที่เคยอธิบายคำว่า KAIZEN ไคเซ็น ไปแล้ววันนี้ขอนำเสนอเรื่อง 3 MU เพราะสองอย่างนี้มีความเกี่ยวข้องกัน แล้วมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร?? คนที่ไม่เคยทำกิจกรรม KAIZEN ก็คงจะงงงวยกันอยู่ แต่คนที่ทำกิจกรรมนี้บ่อยคงจะเคยชินกับ 3 คำนี้แน่นอน เราไปดูความหมายกันก่อนดีกว่าค่ะ คำว่า MU เอามาจากคำแรกของภาษาญี่ปุ่น ได้แก่ ムダ MUDA มุดะ   =  ความสูญเปล่า ムラ   MURA มุระ   =   ความไม่สม่ำเสมอ ムリ   MURI  มุริ     =   การฝืนทำ,เกินกำลัง ถ้า 3 สิ่งนี้ แทรกตัวอยู่ในการปฏิบัติงานจะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ สร้างปัญหาในการทำงาน เราจึงต้องทำการกำจัด 3 MU นี้ออกไป ตรงจุดนี้เองที่เชื่อมโยงกับกิจกรรม KAIZEN Muda, Mura, Muri เป็นคำภาษาญี่ปุ่น Muda คือ ความสูญเปล่า Mura คือ ความไม่สม่ำเสมอ และ Muri คือ การฝืนทำ 3 สิ่งนี้คือปัญหาที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าเราสามารถกำจัด 3 สิ่งนี้ได้ เราจะสามารถลดเวลาที่ไม่ทำให้เกิดผลงานได้ ในทางกลับกันก็สามารถเพิ่มเวลาที่ทำให้เกิดผลงานได้มากขึ้น  Muda หรือความสูญเปล่า อาจเกิดได้หลายลักษณะ อาทิ ความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอ การเคลื่อนย้าย การปรับเปลี่ยน การทำใหม่ การถกเถียง เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น การประชุมอาจเกิดความสูญเปล่าได้ หากการประชุมนั้นกลายเป็นการถกเถียงกัน ทำให้เสียเวลาไปกับการประชุมที่ไม่ได้ข้อสรุป หรือในการทำกิจกรรมการขาย ถ้าไม่มีการวางแผนในการจัดพื้นที่การไปพบลูกค้า ก็จะเสียเวลาในการเดินทางและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น           มีการแบ่งความสูญเปล่าออกเป็น 7 ประการ ซึ่งบริษัทโตโยต้า ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ได้ยึดถือปฏิบัติมาหลายสิบปีจนประสบความสำเร็จอย่างเช่นทุกวันนี้ ดังนี้ ความสูญเปล่าจากการผลิตเกินกว่าความจำเป็น ความสูญเปล่าจากการรองาน ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนย้าย ความสูญเปล่าจากวิธีการผลิต ความสูญเปล่าจากสต๊อกที่มากเกินไป ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวของคนหรือเครื่องจักร ความสูญเปล่าจากการผลิตของเสีย  Mura หรือความไม่สม่ำเสมองานที่มีความไม่สม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นในเรื่องปริมาณงาน วิธีการทำงาน หรืออารมณ์ในการทำงาน ทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของผลงานตามไปด้วย นั่นหมายความว่า ผลงานที่ออกมาไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หากทุกคนสามารถรักษามาตรฐานของงานไว้ได้ ก็จะทำให้ประสิทธิภาพของงานสูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในการประชุมไม่เคยมีผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมหน้าเลย ครั้งนี้ขาดนนั้น ครั้งนั้นขาดคนนี้ และในการทำกิจกรรมการขายก็เช่นเดียวกัน พนักงานอาจมีความตั้งในที่ไม่สม่ำเสมอ ถ้าไม่ถึงปลายเดือนก็ไม่พยายามขาย เป็นต้น Muri หรือการฝืนทำ การฝืนทำสิ่งใดๆ ก็ตามมักทำให้เกิดผลกระทบบางอย่างในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น การทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ เป็นการฝืนร่างกายซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาว อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ในการประชุม หากยังไม่มีการปรึกษาหารือที่มากเพียงพอ แต่กลับเร่งรัดให้มีการลงมติ ก็จะได้ข้อสรุปที่ผิดพลาด ส่วนในด้านการขายนั้น…

4M Change Method
1024 724 Mitsumoto

ปัจจัยในกระบวนการผลิต 4 ด้าน (4M in Production Process) ในการผลิตจะมีขั้นตอนควบคุมการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นในผลผลิตที่ได้ให้เกิดกับลูกค้าดังนั้นในกระบวนการผลิตจะเน้นเรื่องของความสามารถในการควบคุมการผลิต โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมให้การผลิตมีคุณภาพที่ดี มีความสม่ำเสมอ สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามเป้าหมายในการจัดการกับปัจจัยหรือตัวแปรในการผลิต โดยทั่วไปแล้วมักจะให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยหลักที่สำคัญ 4 กลุ่มได้แก่ Man, Method, Material และ Machine รายละเอียดปัจจัยในแต่ละกลุ่ม 1. ทรัพยากรมนุษย์ (Man) คือ คนงาน พนักงาน หรือบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอก ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด เพราะการผลิตหรือดำเนินการใด ๆ จะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคนทั้งในดานความคิด การวางแผน การดำเนินการ หรือจัดการทำให้เกิดการผลิตหรือกิจกรรมทางธุรกิจทุกรูปแบบ การพัฒนาคนจริงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ 2. วิธีปฏิบัติงาน (Method) คือ วิธีการ ขั้นตอน หรือขบวนการในการทำงานหรือการผลิต ซึ่งปัจจุยนี้เป็นปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต่อมา เพราะความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมที่มีนั้นจะต้องมาจากการปฏิบัติงานและขั้นตอนของการผลิตหรือการดำเนินธุรกิจที่ดี ต้องมีการจัดการ การวางแผน การติดตาม การตรวจสอบ และการควบคุมการผลิตหรือการดำเนินกิจกรรม โดยกำหนดให้มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ดีมีประสิทธิภาพ 3. ทรัพยากร (Resource) ในเรื่องของทรัพยากรนี้เราอาจแยกพิจารณาใน 2 ส่วนคือ 3.1 เงินทุน (Money) คือ เงินหรือทุน ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจทั้งจากเงินทุนภายในและภายนอก ในทางธุรกิจเงินทุนถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด เพราะการทำธุรกิจทุกอย่างไม่สามารถดำเนินได้ดีหากขาดทุนในการดำเนินงาน กล่าวได้ว่าการทำธุรกิจทุกอย่างจะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเงินทุน เพราะจะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจและปัจจัยต่างๆ ให้ดำเนินการไปได้ทั้งในด้านค่าแรงคน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ การมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ 3.2 วัสดุ (Material) คือ วัสดุสิ่งของ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนอะไหล่ ผลิตภัณฑ์ บริการหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งมีส่วนนำมาใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต่อมา เพราะทุกธุรกิจต้องอาศัยสิ่งที่ได้ในกลุ่มนี้มาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิต ดังนั้นต้องรู้จักบริหารจัดการวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพสามารถมีเพียงพอในการผลิต บริหารจัดการให้ได้ต้นทุนที่ต่ำในการผลิต และทำให้ธุรกิจได้ผลกำไรสูงสุด 4. เครื่องจักร (Machine) คือ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการผลิต ในส่วนนี้แม้จะเป็นส่วนสุดท้ายของปัจจัย เนื่องจากหากพิจารณาในเรื่องการผลิต จะสามารถทำได้แม้จะมีเพียงปัจจัยใน 3 ส่วนแรกแต่การผลิตก็อาจจะยังมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถ อาจไม่สามารถทำการผลิตได้ในปริมาณที่มากหากขาดเครื่องมือเครื่องจักรมาช่วย เพราะปัจจัยในกลุ่มนี้จะเป็นส่วนที่มาช่วยเติมเต็มในส่วนที่ความสามารถของมนุษย์ไม่สามารถทำได้เช่นระยะเวลาทำงานที่ต่อเนื่อง ความถูกต้องแม่นยำ ความเร็วในการผลิต ความสม่ำเสมอที่เป็นมาตรฐาน หรือความทนทานในบางสถาณการณ์ที่มนุษย์ทำไม่ได้เช่น สภาพอากาศในที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำ สภาพแวดล้อมอากาศที่มีก๊าซพิษ เป็นต้นดังนั้นจะเห็นว่าหลายครั้งที่ความสำเร็จในการผลิตจะตัดสินได้จากปัจจัยในกลุ่มนี้ หรือกล่าวได้ว่าใช้ปัจจัยในกลุ่มนี้เป็นตัวที่ใช้ชี้ขาดความสำเร็จของงานได้เลย จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ปัจจัยในกระบวนการผลิต 4 ด้าน (4M in Production Process) เรื่องของคน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะมีผลกับการผลิต และปัจจัยต่างๆ ก็จะมีความสำคัญมากน้อยตามลำดับความเหมาะสมในแต่ละองค์กรขึ้นอยู่กับความต้องการ ความสามารถ และการจัดการขององค์กรเหล่านั้นว่ามีการบริหารจัดการที่ดีหรือไม่ จากการที่ปัจจัย 4M…

Kaizen
“ไคเซน (KAIZEN)” กลยุทธ์ เลิก ลด เปลี่ยน
1024 525 Mitsumoto

ในการทำงานกับคนญี่ปุ่นต้องได้ยินคำว่า “ไคเซน” (改善) งงมั้ย? ว่าคำนี้มีความหมายว่าอย่างไร ไคเซน ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ดีขึ้น หรือเรียกว่าเป็น การปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็ว่าได้ หลักการง่าย ๆ ที่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญของการทำ . หลักการของไคเซน วิเคราะห์ระบุประเด็นที่เป็นปัญหาและหาวิธีการแก้ปัญหา แล้วนำไปทดลองปฎิบัติ หลังจากนั้นให้มาทบทวนขั้นตอนและกระบวนการอีกครั้งสำหรับปัญหาที่ยังได้รับการแก้ไขไม่ดีพอ ว่าขั้นตอนใดสำคัญ หากไม่สำคัญให้ยกเลิกไป และเปลี่ยนเป็นวิธีที่ใช้เวลาลดลดง แต่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิถีแบบไคเซนมีความเชื่อว่าทุกสิ่งสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และไม่มีสิ่งใดที่จะคงอยู่สภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป การทำงานแบบไคเซนทุกคนมีความสำคัญ เคารพผู้คนและเพื่อนร่วมงาน เพราะหัวใจสำคัญ คือ “ทุกคน” ต้องมีส่วนร่วม มุ่งมั่นทำไปในทิศทางเดียวกัน วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อยอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมา . ไคเซน คือ การลดขั้นตอนส่วนเกิน แต่ลดจากเรื่องที่ไม่จำเป็น ด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน ทำด้วยความตั้งใจจริง 1. เปลี่ยนวิธีการ…เปลี่ยนวิธีการทำงาน ลดขั้นตอนส่วนที่ไม่จำเป็นออก 2. เปลี่ยนเรื่องเล็ก…เปลี่ยนเรื่องเล็ก ๆ หรือปัญหาที่พบเห็นในแต่ละวัน 3. รับมือกับความเป็นจริง…ทำเรื่องที่ทำได้ก่อน รับมือกับความเป็นจริงที่มีข้อจำกัด การทำไคเซ็นปรากฏให้เราได้เห็นกันทุกที่ ไม่ใช่แค่ในโรงงาน เพราะไม่ว่าจะเป็นใน สายการผลิต ในสำนักงาน หรือแม้แต่ใน ชีวิตประจำวัน ก็สามารถทำไคเซ็นได้เหมือนกัน . ขั้นตอนในการปรับปรุงแบบไคเซน การใช้หลักการไคเซ็น ระบุว่ามี 7 ขั้นตอนซึ่งทั้ง 7ขั้นตอน ดังกล่าวนี้ กล่าวได้ว่าเป็นวิธีการเชิงระบบ (System approach ) หรือปรัชญาในการสร้างคุณภาพงานของเดมมิ่ง ที่เรียกว่า PDCA ( Plan – Do – Cheek – Action ) ที่นำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในทุกงานทุกกิจกรรม หรือ ทุกระบบการปฏิบัติงานนั่นเอง ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ อันประกอบด้วย 1) ค้นหาปัญหา และกำหนดหัวข้อแก้ไขปัญหา 2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของปัญหาเพื่อรู้สถานการณ์ของปัญหา 3) วิเคราะห์หาสาเหตุ 4) กำหนดวิธีการแก้ไข สิ่งที่ต้องระบุคือ ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร 5) ใครเป็นคนทำ และทำอย่างไร 6) ลงมือดำเนินการ 7) ตรวจดูผล และผลกระทบต่าง ๆ และการรักษาสภาพที่แก้ไขแล้วโดยการกำหนดมาตรฐานการทำงาน . วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) มีดังนี้ 1) P-Plan ในช่วงของการวางแผนจะมีการศึกษาปัญหาพื้นที่หรือกระบวนการที่ต้องการปรับ ปรุงและจัดทำมาตรวัดสำคัญ (Key Metrics) สำหรับติดตามวัดผล เช่น รอบเวลา (Cycle Time) เวลาการหยุดเครื่อง (Downtime) เวลาการตั้งเครื่อง อัตราการเกิดของเสีย เป็นต้น โดยมีการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย…

อิจิโกะ อิจิเอะ
9 อย่างที่จะทำให้คุณรู้ว่าความสุขคืออะไร ในแบบฉบับของอิจิโกะ อิจิเอะ
1024 525 Mitsumoto

9 อย่างที่จะทำให้คุณรู้ว่าความสุขคืออะไร ในแบบฉบับของ อิจิโกะ อิจิเอะ   อิจิโกะ อิจิเอะ (Ichigo-Ichie) คือกฎแห่งความสุข 9 ข้อ ของคนญี่ปุ่น อิจิโกะ อิจิเอะ (Ichigo-Ichie) เป็นวลีเด็ดของคนญี่ปุ่นเลยและมีหมายความว่า ‘การได้พบกันครั้งเดียว’ ซึ่งต้นกำเนิดของคำนี้มาจากพิธีชงชาของนิกายเซน เนื่องจากการที่เราได้พบกับใครคนหนึ่งในงานพิธีชงชา จะเป็นโอกาสที่ได้พบกันครั้งเดียวแล้วอาจจะไม่มีโอกาสได้พบกันอีกเลยก็เป็นได้ ดังนั้นช่วงเวลาที่ได้พบกันเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด ต่อมาอิจิโกะ อิจิเอะ ถูกตีความและนำมาปรับใช้เป็นปรัชญาชีวิต โดยเฉพาะในการทำงานว่า เราควรปฏิบัติและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีแก่คนที่เราได้พบเจอหรือลูกค้าอย่างดีที่สุด เพราะมันอาจเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ได้พบกัน อิจิโกะอิจิเอะ(Ichigo-Ichie) ก็เปรียบเสมือนกับการทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย และหายจากอาการเหนื่อยล้า ในชีวิตประจำวันของการทำงาน เราจึงควรจดจำว่าทุกช่วงเวลาที่เราใช้นั้นมันสำคัญ และมีค่ามากขนาดไหนที่จะต้องให้ความสำคัญกับทุกสิ่งที่เราได้กระทำไปแล้ว เราจะได้ไม่ตองมานั่งเสียดายหรือเสียใจกับการกระทำของเราเองในภายหลัง การฝึกฝนวิถีการเป็นอิจิโกะอิจิเอะ(Ichigo-Ichie) จะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น โดยไม่ต้องรู้สึกกังวลในสิงที่เราได้ทำไปแล้วหรือเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งคุณยังจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ณ ปัจจุบัน พร้อมการเปลี่ยนคุณให้เป็นคนที่ยอมรับและเห็นความสำคัญของทุกช่วงเวลา มาดูกันว่าหลักการ 9 อย่างที่สรุปปรัชญานี้ของชาวญี่ปุ่นมีอะไรและต้องทำยังไงกันบ้าง…  1.อย่าผลัดหรือเลื่อนช่วงเวลาที่พิเศษและแสนสำคัญ เพราะแต่ละโอกาสเกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียว หากคุณไม่รับมันไว้ มันก็จะเลือนหายไปตลอดกาล ซึ่งบางครั้งชีวิตก็คือการตั้งคำถามว่า คุณจะลงมือทำมันตอนนี้ หรือจะไม่ทำเลยดีกว่าล่ะ ? 2.ใช้ชีวิตเสมือนกับว่าสิ่งๆ นี้จะเกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นทุกบ้าน มีวัฒนธรรมการต้อนรับและการจากลา โดยใช้หลักการของอิจิโกะ อิจิเอะอิจิโกะ อิจิเอะ(Ichigo-Ichie) มาเป็นต้นแบบ เพื่อทำให้เราตระหนักถึงการได้พบกันครั้งเดียว และอาจไม่มีโอกาสได้พบกันอีกเลยก็เป็นได้ 3.อยู่กับปัจจุบัน การหวนกลับไปหาอดีตและคิดมากเรื่องอนาคต มักเจ็บปวดและเป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์ คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และคุณไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกบ้าง แต่ที่นี่ ตรงนี้ ตรงจุดที่คุณยืนอยู่ เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าทุกสิ่งกำลังเกิดขึ้นและดำเนินไปจริงๆ 4.ลงมือทำสิ่งที่คุณไม่เคยทำมันมาก่อนเลย อย่างที่ Einstein เคยกล่าวเอาไว้ว่า คุณไม่สามารถทำสิ่งเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่างได้ แต่ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จได้ นั่นคือการมอบอะไรใหม่ๆ ให้กับชีวิตของตัวเองดู 5.ฝึกนั่งสมาธิ คุณสามารถนั่งบนเบาะเพื่อทำสมาธิ หรือเพียงแค่นั่งลงเฉยๆ แล้วใช้สติในการพิจารณาความเป็นไปต่างๆ ของชีวิตได้ ซึ่งก็นับเป็นความจริงง่ายๆ ของการหลีกหนีจากความรีบเร่ง และอาจทำให้คุณรู้สึกสงบขึ้นมากเลยทีเดียว 6.ใช้สติและประสาทสัมผัสทั้งห้าของคุณ ฝึกฝนตัวเองในแง่ของศิลปะแห่งการฟัง, การดู, การสัมผัส, การชิมและการดมกลิ่น เพื่อให้ทุกช่วงเวลาอันมีค่าทำให้คุณตื่นตัวต่อผู้อื่นมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มระดับการเอาใจใส่ และการให้ความสำคัญมากขึ้นด้วย 7.ไปให้สุดทุกปาร์ตี้ อย่ามัวรอเวลาหรือสถานการณ์ที่เป็นใจ อาทิเช่น วันหยุดพักผ่อน การจัดทริป หรือการฉลองวันเกิด ที่ทำให้เราได้สัมผัสกับสิ่งพิเศษ จงออกจากกรอบความคิดแบบเดิมๆ เพราะทุกๆ วัน เราสามารถเฉลิมฉลองได้อย่างไม่มีข้อแม้ 8.หากไม่ชอบสิ่งไหน ก็จงทำสิ่งที่แตกต่าง มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ และมีพลังที่จะสร้างตัวเองใหม่ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ หากความจริงในชีวิตของคุณน่าเบื่อเกินไป ก็จงใช้หลักการของอิจิโกะอิจิเอะ เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาอีกครั้ง 9.เป็นนักล่าในโอกาสพิเศษ เช่นเดียวกับกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ที่ยิ่งฝึกฝนมากเท่าไหร่ ผลลัพธ์ก็จะยิ่งดีขึ้นมากเท่านั้น   . #mitsumoto #mitsumotothailand #อิจิโกะอิจิเอะ…

ริเน็น (理念)
เมื่อเราอยากให้ธุรกิจเรายืนยง 100 ปี เราต้องรู้จัก “ริเน็น”
1024 525 Mitsumoto

เมื่อเราอยากให้ธุรกิจเรายืนยง 100 ปี เราต้องรู้จัก “ริเน็น” ริเน็นมาจากคำว่า ริ (理) ซึ่งแปลว่าเหตุผล ผสมกับคำว่าเน็น (念) ซึ่งความหมายดั้งเดิมแปลว่าสติ คำว่า ริเน็น (理念) จึงมีความหมายว่าเหตุผลที่เกิดจากสติ ซึ่งก็คือปัญญา หรือ ปรัชญานั่นเอง การใช้หลักการแบบ ริเน็น ประเทศญี่ปุ่นมีบริษัทเก่าแก่กว่า 200 ปีมากที่สุดในโลกซึ่งมีถึง 3,113 บริษัท ทุกบริษัทล้วนมีปรัชญาในการทำธุรกิจเหมือนกัน นั้นก็คือ การใช้หลักการแบบ ริเน็น ในการบริหารธุรกิจ จนประสบความสำเร็จ และหัวใจหลักคือการทำธุรกิจ ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญต่อพนักงานที่อยู่กันแบบครอบครัว แต่ในยุคปัจจุบันการทำธุรกิจในบ้านเรามีความเสี่ยงทุกทาง เพราะปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว หรือ พฤติกรรมของผู้บริโภค (เพราะโลกหมุนตลอดเวลา) ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจหรือ การใช้ชีวิตให้อยู่รอดนั้น ดังนั้นธุรกิจต่างๆจึงต้องหาแนวทางในการอยู่รอด หรืออาจจะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อทำอย่างอื่นแทน การทำธุรกิจให้ยืนยาว และมีความมั่นคง ตามหลักของ ริเน็น มีการทำธุรกิจ 2 รูปแบบ คือ แบบต้นไผ่และแบบต้นสน เรามาดูกันว่า แบบต้นไผ่กับต้นสนนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง แบบแรกก็คือแบบต้นไผ่ โดย ถ้าเปรียบการทำธุรกิจให้เหมือนต้นไผ่ คือ ธุรกิจที่เน้นการเติบโตที่รวดเร็ว เพราะ ต้นไผ่ใช้เวลาในการเติบโตเร็วมาก บางต้นเพียงข้ามคืนก็สูงปรี๊ดแล้ว การทำธุรกิจแบบต้นไผ่จึงเน้นไปที่การเติบโต มุ่งพัฒนาธุรกิจและมองผลประกอบการเป็นหลัก วิธีคิดแบบธุรกิจแบบต้นไผ่ ธุรกิจเหล่านี้จะมุ่งเน้นไปที่โอกาส โดยจะมองว่า “เป็นโอกาสที่ดี” หรือ “เป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้มาก” จึงลงมือทำธุรกิจ . แบบที่สองก็คือแบบต้นสน ค่อนข้างใช้เวลาในการเติบโต ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งต่างกับแบบต้นไผ่เหมือนแม่เหล็กคนละขั้วเลยก็ว่าได้ เพราะ แบบต้นสนมีชีวิตยืนยาวได้หลายพันปี โดย ถ้าเปรียบกับการทำธุรกิจ จะเปรียบได้ว่าการบริหารแบบต้นสน สามารถยืนยาวได้มากกว่า 50 ปี บางบริษัทมากกว่า 100 ปี การทำธุรกิจแบบต้นสนจะให้ความสำคัญที่การทำธุรกิจมุ่งไปที่ความหมายของการเกิดขึ้นของบริษัท โดยเกิดมาเพื่อสร้างประโยชน์ให้ผู้คนที่เกี่ยวข้อง มากกว่าตนเอง ยอมเสียสละผลประโยชน์บางอย่างเพื่อคงรักษาปรัญชาที่แน่วแน่ ให้ความสำคัญกับลูกค้า หรือ พนักงาน วิธีคิดแบบธุรกิจแบบต้นสน ธุรกิจแบบต้นสนมักจะคิดว่า อยากให้ใครมีความสุข หรือ จะช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างไร จึงคิดที่จะทำธุรกิจเพื่อช่วยให้คนมีความสุขหรือแก้ไขปัญหาของผู้อื่นนั้น . . แล้วปรัชญาการบริหารแบบญี่ปุ่นที่จะทำให้ธุรกิจเราอยู่ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงได้หรือไม่นั้น มีธุรกิจตัวอย่างที่อยากจะลองยกมาให้ดูแบบชัดๆเลย นั่นก็คือ มูจิ ร้านขายของจากญี่ปุ่นสุดมินิมอล ที่มีของใช้ต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องเขียน ของใช้ในบ้าน มูจิแทบจะมีครบให้เลือกซื้อกันอย่างหลากหลาย มาดูกันว่า ริเน็นในรูปแบบของต้นสน ของร้านมูจิ เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ . มูจิ เขามี KPI ที่เป็นตัวชี้วัดสำหรับผู้บริหารหรือคำถามที่ผู้บริหารจะถามอยู่เสมอ ที่แสดงให้เห็นว่า เขาให้ความสำคัญต่อพนักงานมากเพียงใด ด้านที่ 1 ความเห็นอกเห็นใจ พนักงานจิตใจดีไหม…

SOFTWARE ERP (ENTERPRISE RESOURCE PLANNING) BY PHYTON
150 150 Mitsumoto

SOFTWARE ERP (ENTERPRISE RESOURCE PLANNING) BY PHYTON ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในแต่ละองค์กรณ์จึงมีวิธีแก้ไขโดยการให้พนักงาน (WFH)Work From Home เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ก็ส่งผลเสียกับองค์กรณ์หลายๆส่วน ทั้งในเรื่องการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และส่งผลให้งานที่ได้รับมอบหมายต่างๆ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยทางบริษัท มิซึโมะโตะ (ประเทศไทย) จำกัด จึงนำ Software ที่มีชื่อว่า ERP(Enterprise Resource Planning)  มาใช้เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว Software ERP เข้ามามีบทบาทในองค์กรณ์ของเราอย่างไรบ้าง ลดต้นทุนทรัพยากรบุคคล ลดเวลาการทำงาน ลดความเสียหายที่เกิดจากการทำงานผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพและผลลัพธ์ให้กับงาน Software ERP ในปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่ชื่อและรูปแบบการใช้งานจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานที่ใช้ ซึ่งภาษาที่ใช้พัฒนา Software ERP ก็มีภาษาที่ใช้งานต่างกันออกไปเช่นกัน วันนี้เราจะพามารู้จักกับ “Phyton” หนึ่งในภาษาที่สามารถใช้พัฒนา Software ERP และ Software อื่นๆ อีกมากมาย Phyton เป็นภาษาขั้นสูง แต่ก็มีโครงสร้างที่ดูง่าย และง่ายต่อการดูแล Phyton คืออะไร ?? Python คือชื่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาโดยไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์ม กล่าวคือสามารถรันภาษา Python ได้ทั้งบนระบบ Unix, Linux , Windows NT, Windows 2000, Windows XP หรือแม้แต่ระบบ FreeBSD อีกอย่างหนึ่ง ภาษาตัว นี้เป็น OpenSource เหมือนอย่าง PHP ทำให้ทุกคนสามารถที่จะนำ Python มาพัฒนาโปรแกรมของเราได้ฟรีๆโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และความเป็น Open Source ทำให้มีคนเข้ามาช่วยกันพัฒนาให้ Python มีความสามารถสูงขึ้น และใช้งานได้ครบคุมกับทุกลักษณะงาน ไวยากรณ์ของภาษา Python ภาษา Python นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีความตั้งใจว่าจะให้เป็นภาษาที่อ่านง่าย มันถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่มองเห็นได้โดยไม่ซับซ้อน โดยมักจะใช้คำในภาษาอังกฤษในขณะที่ภาษาอื่นใช้เครื่องหมายวรรคตอน นอกจากนี้ Python มีข้อยกเว้นของโครงสร้างทางภาษาน้อยกว่าภาษา C และ Pascal Python Interpreter Python interpreter นั้นเป็นตัวแปรภาษาของภาษา Python เพื่อให้สามารถรันโค้ด Python ได้ ซึ่งได้มากับไลบรารี่มาตรฐานที่สามารถใช้งานได้ฟรี ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ https://www.python.org/ เป็นโปรแกรมแบบ source และ binary…