10 ความแตกต่างระหว่างของบริษัทที่มีและไม่มี PPAP
PPAP (Production Part Approval Process) ต่างเป็นที่ยอมรับในหลากหลายองค์กร ว่าสามารถใช้ในการอนุมัติ ผลิตภัณฑ์ก่อนมีการนำไปใช้งานจริง ซึ่งทำให้หลายๆผู้ส่งมอบต้องมีการยื่นอนุมัติ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทั้ง 2 ฝ่ายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ข้อแตกต่างระหว่างบริษัทที่มีการยื่นอนุมัติ PPAP และบริษัทที่ไม่ได้มีการยื่นอนุมัติ PPAP
- เพื่อยืนยันให้ลูกค้าว่าได้รับชิ้นงานตรงตาม ความต้องการของลูกค้าและถูกต้องตามมาตรฐานที่ควบคุม
- เพื่อยืนยันว่าการผลิตงานที่ต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง จะไม่ส่งผลกระทบกับคุณภาพของงาน และยังได้ตรงตามความต้องการ
- เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพของชิ้นงาน จากชิ้นงานที่ได้รับการควบคุมกระบวนการผลิต
- เพื่อให้ง่ายต่อการสืบกลับ ในกรณีที่ชิ้นงานเกิดปัญหา และทำการวิเคราะห์หาปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง
- เป็นข้อตกลงและเข้าใจ ไปในทิศทางเดียวกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อยืนยันมาตรฐานของผลิตภัณฑ์
- เกิดความสงสัยว่าแต่ละ P Lot มีการควบคุมเดียวกันหรือไม่ PPAP จึงมาเป็นตัวช่วยในการควบคุมมาตรฐานการผลิต
- ผลิตครั้งอื่นๆ จะได้ Spec ชิ้นงานที่เหมือนกันไหม เนื่องจากการผลิตชิ้นงานที่ไม่ต่อเนื่องกันอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของชิ้นงาน
- คุณภาพของชิ้นงานใน Lot ต่อๆไปจะมีคุณภาพไหม ซึ่งบริษัทที่มีการจัดทำ PPAP จะสามารถตอบได้ว่าชิ้นงาน Lot ถัดไปจะมีคุณภาพ เนื่องจากใช้มาตรฐานเดิมในการควบคุมการผลิต และเป็นมาตรฐานที่ ถูกกำหนดไว้ใน PPAP
- สืบกลับได้ไหมเวลาเกิดปัญหา
- วัตถุดิบที่ใช้ผลิตแต่ละครั้งยังคงใช้วัตถุดิบตัวเดิมหรือไม่ หากใช้ PPAP ในการควบคุมมาตรฐานเราจะสามารถมั่นใจได้ว่า วัสดุที่นำมาใช้ผลิตนั้นเป็นวัสดุที่ถูกกกำหนดไว้ในมาตรฐานแน่นอน
10 สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นั้นแสดงให้เห็นว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีการจัดทำ PPAP ย่อมเป็นที่ยอมรับมากกว่า เนื่องจากในกรณีที่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีปัญหา ทางบริษัทที่มีการจัดทำ PPAP จะสามารถสืบกลับได้ 100% และยังมั่นใจได้ว่าสินค้าที่ผลิตมานั้นตรงตามมาตรฐานที่กำหนด และจะยังคงมาตรฐานเดิมไว้จนกว่าจะมีความต้องการเปลี่ยนแปลงจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งหากเกิดเหตการณ์ที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีการจัดทำ PPAP เพื่อทำการขออนุมัติ อีกครั้ง