Posts By :

Mitsumoto

สิ่งที่ต้องรู้เมื่ออยากจดสิทธิบัตร

1024 724 Mitsumoto

สิ่งที่ต้องรู้เมื่ออยากจดสิทธิบัตร นั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้างและจะดำเนินการ การจดสิทธิบัตรอย่างไร ในที่นี้จะเสนอเกี่ยวกับขั้นตอนในการขอดำเนินการจดสิทธิบัตรเพื่อให้เข้าใจและสามารถดำเนินการขอจดสิทธิบัตรได้อย่างถูกต้องและไม่เสียเวลา ขั้นตอนการขอจดสิทธิบัตร ในการขอยื่นการจดสิทธิบัตรนั้นจะต้องจัดเตรียมคำขอในการจดสิทธิบัตร ขั้นตอนี่1 จัดเตรียมคำขอในการยื่นจดสิทธิบัตร โดยผู้จัดเตรียมเอกการการยื่นจดสิทธิบัตรนั้นๆ เช่น สิทธิบัตรการออกแบบ เป็นต้น ขั้นตอนที่2 ผู้จัดทำยื่นคำขอจดสิทธิบัตรให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสอบสิทธิบัตรและตรวจสอบสิทธิบัตรทั้งหมดทั่วโลก โดยใช้ระยะเวลา 10เดือน-1ปี โดยประมาน ขั้นตอนที่3 เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นและตรวจสอบความถูกต้องในการยื่นขอจดสิทธิบัตร ขั้นตอนที่3.1 ในกรณีตรวจสอบแล้วต้องทำการแก้ไขตัวเอกสารการยื่นจดผู้ยื่นต้องทำการแก้ไขเอกสารการยื่นขอภายใน 90 วัน ขั้นตอนที่3.2 ในกรณียกยกคำขอ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อทำการยกเลิกการขอจดสิทธิบัตร ขั้นตอนที่4 เมื่อเจ้าหน้าที่กำการตรวจสอบเอกสารคำขอสิทธิบัตรผ่านแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการติดต่อผู้ยื่นจดเพื่อประกาศโฆษณาโดยให้ผู้ยื่น ยื่นชำระค่าโฆษณาและเตรียมประกาศโฆษณาต่อไป ภายใน 90 วัน ขั้นตอนที่5 เมื่อเจ้าหน้าทีประกาศโฆษณาสิทธิบัตรของผู้ยื่นแล้ว ระยะเวลาในการประกาศโฆษณา 90วัน เพื่อให้มีผู้มาคัดค้านผลงานที่ผู้ยื่นจดสิทธิบัตรทำการยื่นเรื่องคัดค้าน หากไม่มีผู้คัดค้านภายใน90วัน ผลงานที่ยื่นจดสิทธิบัตรจะถือว่าผ่าน ขั้นตอนที่5.1 ในกรณีประกาศโฆษณาแล้วมีผู้คัดค้านภายในระยะ 90วัน ผู้คัดค้านต้องแจ้งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาในการอุทธรณ์ศาลและยกเลิกคำขอในการยื่นจดสิทธิบัตรต่อไป ขั้นตอนที่6 เมื่อครบระยะเวลาในการประกาศโฆษณาเป็นที่เรียบร้อยแล้วทางผู้ยื่นจดจะต้องยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ ขั้นตอนที่7 เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้นเอกสารสิทะบัตรที่มีอยู่และทำการตรวจสอบเอกสารของผู้จดสิทธิบัตรทั้งหมด ขั้นตอนที่8 เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเอกสารงานที่ปรากฏเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการรับจดสิทธิบัตร ขั้นตอนที่9 ผู้จัดทำชำระค่าธรรมเนียมออกสิทธิบัตร เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ดำเนินการออกสิทธิบัตรต่อไป ขั้นตอนที่10 เจ้าหน้าที่ทำการออกสิทธิบัตร

read more

ระบบ Toyota ที่ Supplier ตัวจริงต้องรู้ (Toyota Production System)

1024 724 Mitsumoto

Toyota Production System (TPS) หมายถึง ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการกําจัดของเหลือหรือของส่วนเกินต่าง ๆ จากกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการลดต้นทุน ให้ต้นทุนต่ำสุด และผลิตสินค้าที่สามารถขายได้เท่านั้น เพราะ TOYOTA มองว่าสินค้าที่ผลิตแล้วขายไม่ได้ถือเป็นต้นทุนชนิดหนึ่ง ด้วยหลักการดังกล่าวทำให้ Toyota เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นหลักการสำคัญของของ Toyota ในการควบคุมต้นทุนการผลิตคือประกอบไปด้วย 2 หลักการคือ 1. Just In time (JIT) 2. JIDOKA “Just In Time” ในความหมายที่ตรงตัว หมายถึง ทันเวลาพอดี ทํางานให้พอดี เวลาวางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี เป้าหมายสำคัญของการทำงาน “สิ่่งที่ต้องการ ส่งมอบได้ตามเวลาที่ต้องการ ปริมาณที่้ต้องการ และสินค้าคงคลังต้องมีจำนวนน้อยที่สุด” ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกกำหนดจากความต้องการของลูกค้า หลักการสำคัญของ Just In time (JIT) คือ • ระบบดึง (Pull System) ใช้ในการควบคุมเวลาและ ปริมาณการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสินค้าโดยใช้ KABAN • กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow Processing) เพื่อให้ปริมาณวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนสินค้า ในคลังแต่ละรอบของกระบวนการเหลือน้อยที่สุด • รอบการผลิต (Takt Time) ปรับปรุงกระบวนการให้ใช้เวลาในการผลิตต่ำที่สุด “JIDOKA” หรือในความหมายของคําภาษาอังกฤษว่า “Autonomation” หรือ การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งในความหมายของ TOYOTA คือการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรในการป้องกันความผิดพลาดในการทํางานที่อาจจะทําให้สินค้าเสียเกิดขึ้น หรือในทุกๆกระบวนการ หากเกิดการผิดพลาดขึ้น ระบบจะควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในสายการผลิตหรือในเครื่องจักร และป้องกันสินค้าที่เกิดความเสียหายหรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หลุดไปยังกระบวนการถัดไป ซึ่งอาจส่งผลให้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหลุดไปถึงมือลูกค้า หลักการ JIDOKA ของโตโยต้าประกอบไปด้วย • Andon เป็นป้ายไฟขนาดใหญ่ เพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเมื่อเกิดปัญหา • Pokayoke เป็นเครื่องมือในการป้องกันความผิดพลาด นอกจากนี้ TOYOTA ยังได้ระบุด้วยว่า สาเหตุสําคัญที่ทําให้คุณภาพในการผลิตลดลงนั้น มี 3…

read more

ทำไมต้องจดสิทธิบัตร

1024 724 Mitsumoto

     การจดสิทธิบัตร (patent) เป็นมากกว่าการยื่นเอกสารเพื่อขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทางกฏหมายแก่งานประดิษฐ์หรืองานออกแบบอุตสาหกรรม แต่ การจดสิทธิบัตร เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความได้เปรียบทางกลยุทธ์เหนือคู่แข่ง โดยมี “สิทธิบัตร” เป็นเหมือนเครื่องมือในการสร้างพื้นที่ทางการแข่งขันให้กับธุรกิจ เราอาจจะเคยเห็นว่า ทำไม gillette ถึงสามารถใช้ใบมีดโกนแบบ 3 ใบได้บริษัทเดียว แถมขายกับด้ามมีดของบริษัทตัวเองเท่านั้น ทำไมคนอื่นถึงไม่ทำด้ามมีดมาใช้กับใบมีดของ gillette หละ? หรือทำไมยาบางตัวถึงมีราคาแพง และอยู่ๆมันก็มีราคาถูกลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ มีสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิบัตร” อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น และเป็นเครื่องมือที่ทำให้ธุรกิจสามารถหากำไรจากสินค้าหรือบริการที่เฉพาะของตน ได้อย่างเต็มที่ในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อคุณรู้เช่นนั้น อยากจะทำอย่างนั้นและตื่นเต้นที่จะทำได้แบบนั้น คุณก็พร้อมแล้วหละ ที่จะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตร และก้าวเข้าสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร ที่สามารถบริการจัดการ เขียนสิทธิบัตร ได้อย่างมีกลยุทธ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจของคุณ และที่สำคัญคือ มันจะช่วยลดต้นทุนด้านสิทธิบัตรของคุณ จากการจ้างทีมที่ปรึกษาที่เก่งๆ อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้ว ซีรีย์ชุดนี้ จะพาคุณเรียนรู้วิธีการจดสิทธิบัตรด้วยต้นเอง ตั้งแต่แนวคิด จนถึงการลงมือปฏิบัติ ที่คุณก็หาอ่านจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ถ้าคุณชอบบทความของเรา อย่าลืมแชร์หรือส่งต่อให้กับเพื่อนๆ ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนนั่นเอง      สิทธิบัตร (Patent) คือเอกสารทางกฏหมายที่ตราไว้เพื่อคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของในการผลิต ขาย ให้เช่า หรือแจกจ่ายการประดิษฐ์ในประเทศที่ได้รับการคุ้มครอง เพราะฉะนั้นเจ้าของสิทธิสามารถกีดกันผู้อื่นจากการผลิต ขาย แจกจ่าย หรือนำเข้างานของเจ้าของสิทธิได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ใช้สอย (Functional Products) หรือเป็นการออกแบบเพื่อตกแต่ง (Ornamental Designs) ซึ่งรวมไปถึงรูปร่าง ลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้อาจนำมาจดสิทธิบัตรได้ แต่การที่จะได้มาซึ่งสิทธิเหล่านี้ ผู้ยื่นจดสิทธิบัตรจำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดและสาระสำคัญของงานต่อสำนักสิทธิบัตรในประเทศที่ต้องการได้รับการคุ้มครอง หากงานประดิษฐ์หรืองานออกแบบใดไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรแล้ว จะเป็นเรื่องยากที่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบจะสามารถนำเอาไอเดียนั้นมาพัฒนาต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเริ่มธุรกิจที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม หรือการให้ผู้อื่นเช่าสิทธิ (License-Out) เพื่อที่ผู้อื่นสามารถนำไปผลิต ขาย หรือพัฒนาต่อยอดได้      อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ  หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น      สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร…

read more

SPEC ที่จำเป็นต้องรู้ของ FILAMENT

1024 724 Mitsumoto

     การเลือกประเภทของวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์ที่ต้องการนั้นยากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากตลาด 3D printing นั้นมีวัสดุใหม่ๆที่นำมาใช้เกิดขึ้นเสมอ และขณะนี้เราเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นทั้ง Polymer บริสุทธิ์และ Composite ในการศึกษานี้เรามุ่งเน้นไปที่ Polymer บริสุทธิ์หลักที่มีอยู่ในตลาดในปัจจุบัน และขณะนี้เราเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นทั้ง Polymer บริสุทธิ์และ Composite ในการศึกษานี้เรามุ่งเน้นไปที่ Polymer บริสุทธิ์หลักที่มีอยู่ในตลาดในปัจจุบัน      การเลือกเส้นพลาสติกให้ถูกประเภทกับงาน จะช่วยให้ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมานั้น ทำได้ตามคุณสมบัติที่ต้องการ โดยเราแยกหมวดหมู่เหล่านี้ออกเพื่อให้เห็นภาพคุณสมบัติของ Polymer ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการเลือกวัสดุขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการพิมพ์  

read more

PPAP คืออะไรทำไมต้องมี

1024 724 Mitsumoto

PPAP คืออะไร?? PPAP (Production Part Approval Process) หรือ “การยื่นขออนุมัติชิ้นส่วนการผลิต” ซึ่ง PPAP เป็นหนึ่งใน Core Tool ตามข้อกำหนด IATF16949 ระบบมาตรฐานคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ทุกลำดับขั้นจำเป็นต้องยื่นเอกสารขออนุมัติชิ้นส่วนการผลิต ให้กับคู่ค้าของตนตามลำดับขั้น ตามข้อกำหนดจะต้องยื่นเอกสาร PPAP ให้ลูกค้าช่วง New model และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้าน Engineering 4 Reason for submission PPAP ชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ (เช่น ชิ้นส่วนใหม่ วัสดุใหม่ สีใหม่ ไม่เหมือนที่เคยส่งลูกค้า) การยื่น PPAP เกิดเมื่อผลิตภัณฑ์ใหม่หรือมีการแก้ไขปรับปรุง ในกรณีที่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ สามารถใช้ข้อมูลรวมกันได้ มีการแก้ไขข้อบกพร่อง จากการยื่น PPAP ครั้งที่ผ่านมาแล้ว เช่น สมรรถนะการผลิตภัณฑ์ ตามที่ลูกค้ากำหนด, ผลวัดขนาดหรือความสามารถของกระบวนการ, ประเด็นจากผู้ส่งมอบ, ยื่น PPAP  สำหรับปรับสถานะอนุมัติชั่วคราวเป็น อนุมัติสมบูรณ์, ผลการทดสอบวัสดุ/สมรรถนะผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงในเชิง วิศวกรรม เช่น ข้อมูลในการออกแบบ ข้อกำหนดต่างหรือ วัสดุที่ใช้ เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน 18 Document for submission PPAP Design Record Of Saleable Products Engineering Change Document Customer Engineering Approval Design FMEA Process Flow Diagrams Process FMEA Control Plan Measurement System Analysis Studies Dimensional Result Material, Performance Test Result Initial Process…

read more

10 ความแตกต่างระหว่างของบริษัทที่มีและไม่มี PPAP

1024 724 Mitsumoto

10 ความแตกต่างระหว่างของบริษัทที่มีและไม่มี PPAP PPAP (Production Part Approval Process) ต่างเป็นที่ยอมรับในหลากหลายองค์กร ว่าสามารถใช้ในการอนุมัติ ผลิตภัณฑ์ก่อนมีการนำไปใช้งานจริง ซึ่งทำให้หลายๆผู้ส่งมอบต้องมีการยื่นอนุมัติ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทั้ง 2 ฝ่ายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ข้อแตกต่างระหว่างบริษัทที่มีการยื่นอนุมัติ PPAP และบริษัทที่ไม่ได้มีการยื่นอนุมัติ PPAP เพื่อยืนยันให้ลูกค้าว่าได้รับชิ้นงานตรงตาม ความต้องการของลูกค้าและถูกต้องตามมาตรฐานที่ควบคุม เพื่อยืนยันว่าการผลิตงานที่ต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง จะไม่ส่งผลกระทบกับคุณภาพของงาน และยังได้ตรงตามความต้องการ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพของชิ้นงาน จากชิ้นงานที่ได้รับการควบคุมกระบวนการผลิต เพื่อให้ง่ายต่อการสืบกลับ ในกรณีที่ชิ้นงานเกิดปัญหา และทำการวิเคราะห์หาปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง เป็นข้อตกลงและเข้าใจ ไปในทิศทางเดียวกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อยืนยันมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เกิดความสงสัยว่าแต่ละ P Lot มีการควบคุมเดียวกันหรือไม่ PPAP จึงมาเป็นตัวช่วยในการควบคุมมาตรฐานการผลิต ผลิตครั้งอื่นๆ จะได้ Spec ชิ้นงานที่เหมือนกันไหม เนื่องจากการผลิตชิ้นงานที่ไม่ต่อเนื่องกันอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของชิ้นงาน คุณภาพของชิ้นงานใน Lot ต่อๆไปจะมีคุณภาพไหม ซึ่งบริษัทที่มีการจัดทำ PPAP จะสามารถตอบได้ว่าชิ้นงาน Lot ถัดไปจะมีคุณภาพ เนื่องจากใช้มาตรฐานเดิมในการควบคุมการผลิต และเป็นมาตรฐานที่ ถูกกำหนดไว้ใน PPAP สืบกลับได้ไหมเวลาเกิดปัญหา วัตถุดิบที่ใช้ผลิตแต่ละครั้งยังคงใช้วัตถุดิบตัวเดิมหรือไม่ หากใช้ PPAP ในการควบคุมมาตรฐานเราจะสามารถมั่นใจได้ว่า วัสดุที่นำมาใช้ผลิตนั้นเป็นวัสดุที่ถูกกกำหนดไว้ในมาตรฐานแน่นอน 10 สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นั้นแสดงให้เห็นว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีการจัดทำ PPAP ย่อมเป็นที่ยอมรับมากกว่า เนื่องจากในกรณีที่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีปัญหา ทางบริษัทที่มีการจัดทำ PPAP จะสามารถสืบกลับได้ 100% และยังมั่นใจได้ว่าสินค้าที่ผลิตมานั้นตรงตามมาตรฐานที่กำหนด และจะยังคงมาตรฐานเดิมไว้จนกว่าจะมีความต้องการเปลี่ยนแปลงจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งหากเกิดเหตการณ์ที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีการจัดทำ PPAP เพื่อทำการขออนุมัติ อีกครั้ง

read more
3d Printing

10 สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ 3D PRINTING

1024 525 Mitsumoto

10 สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ 3D PRINTING ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว 3D printing  หรือการพิมพ์แบบสามมิติ ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยม ซึ่งเป็นการสร้างโมเดลเสมือนจริงหรือการขึ้นรูปชิ้นงาน เครื่องพิมพ์แบบสามมิติไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีประวัติการพัฒนายาวนานกว่า  30 ปี แล้ว แต่สิ่งที่ท าให้นวัตกรรมนี้ กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งเพราะมี ผู้ พยายามพัฒนาเครื่องพิมพ์  3 มิติ ให้เข้าสู่ผู้ใช้ในระดับครัวเรือนมากขึ้น 1.เครื่อง 3D Printer คืออะไร? 3D Printer หรือ Rapid Prototype (RP) หรือ ที่คนไทยเรียกเครื่องพิมพ์ 3มิติ เครื่องปรินท์ 3มิติ นั้นมีใช้กันมาเกือบ 40 ปีแล้ว แต่ใช้กันในวงจำกัด ในบริษัทขนาดใหญ่ หรือ ใน Lab ใหญ่ๆเท่านั้น 3D Printer นั้นสามารถสร้างชิ้นงานที่เป็นวัตถุจับต้องได้(3มิติ) มีความกว้าง-ลึก-สูง ไม่เหมือนเครื่อง Printer แบบ 2D ที่เราใช้โดยทั่วไปที่พิมพ์หมึกสีลงบนกระดาษ เช่นหากเราพิมพ์ลูกบอลลงบนการกระดาษ(2D) เราจะได้กระดาษที่มีรูปลูกบอลอยู่ แต่หากเราพิมพ์จาก 3D Printer เราจะได้ลูกบอลทรงกลมมากลิ้งบนพื้นได้ 2.หลักการทำงาน 3D Printer เกือบทุกเครื่องนั้นใช้หลักการเดียวกัน คือพิมพ์ 2มิติแต่ชั้นในแนวระนาบกับพื้นแล้วเครื่องจะเลื่อนฐานพิมพ์ไปพิมพ์ชั้นถัดไป พิมพ์ไปเรื่อยๆหลายร้อย หลายพันชั้น จนออกมาเป็นรูปร่าง 3 มิติ  การเลื่อนขึ้นหรือลง(เลื่อนในแนวแกน Z)ของฐานพิมพ์ นี่เองทำให้เกิดมิติที่ 3 3.หมึกที่ใช้ของ 3D Printer แตกต่างกันออก บางชนิดพิมพ์โดยฉีดเส้นพลาสติกออกมาก บางชนิดพ่นน้ำเรซิ่นออกมา แล้วฐานแสงให้เรซิ่นแข็งในแต่ละชั้น บางชนิดฉีดซีเมนต์-3D Printer สร้างบ้าน, น้ำตาล-3D Printer ทำขนม, หรือแม้กระทั่งสเต็มเซลล์-3D Printer กับการพิมพ์อวัยวะ ก็มี 4.โดยปรกตินั้นเราจะวัดความละเอียดในการพิมพ์ของเครื่อง 3D Printer ในหน่วยไมครอน เช่น 100-Micron(0.1mm) ต่อชั้น หมายความว่าในแต่ละชั้นนั้นเครื่องจะพิมพ์ให้มีความสูง 0.1mm ดังนั้นหากโมเดลมีความสูง 10mm เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ทั้งหมด 100 ชั้น…

read more

รู้หรือไม่ หากลูกค้าคุณเป็นคนญี่ปุ่นควรทักทายแบบใด

1024 525 Mitsumoto

วิธีการทักทายคนในประเทศญี่ปุ่น เมื่อนึกถึงคนญี่ปุ่น อันดับแรกเลยคงหนีไม่พ้น วัฒนธรรม และ นวัตกรรมใหม่ๆของคนญี่ปุ่น แต่วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องของการทักทายในแบบของคนญี่ปุ่นกันค่ะ เนื่องด้วยประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่หลายๆคนใฝ่ฝัน และ ชื่นชอบในการอยากไปเที่ยวมาก เพราะ มีทั้งอาหารที่อร่อย สถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย และน่าจะมีหลายคนที่อยากไปเที่ยวญี่ปุ่น เพราะถูกใจในการบริการด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่นและการแสดงกิริยาที่เป็นมิตรทำให้หลายๆคนชื่นชอบประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง   ดังนั้นในการไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น หรือ แม้จะอยู่ประเทศใดหากรู้จักกับคนญี่ปุ่นเราควรจะรู้จักวิธีการทักทายเบื้องต้นไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นวิชาติดตัวไว้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย   มารยาททักทายอย่างเป็นทางการ  1) รักษาระยะห่าง   อย่าก้าวเข้าสู่ด้วยการจับมือ หรือโอบกอด  แต่ควรจะรักษาระยะห่างที่เหมาะสม  วัฒนธรรมญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับพื้นที่และความเป็นส่วนตัว  ดังนั้นต้องให้แน่ใจว่าภาษากายของคุณจะสะท้อนถึงคุณค่าเกี่ยวกับการรักษาระยะห่างได้อย่างเหมาะสม ซึ่งก็ควรเป็นระยะซักสองหรือสามฟุตระหว่างคุณกับคู่สนทนา   แต่ข้อควรระวัง หากคุณอยู่ไกลเกินไป การพูดและการมีปฏิสัมพันธ์กับคู่สนทนาอาจกลายเป็นเรื่องที่น่าอึดอัดใจหรือยากขึ้นแทน   2) การให้เกียรติ   พูดตรงประเด็นด้วยท่าทางที่สุภาพอ่อนน้อม และควรระวังพฤติกรรมเชิงก้าวร้าวที่ถือว่าไม่สุภาพ อีกทั้งไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือในขณะสนทนา พึงตระหนักถึงการให้ความสำคัญกับบุคคลที่คุณได้พบปะ   3) ลดสายตาลงต่ำ   การสบตาโดยตรง (Bold Eye Contact) ถือเป็นเรื่องไม่สุภาพ  ดังนั้นอย่าลืมลดสายตาของคุณเมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้   โดยไม่จำเป็นต้องลดต่ำในระดับจ้องที่เท้าของตัวเอง แต่พยายามอยู่ในระดับที่พอมองเห็นปากหรือคางของคู่สนทนาในขณะที่พูดคุยกัน  และจงหลีกเลี่ยงการสบตาอย่างจริงจัง เพราะอาจดูเป็นการก้าวร้าวและไม่เหมาะสม   4) การโค้งคำนับ ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “Rei” (れい/เร) หรือ “Ojigi” (/おじぎ/โอจิกิ) การโค้งคำนับถือว่าเป็นการทักทายผู้อื่นพื้นฐานที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำ ซึ่งจะคล้ายๆกับการไหว้ของคนไทย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะไม่ถือว่าใครอายุน้อยกว่าต้องคำนับก่อน ซึ่งการโค้งคำนับผู้ชายกับผู้หญิงจะมีอริยาบทต่างกัน และการโค้งคำนับนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามลำดับของบุคคล โดยแบ่งหลักๆได้ดังนี้   การโค้งคำนับมีถึง 3 ระดับเพื่อแสดงถึงความเคารพที่ต่างกัน มาดูกันว่าเราควรโค้งคำนับแบบไหน กับใครบ้าง  การโค้งทักทาย (Eshaku/えしゃく/ อิชิคุ) คือ การทักทายกับผู้ที่สนิทแบบเป็นกันเอง วิธีการคือ ก้มตัวทำมุมประมาณ 15 องศา การโค้งเคารพแบบธรรมดา (Futsuu Rei/ふつう/ ฟุสึยุ) คือ การทักทายกับผู้ที่เรารู้จัก หรือพนักงานขายกับลูกค้า วิธีการคือ ก้มตัวประมาณ 30 องศา การโค้งเคารพแบบนอบน้อม (Saikei Rei/さつうれい/ ซาอิเครอิ เรอิ) คือ การให้ความเคารพกับผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเจ้านายที่มีตำแหน่งสูง วิธีการ คือ ก้มตัวประมาร 45 องศา กับแนวเส้นตรง และที่สำคัญ เวลาโค้งกลับ เราต้องโค้งให้ต่ำกว่าคนที่โค้งทักทายคุณก่อน การโค้งต่ำกว่า  แสดงให้เห็นว่าเราเคารพคนคนนั้น คนที่เป็นฝ่ายโค้งก่อนแสดงความเคารพโดยการโค้ง…

read more
Omotenashi

OMOTENASHI การใส่ใจการบริการด้วยหัวใจ

1024 525 Mitsumoto

   การใส่ใจในการบริการ (แบบญี่ปุ่น) หรือที่เรียกว่า Omotenashi หมายถึง การบริการที่มอบความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดยการใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทำให้คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับจิตวิญญาณของการบริการ ดูแลใส่ใจลูกค้า บางครั้งเราอาจเรียกได้ว่านี่เป็น “การบริการด้วยหัวใจ” จนสามารถสร้างความประทับใจผู้รับได้แบบไม่รู้ตัว เราจะพาพี่ๆทุกท่านมาเรียนรู้ความหมาย และวิธีคิดแบบ Omotenashi ว่าอะไรทำให้สินค้าและบริการของญี่ปุ่นโดดเด่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่น มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน! -Omotenashi มาจากคำสองคำ คำแรกคือ “Omote” ซึ่งแปลว่า หน้า หรือ ด้านหน้า, สิ่งที่อยู่ด้านหน้า, Public Face ส่วนคำว่า “Nashi” แปลว่า ไม่มี รวมกันสองคำหมายถึง การไม่มีหน้าไม่มีหลัง ไม่มีปิดบัง การทำอะไรโดยไม่มีวาระซ่อนเร้น ทำจากก้นบึ้งของหัวใจ -ความคิดของการจะได้มาซึ่ง Omotenashi นั่นคือคำว่า “ichigo ichie” จึงเป็นแนวความคิดที่พูดถึงความไม่เที่ยงของมนุษย์และนำสิ่งนี้มาปรับความคิดของเราให้เราเข้าใจว่า ถ้าเราจะได้พบเขาเพียงครั้งเดียว หรือครั้งสุดท้าย แล้วเราจะทำอะไรให้เขาบ้าง ที่เขาจะประทับใจ และจดจำเราได้          Omotenashi ได้ถูกกล่าวขึ้นอีกครั้งในปี 2013 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลเพื่อคัดเลือกเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 และสามารถทำให้ญี่ปุ่นชนะคะแนนจนได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก โดย Christel Takigawa เธอพูดถึงจิตวิญญาณของญี่ปุ่นของ omotenashi ซึ่งผสมผสานแนวคิดเรื่องการต้อนรับเข้ากับความรู้สึกในการให้พื้นที่แก่บุคคลอื่น แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในคำพูดของเธอคือการแสดงคำในตอนเริ่มต้น แต่ละพยางค์พูดด้วยการหยุดและโบกมือของเธอ มันออกมาเป็น o-mo-te-na-shi และเธอก็โค้งคำนับซ้ำอีกครั้ง          ใครที่เคยไปประเทศญี่ปุ่นจะรู้ดีว่า การบริการของคนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม หรือ ห้างสรรพสินค้า เมื่อเราได้เดินเข้าไปเมื่อไหร่ จะมีพนักงานมาโค้งคำนับต้อนรับพร้อมกับกล่าวคำตอนรับเสมอ และ หลังจากนั้นก็ดูแลลูกค้าด้วยการใส่ใจในแต่ละรูปแบบตามความเหมาะสม เช่น การพาลูกค้าไปทานข้าว เราเลือกร้านที่บริการดี ราคาสูง รสชาตอร่อย ก็เพราะว่าเราต้องการดูแลลูกค้าอย่างดี ทั้งนี้เพราะเราต้องการให้เขาเซ็นซื้อสินค้า หรือโปรเจคใหม่ นี่ไม่ใช่ Omotenashi เพราะเราทำไปโดยมีผลประโยชน์ซ่อนเร้น ซึ่งต่างจาก การปรับอุณหภูมิน้ำชาให้ลูกค้า เพราะกลัวว่าน้ำชาที่ร้อนเกินไปจะลวกปากหรืออาจจะเป็นอันตรายได้ หรือการแนะนำลูกค้าว่าทรงผมที่เขาเลือกมานี้…

read more

ถ้าบริษัทไม่เข้าใจ Cpk ลูกค้าจะงานเข้าอย่างไร

1024 724 Mitsumoto

ถ้าบริษัทไม่เข้าใจ Cpk ลูกค้าจะงานเข้าอย่างไร ก่อนจะมารู้จัก Cpk เราควรจะต้องรู้จักความสามารถของกระบวนการ โดยอัตราส่วนความสามารถของกระบวนการจะมีวิธีการดูดังนี้ ค่า Cp ดูว่าค่าชิ้นงานที่ผลิตเกาะกลุ่มหรือไม่ โดยค่า Cp ต้องมากกว่า 1.33 แต่บางครั้งถึงแม้ตัวเลขของค่า Cp ที่ได้มาก็ไม่ได้หมายความว่าความสามารถของกระบวนเรานั้นยอมรับได้ เพราะอาจเป็นไปได้ว่าชิ้นงานที่ได้อาจหลุดจากค่า Control limit แต่ค่าเกาะกลุ่มก็มีค่า Cp ที่สูงได้เช่นกัน ค่า Cpk เป็นตัวชี้วัดว่าค่าชิ้นงานที่ผลิตเกาะกลุ่มอยู่ในค่ากลางหรือไม่ ตัวอย่าง บริษัท M และ บริษัท C ได้รับชิ้นงานสเปคเดียวกันมาผลิตและได้มีการเก็บตัวอย่างบันทึกผลอย่างละ 10 ชิ้นเพื่อบันทึกผล ซึ่งชิ้นงานมีค่า Toralance 95± 5 ได้เก็บตัวอย่างมาดังนี้ โดยที่ – ค่าเฉลี่ย บริษัท M อยู่ที่ 95.3 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.90 – ค่าเฉลี่ย บริษัท C อยู่ที่ 96.1 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.83 สูตรในการคำนวณค่า Cp ค่า Cp ของบริษัท M จากสูตร   ค่า Cp ของบริษัท C จากสูตร   ทำไมค่า Cp น้อยถึงไม่ดีเพราะว่าข้อมูลมีค่ากระจายตัวเยอะอาจมีโอกาสหลุดออกจากค่าออกจาก Control limit ให้รีบ Action ก่อนจะได้ไปหลุดออกจาก Control Spec ก็คือ >90 <100 ยกตัวอย่างในกรณีที่มีชิ้นงานหลุดการควบคุม ของบริษัท C ค่า Cp ของบริษัท C จากสูตร จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น บริษัท C มีค่า Cp ที่อยู่สูงกว่าระดับมาตรฐาน ซึ่งปกติตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทั้งลูกค้าและผู้ผลิต แต่เนื่องจากผลการวัดชิ้นงานที่บ่งบอกในกราฟข้างต้น…

read more