blog

SPEC ที่จำเป็นต้องรู้ของ FILAMENT

1024 724 Mitsumoto

     การเลือกประเภทของวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์ที่ต้องการนั้นยากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากตลาด 3D printing นั้นมีวัสดุใหม่ๆที่นำมาใช้เกิดขึ้นเสมอ และขณะนี้เราเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นทั้ง Polymer บริสุทธิ์และ Composite ในการศึกษานี้เรามุ่งเน้นไปที่ Polymer บริสุทธิ์หลักที่มีอยู่ในตลาดในปัจจุบัน และขณะนี้เราเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นทั้ง Polymer บริสุทธิ์และ Composite ในการศึกษานี้เรามุ่งเน้นไปที่ Polymer บริสุทธิ์หลักที่มีอยู่ในตลาดในปัจจุบัน      การเลือกเส้นพลาสติกให้ถูกประเภทกับงาน จะช่วยให้ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมานั้น ทำได้ตามคุณสมบัติที่ต้องการ โดยเราแยกหมวดหมู่เหล่านี้ออกเพื่อให้เห็นภาพคุณสมบัติของ Polymer ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการเลือกวัสดุขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการพิมพ์

read more

PPAP คืออะไรทำไมต้องมี

1024 724 Mitsumoto

PPAP คืออะไร?? PPAP (Production Part Approval Process) หรือ “การยื่นขออนุมัติชิ้นส่วนการผลิต” ซึ่ง PPAP เป็นหนึ่งใน Core Tool ตามข้อกำหนด IATF16949 ระบบมาตรฐานคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ทุกลำดับขั้นจำเป็นต้องยื่นเอกสารขออนุมัติชิ้นส่วนการผลิต ให้กับคู่ค้าของตนตามลำดับขั้น ตามข้อกำหนดจะต้องยื่นเอกสาร PPAP ให้ลูกค้าช่วง New model และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้าน Engineering 4 Reason for submission PPAP ชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ (เช่น ชิ้นส่วนใหม่ วัสดุใหม่ สีใหม่ ไม่เหมือนที่เคยส่งลูกค้า) การยื่น PPAP เกิดเมื่อผลิตภัณฑ์ใหม่หรือมีการแก้ไขปรับปรุง ในกรณีที่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ สามารถใช้ข้อมูลรวมกันได้ มีการแก้ไขข้อบกพร่อง จากการยื่น PPAP ครั้งที่ผ่านมาแล้ว เช่น สมรรถนะการผลิตภัณฑ์ ตามที่ลูกค้ากำหนด, ผลวัดขนาดหรือความสามารถของกระบวนการ, ประเด็นจากผู้ส่งมอบ, ยื่น PPAP  สำหรับปรับสถานะอนุมัติชั่วคราวเป็น อนุมัติสมบูรณ์, ผลการทดสอบวัสดุ/สมรรถนะผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงในเชิง วิศวกรรม เช่น ข้อมูลในการออกแบบ ข้อกำหนดต่างหรือ วัสดุที่ใช้ เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน 18 Document for submission PPAP Design Record Of Saleable Products Engineering Change Document Customer Engineering Approval Design FMEA Process Flow Diagrams Process FMEA Control Plan Measurement System Analysis Studies Dimensional Result Material, Performance Test Result Initial Process…

read more

POMODORO เทคนิคการแบ่งเวลาการทำงานโดยใช้รูปทรงมะเขือเทศ

1024 525 Mitsumoto

เทคนิคการแบ่งเวลาการทงานโดยใช้รูปทรงมะเขือเทศ Pomodoro ที่อ่านออกเสียงเหมือนภาษาญี่ปุ่น แต่เดี๋ยวก่อน คำนี้มาจากภาษาอิตาลีที่แปลว่า มะเขือเทศ แต่ PomodorosTechnique ที่เราพูดถึงนั้นไม่ได้หมายถึงวิธีการทำมะเขือเทศ แต่ pomodorosคือวิธีการจัดการเวลาที่กำลังเป็นที่นิยม ด้วยการแบ่งเวลาการทำงานเป็นช่วงการทำงานที่เน้นย้ำ โดยแบ่งเป็นช่วงพักสั้นๆ บ่อยๆ โดยจะแบ่งช่วงเวลาการทำงานออกเป็นเซสชั่นละ 25 นาที และพักเบรค 5-10 นาทีเพื่อรีเฟรชสมอง ซึ่งการใช้เทคนิค pomodorosนั้นง่ายดายและทำได้ไม่ยากค่ะ แค่หยิบปากกาและกระดาษ วางแผนงานของคุณ จากนั้นเริ่มจับเวลา 25 นาที !   เทคนิคการบริหารเวลาที่จะช่วยปรับปรุงการโฟกัสและประสิทธิภาพการทำงานของคุณ ทำให้เราสามารถทำงานได้ภายในเวลาที่จำกัดและสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่เราตั้งไว้ เป็นวิธีการบริหารเวลายอดนิยมที่คิดค้นโดย Francesco Cirillo ชาวอิตาลีค่ะ โดยเขาค้นพบเนื่องจากสมัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย เขามีปัญหาในการจดจ่อกับการเรียนและทำงานที่ได้รับมอบหมาย เขาจึงใช้นาฬิกาจับเวลาในครัวรูปทรงมะเขือเทศเพื่อวัดช่วงเวลา 25 นาทีของเขาที่ทุ่มเทเวลาเรียนในช่วงเวลานั้น และนับแต่นั้นมาเทคนิค Pomodoro ก็ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเทคนิค Pomodoro นั้นเรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพมาก  เทคนิคนี้เหมาะกับใครบ้าง เทคนิค pomodorosคือเทคนิคที่เหมาะกับคนที่ต้องการทำงานอย่างต่อเนื่องผ่านจุดที่มีประสิทธิผลสูงสุด หรือคนที่มักจะมี สิ่งรบกวนเล็กน้อยซึ่งมักจะทำให้วันทำงานหยุดชะงัก หรือมีงานจำนวนมากที่อาจใช้เวลามาก และต้องการจัดเวลาหรือทำให้เสร็จตามกำหนด นอกจากนี้ยังเหมาะกับคนที่สนุกกับการตั้งเป้าหมายให้ตัวเองด้วยค่ะ คราวนี้เมื่อเรารู้แล้วว่า pomodorosคืออะไร และเหมาะกับใครแล้วบ้างนั้น เรามาดูวิธีการกันค่ะว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เทคนิค Pomodoro ทำงานอย่างไร ? 1.ลิสต์รายการที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นงานที่คุณพยายามจัดการมานานหลายปี หรืองานที่ต้องรีบทำให้เสร็จตามกำหนด หรือแม้แต่งานอดิเรกที่อยากทำมานานแต่จัดการเวลาไม่ได้ เช่น ทำที่คั่นหนังสือก็ตาม ลองลิสต์ออกมาแล้วมาลงมือทำกัน 2.โฟกัสที่งาน ตั้งเวลาของคุณเป็นเวลา 25 นาที และมุ่งความสนใจไปที่งานเดียวจนกว่าตัวจับเวลาจะดังขึ้น อย่าลืมปิดอีเมล ปิดโซเชียล ปิดโทรศัพท์ ปิดประตูห้อง ห้ามคนรบกวน เพราะการเรียนรู้ที่จะจัดการสิ่งรบกวนสมาธิเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่เทคนิค Pomodorosจะสอนคุณ หลังจากทั้งหมดใช้เวลาเพียง 25 นาทีเท่านั้น 3.เลือกงานที่จะทำ เริ่มจับเวลา 25 นาที และเริ่มทำงาน เมื่อใช้เทคนิคโพโมโดโรจะไม่มีการหยุดทำชั่วคราวจนกว่าจะครบเวลา เมื่อเซสชั่นของคุณสิ้นสุดลง ให้ทำเครื่องหมายหนึ่งโพโมโดโร และบันทึกสิ่งที่คุณทำเสร็จ 4.พักระยะสั้น เมื่อทำครบเวลาและเซสชั่นเสร็จสมบูรณ์ ให้ก้าวออกจากโต๊ะทำงานและพักสักห้านาที ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง อาจเหยียดแขนเหยียดขา หรือหาความสดชื่นให้กับร่างกายด้วยกาแฟสักถ้วย 5.ทำซ้ำ…

read more
นามบัตร

23 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนแลกนามบัตร

1024 525 Mitsumoto

23 วิธี 4 ขั้นตอนการแลกนามบัตรตามธรรมเนียมหลักสากล   ขั้นตอนที่ 1 ฉุกคิดก่อนจะแลกนามบัตร 1. ข้อปฏิบัติในการแลกนามบัตรที่สำคัญที่สุดคือ “มีนามบัตรติดตัวอยู่เสมอ” เพราะเราเองไม่อาจคาดเดาได้ว่าเราจะเจอใครเมื่อไหร่… บางทีเจอคนสำคัญๆที่มีผลต่อหน้าที่การงานหรือความสัมพันธ์ของเราในอนาคต แต่เราไม่มีนามบัตรเอาไว้แลก ก็เท่ากับการปิดกั้นโอกาสที่จะรู้จักกับคนคนนั้นครับ 2. ให้คิดไว้เสมอว่านามบัตร เปรียบเสมือน “หน้าตา”ของคู่สนทนาดังนั้นต้องละเอียดและให้เกียรติกับการแลกนามบัตร   ขั้นตอนที่ 2 เตรียมนามบัตร 1. ให้ใส่เคสนามบัตรไว้ในกระเป๋าด้านในสูท หรือกระเป๋าถือ 2. ต้องเตรียมนามบัตรไว้พร้อมเสมอ พร้อมยื่นได้เลยโดยไม่ติดขัดเมื่อรู้ว่าจะต้องแลกนามบัตรให้เอาออกมาจากเคสนามบัตรและสอดเก็บไว้ 3. ให้ยื่นนามบัตรที่สะอาดเท่านั้นตรวจสอบนามบัตรในเคสนามบัตรเสมอ ว่าสกปรก หรือพับอยู่หรือไม่ถ้าพบว่าสกปรกแม้จะนิดเดียว ให้ทิ้งนามบัตรใบนั้นเสีย 4.ให้ตรวจสอบนิ้วมือด้วยว่าสกปรกหรือไม่ ควรให้สะอาดอยู่เสมอ   ขั้นตอนที่ 3 ยื่นนามบัตร รับนามบัตร 1.ไม่ยื่นนามบัตรขณะนั่งหรือยื่นผ่านโต๊ะ ถ้ามีโต๊ะอยู่ให้ลุกออกมาแลกนามบัตรในบริเวณที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง 2.ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่า ต้องเป็นผู้ยื่นก่อนเสมอยกเว้น การเข้าเยี่ยมบริษัท แขกผู้มาเยี่ยมจะต้องเป็นผู้ยื่นก่อน 3.ถ้าเรายื่นนามบัตรออกไปช้ากว่าผู้ที่อาวุโสกว่า ต้องกล่าวขอโทษที่ยื่นช้า (申し遅れました – โมชิโอคุเระมาชิตะ) แล้วถึงยื่นนามบัตรได้ 4.ถ้าแลกนามบัตรพร้อมกับเจ้านาย ให้ยื่นนามบัตรภายหลังที่เจ้านายแลกนามบัตรเสร็จ5. พยายามยื่นนามบัตรในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่ฝั่งตรงข้ามยื่นมา เพราะมีความหมายว่าเราให้เกียรติและเคารพเค้า 6.ต้องยื่นนามบัตร โดยให้นามบัตรหันหัวไปในทางที่คู่สนทนาสามารถอ่านข้อความบนนามบัตรได้ (การเอาใจใส่ฝั่งตรงข้าม) 7.ขณะยื่นนามบัตร ให้ถือนามบัตรตัวเองด้วยมือขวา หันไปที่คู่สนทนามองตา และมอบรอยยิ้มพิมพ์ใจ แล้วแนะนำตัวขณะที่ยื่นนามบัตรออกไป ที่ญี่ปุ่นจะใช้แบบฟอร์ม ชื่อบริษัท……..ชื่อแผนก……. ตามด้วยชื่อเราเต็มๆ 8.ขณะยื่นนามบัตรด้วยมือขวา ก็รับนามบัตรด้วยมือซ้ายเมื่อรับมาด้วยมือซ้ายแล้ว ให้ใช้มือขวามาประคอง แล้วถือนามบัตรด้วยมือสองมือไว้สูงกว่าอก 9. เมื่อรับนามบัตรมาแล้ว ให้พูดว่า (頂戴いたします。よろしくお願いいたします-โชได อิตาชิมัส โยโรชิคุ โอเนงไง อิตาชิมัส – ขออนุญาตรับนะครับ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ) 10. ถ้าอ่านชื่อลูกค้าไม่ออก ให้สอบถาม ณ ขณะนั้นทันที 11. ขณะถือนามบัตรลูกค้า ให้ระวังไม่ให้นิ้วมือกดทับบริเวณโลโก้บริษัท หรือชื่อลูกค้า   ขั้นตอนที่ 4 หลังจากรับนามบัตร 1.ไม่เก็บนามบัตรที่รับเข้ามาใส่เคสทันที (แต่ให้ถือไว้ระดับสูงกว่าหน้าอก) 2.ถ้ามีการแลกนามบัตรจำนวนหลายใบ แล้วนั่งลงประชุม…

read more
Agile

แนวคิดการทำงานแบบอไจล์ (Agile)

1024 525 Mitsumoto

Agile (อไจล์) Agile  ‘แนวคิดในการทำงาน’ (ไม่ใช่รูปแบบวิธีการหรือขั้นตอนในการทำงาน) และไม่ได้จำกัดว่าต้องนำไปใช้กับการพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้น เพราะอไจล์ให้ความสำคัญในเรื่อง ‘คน’ ‘การสื่อสาร’ และ ‘แนวทางที่จะนำไปใช้พัฒนาสินค้าและบริการ’ ขององค์กรให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สินค้าและบริการเหล่านั้นตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้ใช้งานรวมถึงผู้บริโภคอยู่เสมอ   องค์กรส่วนใหญ่มักจะทำงานด้วยระบบจัดการที่มีชื่อเรียกว่า Project Management โดยมี Project Manager หรือ PM เป็นผู้จัดการโครงการและมีทีมมานั่งวางแผนร่วมกันก่อนที่จะเริ่มโครงการ ดูทั้งเรื่องงบประมาณโครงการ ระยะเวลา กำลังคน และองค์ประกอบอื่นๆ ตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ ซึ่งมักจะใช้รูปแบบการทำงานแบบ ‘Waterfall Process’ คือแบบมีขั้นมีตอน ซึ่งเป็นการทำงานที่ต้องให้ผ่านไปทีละขั้น แต่แนวคิดอไจล์นั้นมีรูปแบบการทำงานที่ต่างออกไป อาจกล่าวได้ว่า   ‘อไจล์เป็นกระบวนการที่ช่วยลดการทำงานที่เป็นขั้นตอนและงานด้านการทำเอกสารลง’ แต่จะไปมุ่งเน้นในเรื่องการสื่อสารของทีมมากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ได้รวดเร็วขึ้น แล้วจึงนำสิ่งที่ได้ไปให้ผู้ใช้กลุ่มตัวอย่าง (Target group) ทดสอบใช้งานจริง จากนั้นจึงรวมรวมผลทดสอบมาประเมินดูอีกครั้ง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงสินค้าและบริการนั้นๆ ให้ดีขึ้นทีละนิด ด้วยแนวทางนี้จะทำให้องค์กรสามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็วและตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากขึ้นอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง       แนวคิดแบบ ‘อไจล์’ เลยถูกนำมาประยุกต์ใช้ โดย ‘แทนที่เราจะวางเป้าหมายให้ใหญ่ๆ แล้วยังต้องใช้ระยะเวลานานๆ อีกทั้งความพยายามทำให้ซอฟต์แวร์ออกมาให้สมบูรณ์แบบที่สุดในคราวเดียว’ ก็ให้เปลี่ยนเป็นการวางแผนและพัฒนาไปทีละนิด แบ่งซอยขอบเขตงานให้เล็กลง แล้วค่อยๆ ประเมินไปทีละเฟสว่าทำออกมาดีไหม ทำมาถูกทางหรือไม่ จะก้าวต่อไปอย่างไร เมื่อประเมินแล้วจึงค่อยไปต่อในเฟสถัดๆ ไป การกำหนดเป้าหมายให้มีระยะสั้นและค่อยเป็นค่อยไปนี้ เผื่อกรณีที่เจอปัญหาทีมก็จะได้แก้ไขได้ง่ายขึ้น ทีมก็จะได้รับทราบข้อมูลและผลตอบรับจากผู้ใช้งานจริงอยู่เสมอ ซึ่งช่วยให้ทีมสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้นด้วย   หลักการของทำงานแบบอไจล์นั้นจริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีความซับซ้อน แต่กลับมีประสิทธิภาพมาก หลักการทำงานแบบอไจล์ประกอบด้วย มีการทำงานแบบ Cross-functional team คือการนำคนที่มาจากหลายสายงานที่มักมีความต่างกัน มาทำงานร่วมกันอยู่ในทีมเดียวกัน สิ่งนี้จะส่งผลให้ทีมสามารถทำความเข้าใจกับรายละเอียดของงานได้ง่ายขึ้นแล้วยังส่งผลถึงเรื่องการประสานงานกับส่วนงานต่างๆ ที่มีความคล่องตัวมากขึ้น ทีมมีอำนาจในการในการตัดสินใจและกำหนดทิศทางของโครงการมากขึ้น ส่วนใหญ่คนที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานใน Agile squad จะได้รับอำนาจในการตัดสินใจที่มากพอเพื่อไม่ให้โครงการต้องผ่านกระบวนการการขออนุมัติขององค์กรที่มักจะใช้เวลานาน หมายความว่า Product Owner จะต้องมีอำนาจตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วที่สุด ใช้บุคลากรที่ทำงานเพื่อโครงการนี้โดยเฉพาะ (Dedicated resources) มีการแต่งตั้งคนที่รับผิดชอบงานในแต่ละส่วน เพื่อโฟกัสใน Scope  of work ของโครงการที่ได้รับมอบหมายมา แบ่งเฟสงานให้เป็นโครงการเล็กๆ กำหนดเป้าหมายที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆ และต้องส่งมอบผลงานเป็นโครงการเล็กๆ เมื่อประเมินผลแล้วว่าอยู่ในทิศทางที่ดีจึงค่อยต่อยอดทำเพิ่มไปเรื่อยๆ ซึ่งหากพบข้อผิดพลาดหรือจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงใด ก็จะปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมในแต่ละรอบไป มักเรียกวิธีการนี้ว่า Sprint ทุกคนสามารถรับรู้สถานะของโครงการได้อย่างชัดเจน ทุกคนจะต้องสื่อสารและรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นของโครงการ รวมทั้งรายงานความคืบหน้าของโครงการให้ทั้งทีมได้รู้ เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนและการวัดผลได้ เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ เรียนรู้ข้อผิดพลาดและข้อดีได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการทำงานเป็นรอบเล็กๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้อผิดพลาดที่พบจากครั้งก่อนๆ…

read more
Muda Mura Muri

3มู ที่ทำให้ธุรกิจไปไม่ถึงฝัน

1024 525 Mitsumoto

ในครั้งก่อนจากที่เคยอธิบายคำว่า KAIZEN ไคเซ็น ไปแล้ววันนี้ขอนำเสนอเรื่อง 3 MU เพราะสองอย่างนี้มีความเกี่ยวข้องกัน แล้วมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร?? คนที่ไม่เคยทำกิจกรรม KAIZEN ก็คงจะงงงวยกันอยู่ แต่คนที่ทำกิจกรรมนี้บ่อยคงจะเคยชินกับ 3 คำนี้แน่นอน เราไปดูความหมายกันก่อนดีกว่าค่ะ คำว่า MU เอามาจากคำแรกของภาษาญี่ปุ่น ได้แก่ ムダ MUDA มุดะ   =  ความสูญเปล่า ムラ   MURA มุระ   =   ความไม่สม่ำเสมอ ムリ   MURI  มุริ     =   การฝืนทำ,เกินกำลัง ถ้า 3 สิ่งนี้ แทรกตัวอยู่ในการปฏิบัติงานจะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ สร้างปัญหาในการทำงาน เราจึงต้องทำการกำจัด 3 MU นี้ออกไป ตรงจุดนี้เองที่เชื่อมโยงกับกิจกรรม KAIZEN Muda, Mura, Muri เป็นคำภาษาญี่ปุ่น Muda คือ ความสูญเปล่า Mura คือ ความไม่สม่ำเสมอ และ Muri คือ การฝืนทำ 3 สิ่งนี้คือปัญหาที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าเราสามารถกำจัด 3 สิ่งนี้ได้ เราจะสามารถลดเวลาที่ไม่ทำให้เกิดผลงานได้ ในทางกลับกันก็สามารถเพิ่มเวลาที่ทำให้เกิดผลงานได้มากขึ้น  Muda หรือความสูญเปล่า อาจเกิดได้หลายลักษณะ อาทิ ความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอ การเคลื่อนย้าย การปรับเปลี่ยน การทำใหม่ การถกเถียง เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น การประชุมอาจเกิดความสูญเปล่าได้ หากการประชุมนั้นกลายเป็นการถกเถียงกัน ทำให้เสียเวลาไปกับการประชุมที่ไม่ได้ข้อสรุป หรือในการทำกิจกรรมการขาย ถ้าไม่มีการวางแผนในการจัดพื้นที่การไปพบลูกค้า ก็จะเสียเวลาในการเดินทางและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น           มีการแบ่งความสูญเปล่าออกเป็น 7 ประการ ซึ่งบริษัทโตโยต้า ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ได้ยึดถือปฏิบัติมาหลายสิบปีจนประสบความสำเร็จอย่างเช่นทุกวันนี้ ดังนี้ ความสูญเปล่าจากการผลิตเกินกว่าความจำเป็น ความสูญเปล่าจากการรองาน ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนย้าย ความสูญเปล่าจากวิธีการผลิต ความสูญเปล่าจากสต๊อกที่มากเกินไป ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวของคนหรือเครื่องจักร ความสูญเปล่าจากการผลิตของเสีย  Mura หรือความไม่สม่ำเสมองานที่มีความไม่สม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นในเรื่องปริมาณงาน วิธีการทำงาน หรืออารมณ์ในการทำงาน…

read more
Kaizen

“ไคเซน (KAIZEN)” กลยุทธ์ เลิก ลด เปลี่ยน

1024 525 Mitsumoto

ในการทำงานกับคนญี่ปุ่นต้องได้ยินคำว่า “ไคเซน” (改善) งงมั้ย? ว่าคำนี้มีความหมายว่าอย่างไร ไคเซน ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ดีขึ้น หรือเรียกว่าเป็น การปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็ว่าได้ หลักการง่าย ๆ ที่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญของการทำ . หลักการของไคเซน วิเคราะห์ระบุประเด็นที่เป็นปัญหาและหาวิธีการแก้ปัญหา แล้วนำไปทดลองปฎิบัติ หลังจากนั้นให้มาทบทวนขั้นตอนและกระบวนการอีกครั้งสำหรับปัญหาที่ยังได้รับการแก้ไขไม่ดีพอ ว่าขั้นตอนใดสำคัญ หากไม่สำคัญให้ยกเลิกไป และเปลี่ยนเป็นวิธีที่ใช้เวลาลดลดง แต่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิถีแบบไคเซนมีความเชื่อว่าทุกสิ่งสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และไม่มีสิ่งใดที่จะคงอยู่สภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป การทำงานแบบไคเซนทุกคนมีความสำคัญ เคารพผู้คนและเพื่อนร่วมงาน เพราะหัวใจสำคัญ คือ “ทุกคน” ต้องมีส่วนร่วม มุ่งมั่นทำไปในทิศทางเดียวกัน วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อยอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมา . ไคเซน คือ การลดขั้นตอนส่วนเกิน แต่ลดจากเรื่องที่ไม่จำเป็น ด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน ทำด้วยความตั้งใจจริง 1. เปลี่ยนวิธีการ…เปลี่ยนวิธีการทำงาน ลดขั้นตอนส่วนที่ไม่จำเป็นออก 2. เปลี่ยนเรื่องเล็ก…เปลี่ยนเรื่องเล็ก ๆ หรือปัญหาที่พบเห็นในแต่ละวัน 3. รับมือกับความเป็นจริง…ทำเรื่องที่ทำได้ก่อน รับมือกับความเป็นจริงที่มีข้อจำกัด การทำไคเซ็นปรากฏให้เราได้เห็นกันทุกที่ ไม่ใช่แค่ในโรงงาน เพราะไม่ว่าจะเป็นใน สายการผลิต ในสำนักงาน หรือแม้แต่ใน ชีวิตประจำวัน ก็สามารถทำไคเซ็นได้เหมือนกัน . ขั้นตอนในการปรับปรุงแบบไคเซน การใช้หลักการไคเซ็น ระบุว่ามี 7 ขั้นตอนซึ่งทั้ง 7ขั้นตอน ดังกล่าวนี้ กล่าวได้ว่าเป็นวิธีการเชิงระบบ (System approach ) หรือปรัชญาในการสร้างคุณภาพงานของเดมมิ่ง ที่เรียกว่า PDCA ( Plan – Do – Cheek – Action ) ที่นำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในทุกงานทุกกิจกรรม หรือ ทุกระบบการปฏิบัติงานนั่นเอง ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ อันประกอบด้วย 1) ค้นหาปัญหา และกำหนดหัวข้อแก้ไขปัญหา 2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของปัญหาเพื่อรู้สถานการณ์ของปัญหา 3) วิเคราะห์หาสาเหตุ 4) กำหนดวิธีการแก้ไข สิ่งที่ต้องระบุคือ ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร 5) ใครเป็นคนทำ และทำอย่างไร 6)…

read more
ริเน็น (理念)

เมื่อเราอยากให้ธุรกิจเรายืนยง 100 ปี เราต้องรู้จัก “ริเน็น”

1024 525 Mitsumoto

เมื่อเราอยากให้ธุรกิจเรายืนยง 100 ปี เราต้องรู้จัก “ริเน็น” ริเน็นมาจากคำว่า ริ (理) ซึ่งแปลว่าเหตุผล ผสมกับคำว่าเน็น (念) ซึ่งความหมายดั้งเดิมแปลว่าสติ คำว่า ริเน็น (理念) จึงมีความหมายว่าเหตุผลที่เกิดจากสติ ซึ่งก็คือปัญญา หรือ ปรัชญานั่นเอง การใช้หลักการแบบ ริเน็น ประเทศญี่ปุ่นมีบริษัทเก่าแก่กว่า 200 ปีมากที่สุดในโลกซึ่งมีถึง 3,113 บริษัท ทุกบริษัทล้วนมีปรัชญาในการทำธุรกิจเหมือนกัน นั้นก็คือ การใช้หลักการแบบ ริเน็น ในการบริหารธุรกิจ จนประสบความสำเร็จ และหัวใจหลักคือการทำธุรกิจ ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญต่อพนักงานที่อยู่กันแบบครอบครัว แต่ในยุคปัจจุบันการทำธุรกิจในบ้านเรามีความเสี่ยงทุกทาง เพราะปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว หรือ พฤติกรรมของผู้บริโภค (เพราะโลกหมุนตลอดเวลา) ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจหรือ การใช้ชีวิตให้อยู่รอดนั้น ดังนั้นธุรกิจต่างๆจึงต้องหาแนวทางในการอยู่รอด หรืออาจจะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อทำอย่างอื่นแทน การทำธุรกิจให้ยืนยาว และมีความมั่นคง ตามหลักของ ริเน็น มีการทำธุรกิจ 2 รูปแบบ คือ แบบต้นไผ่และแบบต้นสน เรามาดูกันว่า แบบต้นไผ่กับต้นสนนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง แบบแรกก็คือแบบต้นไผ่ โดย ถ้าเปรียบการทำธุรกิจให้เหมือนต้นไผ่ คือ ธุรกิจที่เน้นการเติบโตที่รวดเร็ว เพราะ ต้นไผ่ใช้เวลาในการเติบโตเร็วมาก บางต้นเพียงข้ามคืนก็สูงปรี๊ดแล้ว การทำธุรกิจแบบต้นไผ่จึงเน้นไปที่การเติบโต มุ่งพัฒนาธุรกิจและมองผลประกอบการเป็นหลัก วิธีคิดแบบธุรกิจแบบต้นไผ่ ธุรกิจเหล่านี้จะมุ่งเน้นไปที่โอกาส โดยจะมองว่า “เป็นโอกาสที่ดี” หรือ “เป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้มาก” จึงลงมือทำธุรกิจ . แบบที่สองก็คือแบบต้นสน ค่อนข้างใช้เวลาในการเติบโต ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งต่างกับแบบต้นไผ่เหมือนแม่เหล็กคนละขั้วเลยก็ว่าได้ เพราะ แบบต้นสนมีชีวิตยืนยาวได้หลายพันปี โดย ถ้าเปรียบกับการทำธุรกิจ จะเปรียบได้ว่าการบริหารแบบต้นสน สามารถยืนยาวได้มากกว่า 50 ปี บางบริษัทมากกว่า 100 ปี การทำธุรกิจแบบต้นสนจะให้ความสำคัญที่การทำธุรกิจมุ่งไปที่ความหมายของการเกิดขึ้นของบริษัท โดยเกิดมาเพื่อสร้างประโยชน์ให้ผู้คนที่เกี่ยวข้อง มากกว่าตนเอง ยอมเสียสละผลประโยชน์บางอย่างเพื่อคงรักษาปรัญชาที่แน่วแน่ ให้ความสำคัญกับลูกค้า หรือ พนักงาน วิธีคิดแบบธุรกิจแบบต้นสน ธุรกิจแบบต้นสนมักจะคิดว่า อยากให้ใครมีความสุข หรือ จะช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างไร จึงคิดที่จะทำธุรกิจเพื่อช่วยให้คนมีความสุขหรือแก้ไขปัญหาของผู้อื่นนั้น .…

read more

SOFTWARE ERP (ENTERPRISE RESOURCE PLANNING) BY PHYTON

150 150 Mitsumoto

SOFTWARE ERP (ENTERPRISE RESOURCE PLANNING) BY PHYTON ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในแต่ละองค์กรณ์จึงมีวิธีแก้ไขโดยการให้พนักงาน (WFH)Work From Home เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ก็ส่งผลเสียกับองค์กรณ์หลายๆส่วน ทั้งในเรื่องการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และส่งผลให้งานที่ได้รับมอบหมายต่างๆ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยทางบริษัท มิซึโมะโตะ (ประเทศไทย) จำกัด จึงนำ Software ที่มีชื่อว่า ERP(Enterprise Resource Planning)  มาใช้เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว Software ERP เข้ามามีบทบาทในองค์กรณ์ของเราอย่างไรบ้าง ลดต้นทุนทรัพยากรบุคคล ลดเวลาการทำงาน ลดความเสียหายที่เกิดจากการทำงานผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพและผลลัพธ์ให้กับงาน Software ERP ในปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่ชื่อและรูปแบบการใช้งานจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานที่ใช้ ซึ่งภาษาที่ใช้พัฒนา Software ERP ก็มีภาษาที่ใช้งานต่างกันออกไปเช่นกัน วันนี้เราจะพามารู้จักกับ “Phyton” หนึ่งในภาษาที่สามารถใช้พัฒนา Software ERP และ Software อื่นๆ อีกมากมาย Phyton เป็นภาษาขั้นสูง แต่ก็มีโครงสร้างที่ดูง่าย และง่ายต่อการดูแล Phyton คืออะไร ?? Python คือชื่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาโดยไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์ม กล่าวคือสามารถรันภาษา Python ได้ทั้งบนระบบ Unix, Linux , Windows NT, Windows 2000, Windows XP หรือแม้แต่ระบบ FreeBSD อีกอย่างหนึ่ง ภาษาตัว นี้เป็น OpenSource เหมือนอย่าง PHP ทำให้ทุกคนสามารถที่จะนำ Python มาพัฒนาโปรแกรมของเราได้ฟรีๆโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และความเป็น Open Source ทำให้มีคนเข้ามาช่วยกันพัฒนาให้ Python มีความสามารถสูงขึ้น และใช้งานได้ครบคุมกับทุกลักษณะงาน ไวยากรณ์ของภาษา Python ภาษา Python…

read more
ikigai

“IKIGAI”มีชีวิต..เพื่อใช้ชีวิต

871 611 Mitsumoto

“IKIGAI” (生き甲斐) ที่ชาวญี่ปุ่นให้ความหมายอย่างลึกซึ้ง แต่เราจะแปลให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆเลยก็คือ “เหตุผลของการมีชีวิตอยู่” นั่นเอง . . แนวคิดนี้ เป็นทั้งในแง่จิตวิทยาและปรัชญาของการใช้ชีวิต ที่ประกอบไปด้วย Passion, Mission, และ Vacation และเมื่อเราทำทั้ง 3 อย่างรวมกัน คือ การทำสิ่งที่รักหรือมีความสุขที่จะทำ การทำประโยชน์ต่อโลก การทำสิ่งที่ถนัด และการทำสิ่งที่สร้างรายได้ หากเราได้ “รู้” ถึงสิ่งเหล่านี้ และ “ทำ” ออกมาได้อย่างพอเหมาะ พอดี แน่นอนว่าทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมา เราก็จะมีความสุขกับการได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักและใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย บางคนจึงกล่าวว่า “ikigai” หมายถึง “เหตุผลที่ทำให้เราอยากลืมตาตื่นขึ้นมา” . . นี่เป็นเหตุผลที่ว่า หากเรายังไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม ลองเรียนรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับ “ikigai” แล้วจะพบว่า เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของเรานั้น คืออะไร? . . วิธีหาเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของเรานั้น สามารถใช้แนวคิดง่ายๆ ดังนี้ – เริ่มจากสิ่งเล็กๆ – มองหาจากสิ่งรอบๆตัวเรา – ปล่อยวางตัวตน – ไม่ควรคิดแทนคนอื่น คิดถึงตัวเองให้มากขึ้น – เป็นสิ่งเดียวกับสิ่งรอบข้าง – เรียนรู้วิถีชีวิตจากสิ่งรอบข้าง – มีความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ – อยู่กับปัจจุบัน – ทำสิ่งที่เป็นปัจจุบันให้ดีที่สุด . . จะเห็นได้ว่า IKIGAI ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ไม่ต้องใช้ท่ายาก ไม่ต้องหาเวลา ทุกวินาที เราทุกคนก็สามารถทำได้ และที่สำคัญ เราก็อาจจะคิดว่า “ikigai” เป็นเรื่องส่วนบุคคล ที่จะต้องเรียนรู้และนำไปปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นที่รู้จักกับ ikigai แล้ว จะรู้เลยว่า ikigai เป็นแนวคิดเชิงสังคม เพราะทุกคนก็อยากจะมีชีวิตที่มีความหมาย มีความสุข จึงไม่น่าแปลกใจที่ในประเด็นหลักของ ikigai นั้น จะหมายรวมถึงการทำสิ่งที่มีความสุข และทำสิ่งที่มีประโยชน์กับคนอื่นอยู่ด้วย . . เราทุกคนสามารถดำเนินชีวิตด้วย…

read more