ริเน็น (理念)

เมื่อเราอยากให้ธุรกิจเรายืนยง 100 ปี เราต้องรู้จัก “ริเน็น”

1024 525 Mitsumoto
  • 0

เมื่อเราอยากให้ธุรกิจเรายืนยง 100 ปี เราต้องรู้จัก “ริเน็น”

ริเน็นมาจากคำว่า ริ (理) ซึ่งแปลว่าเหตุผล ผสมกับคำว่าเน็น (念) ซึ่งความหมายดั้งเดิมแปลว่าสติ คำว่า ริเน็น (理念) จึงมีความหมายว่าเหตุผลที่เกิดจากสติ ซึ่งก็คือปัญญา หรือ ปรัชญานั่นเอง

การใช้หลักการแบบ ริเน็น

ประเทศญี่ปุ่นมีบริษัทเก่าแก่กว่า 200 ปีมากที่สุดในโลกซึ่งมีถึง 3,113 บริษัท ทุกบริษัทล้วนมีปรัชญาในการทำธุรกิจเหมือนกัน นั้นก็คือ การใช้หลักการแบบ ริเน็น ในการบริหารธุรกิจ จนประสบความสำเร็จ และหัวใจหลักคือการทำธุรกิจ ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญต่อพนักงานที่อยู่กันแบบครอบครัว

แต่ในยุคปัจจุบันการทำธุรกิจในบ้านเรามีความเสี่ยงทุกทาง เพราะปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว หรือ พฤติกรรมของผู้บริโภค (เพราะโลกหมุนตลอดเวลา) ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจหรือ การใช้ชีวิตให้อยู่รอดนั้น ดังนั้นธุรกิจต่างๆจึงต้องหาแนวทางในการอยู่รอด หรืออาจจะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อทำอย่างอื่นแทน

การทำธุรกิจให้ยืนยาว และมีความมั่นคง ตามหลักของ ริเน็น มีการทำธุรกิจ 2 รูปแบบ คือ แบบต้นไผ่และแบบต้นสน เรามาดูกันว่า แบบต้นไผ่กับต้นสนนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

แบบแรกก็คือแบบต้นไผ่ โดย ถ้าเปรียบการทำธุรกิจให้เหมือนต้นไผ่ คือ ธุรกิจที่เน้นการเติบโตที่รวดเร็ว เพราะ ต้นไผ่ใช้เวลาในการเติบโตเร็วมาก

บางต้นเพียงข้ามคืนก็สูงปรี๊ดแล้ว การทำธุรกิจแบบต้นไผ่จึงเน้นไปที่การเติบโต มุ่งพัฒนาธุรกิจและมองผลประกอบการเป็นหลัก

วิธีคิดแบบธุรกิจแบบต้นไผ่

ธุรกิจเหล่านี้จะมุ่งเน้นไปที่โอกาส โดยจะมองว่า “เป็นโอกาสที่ดี” หรือ “เป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้มาก” จึงลงมือทำธุรกิจ

.

แบบที่สองก็คือแบบต้นสน ค่อนข้างใช้เวลาในการเติบโต ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งต่างกับแบบต้นไผ่เหมือนแม่เหล็กคนละขั้วเลยก็ว่าได้ เพราะ แบบต้นสนมีชีวิตยืนยาวได้หลายพันปี โดย ถ้าเปรียบกับการทำธุรกิจ จะเปรียบได้ว่าการบริหารแบบต้นสน สามารถยืนยาวได้มากกว่า 50 ปี บางบริษัทมากกว่า 100 ปี การทำธุรกิจแบบต้นสนจะให้ความสำคัญที่การทำธุรกิจมุ่งไปที่ความหมายของการเกิดขึ้นของบริษัท โดยเกิดมาเพื่อสร้างประโยชน์ให้ผู้คนที่เกี่ยวข้อง มากกว่าตนเอง ยอมเสียสละผลประโยชน์บางอย่างเพื่อคงรักษาปรัญชาที่แน่วแน่ ให้ความสำคัญกับลูกค้า หรือ พนักงาน

วิธีคิดแบบธุรกิจแบบต้นสน

ธุรกิจแบบต้นสนมักจะคิดว่า อยากให้ใครมีความสุข หรือ จะช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างไร จึงคิดที่จะทำธุรกิจเพื่อช่วยให้คนมีความสุขหรือแก้ไขปัญหาของผู้อื่นนั้น

.

.

แล้วปรัชญาการบริหารแบบญี่ปุ่นที่จะทำให้ธุรกิจเราอยู่ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงได้หรือไม่นั้น มีธุรกิจตัวอย่างที่อยากจะลองยกมาให้ดูแบบชัดๆเลย นั่นก็คือ มูจิ ร้านขายของจากญี่ปุ่นสุดมินิมอล ที่มีของใช้ต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องเขียน ของใช้ในบ้าน มูจิแทบจะมีครบให้เลือกซื้อกันอย่างหลากหลาย มาดูกันว่า ริเน็นในรูปแบบของต้นสน ของร้านมูจิ เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ

.

มูจิ เขามี KPI ที่เป็นตัวชี้วัดสำหรับผู้บริหารหรือคำถามที่ผู้บริหารจะถามอยู่เสมอ ที่แสดงให้เห็นว่า เขาให้ความสำคัญต่อพนักงานมากเพียงใด

ด้านที่ 1 ความเห็นอกเห็นใจ

  • พนักงานจิตใจดีไหม
  • พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ไหม
  • ธุรกิจมีกำไรเพียงต่อที่จะเลี้ยงตัวเองไหม

ด้านที่ 2 พลังของพนักงาน

  • พนักงานมีความรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงานที่มูจิไหม
  • พนักงานเคารพซึ่งกันและกันไหม
  • พนักงานมีทักษะในการทำงานที่เพียงพอไหม

ด้านที่ 3 ด้านค่าตอบแทน

  • พนักงานรู้สึกกังวลที่ทำงานที่นี่ไหม ไม่กังวลหรือห่วงอนาคตข้างหน้า
  • งานมีความท้าทายพอไหม
  • เงินเดือนเป็นที่น่าพึงพอใจไหม

ถึง KPI เหล่านี้บางตัวจะวัดเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่ก็เป็นเครื่องมือเสมือน check list เพื่อให้ผุ้บริหารหรือหัวหน้าฝ่ายให้ดูแลพนักงานของตนไม่ให้ขาดตกบกพร่อง

สรุปคือ บริษัทแบบต้นสน จะคำนึงถึงพนักงานทั้งในด้านความสุข ทั้งทางกาย ทางใจ การได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่สนิทสนม มีสวัสดิการและความใส่ใจดูแลของบริษัท พวกเขาจะมีความสุขและมีกำลังใจในการทำงาน และพร้อมที่จะทุ่มเทให้แก่บริษัท จึงเป็นเหตุผลที่บริษัทต้นสนสามารถมั่นคงเติบโตได้

มุมมองบริษัทแบบต้นสนที่คำนึงถึงลูกค้า

บริษัทแบบต้นสนมักจะคำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลาง โดยจุดเริ่มต้นมักจะมุ่งมั่นในการสร้างความสุขให้แก่ลูกค้า หรือเราได้ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ตรงจุดจริงๆ

ตัวอย่างธุรกิจแบบต้นสนที่ปฏิบัติ ต่อลูกค้า เช่น การให้ความสำคัญต่อลูกค้าประจำ และรักษาฐานลูกค้าเดิม หากจะมีลูกค้าใหม่ อาจมาจากการแนะนำแบบปากต่อปากจากลูกค้าเก่า หรือ จะเป็นการรีวิวที่ในยุคสมัยนี้การดูรีวิวก่อนหรือการจะได้รับบริการ เพราะมีผลต่อการตัดสินใจเป็นอย่างมาก หากมีความน่าเชื่อถือ ก็จะทำให้การตัดสินใจนั้นง่ายขึ้นที่ลูกค้าจะนึกถึงเราเป็นอันดับแรก

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจแบบต้นสนจะคำนึงถึงลูกค้าระยะยาวเป็นหลัก

มุมมองบริษัทแบบต้นสนต่อคู่ค้า (Partner)

เขาจะเน้นไม่เอารัดเอาเปรียบ เพราะมองว่า ผลกำไรที่เกิดจากการเอาเปรียบผู้อื่นไม่ใช่ผลกำไรที่แท้จริง

บางบริษัทเลือกสร้างนวัตกรรมที่โดดเด่น เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน ซึ่งนำมาซึ่งการแข่งขันในด้านราคาทำให้ทั้งคู่แย่ไปด้วยกัน ส่วนคู่ค้าก็ต้องโดนกดดันในด้านต้นทุน การนำพาธุรกิจไปอยู่ที่จุดที่แตกต่าง ทำให้มีทางเลือกที่มากขึ้น ลดการเอาเปรียบใดๆต่อคู่ค้า ไปจนถึงคู่แข่งด้วย

สำหรับการเลือกคู่ค้า บริษัทแบบต้นสนจะเลือกคู่ค้าเสมือนเลือกคู่แต่งงาน จะเลือกโดยละเอียดและจะอยู่สร้างความเจริญเติบโตไปด้วยกัน ไม่เปลี่ยนไปเจ้าอื่นถ้าเจอว่าเสนอราคาที่ถูกกว่า หรือขอลดราคาโดยอ้างการแข่งขัน แต่จะช่วยคู่ค้าในด้านการพัฒนาคุณภาพเพื่อสร้างความแตกต่าง บางกรณีจ่ายเงินสดก่อนเพื่อให้คู่ค้าสามารถหมุนเงินได้ทัน ทำให้วัตถุดิบสินค้าส่งมอบได้ตามกำหนด ไม่มีปัญหาต่อลูกค้า

มุมมองบริษัทแบบต้นสนต่อสังคม

คืนกำไรสู่สังคมโดยการจ่ายภาษี บริษัทเหล่านี้จะเต็มใจในการจ่ายภาษี บริษัทจะพยายามทำกำไรเพื่อให้สามารถจ่ายภาษี ไม่มีนโยบายที่จะกระทำใดๆเพื่อประหยัดภาษี สิ่งที่ควรประหยัดคือค่าใช้จ่ายบริษัท ไม่ใช่ภาษี ดังนั้นการประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้กำไรเพิ่ม ส่วนภาษีก็จะได้จ่ายคืนกำไรให้สังคมเช่นกัน

บทความข้างต้นที่ได้อ่านจากหนังสือเล่มนี้ ทำให้รู้ว่าบริษัทในญี่ปุ่นนั้นล้วนปฏิบัติมาเมากกว่า 100 ปีแล้ว บริษัทที่ใช้หลักคิดแบบริเน็นนั้นน่าสนใจและสามารถนำมาปรับใช้ในธุรกิจเราเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อพนักงาน ต่อลูกค้าของเราได้เช่นกัน ลองมาใช้แนวคิดปรัชญานี้กันนะคะ

.

แหล่งที่มา หนังสือ ริเน็น สร้างธุรกิจ 100 ปีด้วยหลักคิดแบบญี่ปุ่น(ดร.กฤตินี  พงษ์ธนเลิศ)(เกตุวดี Marumura)

.

#mitsumoto #mitsumotothailand #ริเน็น #การทำธุรกิจ #endcap #dustcap #polymer #จุกปิดกันฝุ่นท่อรถยนต์ #จุกปิดกันฝุ่นท่อแอร์ #อิคิไก #Automotive #จุกปิดกันฝุ่น

Author

Mitsumoto

All stories by: Mitsumoto