blog

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ CABON FIBER

1024 724 Mitsumoto

เส้นใยคาร์บอน (Carbon fiber) หรือไฟเบอร์แกรไฟต์ แกรไฟต์คาร์บอน หรือ CF เป็นวัสดุทางวิทยาศาสตร์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบอย่างน้อยร้อยละ 90 โดยเส้นใยคาร์บอนจะมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 ไมโครเมตร ในการผลิตเส้นใยคาร์บอน คาร์บอนอะตอมจะถูกผูกมัดร่วมกันในผลึกจำนวนมากหรือน้อยตามแนวขนานกับแกนยาวของเส้นใยเป็นแนวคริสตัล โดยให้อัตราส่วนความแข็งแรงของเส้นใยต่อปริมาณสูง (ทำให้มันแข็งแกร่งสำหรับขนาดของมัน) เส้นใยคาร์บอนหลายพันเส้นจะถูกรวมเข้าด้วยกันในรูปแบบกลุ่มเส้นใยซึ่งอาจจะถูกนำมาใช้ด้วยตัวมันเองหรือทอเป็นผ้า คุณสมบัติของเส้นใยคาร์บอนคือ มีความแข็งแรงสูง ต้านทานแรงดึงสูง น้ำหนักเบา ทนต่อสารเคมีสูง ทนต่ออุณหภูมิสูง และอัตราการขยายตัวต่อความร้อนต่ำ เส้นใยคาร์บอนจึงเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากในอุตสาหกรรมการบินและวิศวกรรมอวกาศ การทหาร มอเตอร์สปอร์ต และการแข่งขันกีฬาอื่นๆ แต่เส้นใยคาร์บอนมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเส้นใยชนิดอื่น อาทิ เส้นใยแก้วหรือเส้นใยพลาสติก เส้นใยคาร์บอนมักจะใช้ร่วมกับวัสดุอื่นๆ ในรูปแบบคอมโพสิท ซึ่งจะเรียกว่า “คาร์บอนไฟเบอร์เสริมโพลิเมอร์” แต่มักจะเรียกสั้นๆ ว่า “คาร์บอนไฟเบอร์” มากกว่า ซึ่งมีอัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนักที่สูงมากและมีความแข็งมากแม้ว่าจะค่อนข้างเปาะ อย่างไรก็ตามเส้นใยคาร์บอนจะประกอบด้วยวัสดุอื่นๆ เช่นเดียวกับแกรไฟต์ในรูปแบบคาร์บอน-คาร์บอนซึ่งมีความทนทานต่อความร้อนสูงมาก ขั้นตอนการผลิตคาร์บอน ไฟเบอร์ ขั้นตอนการผลิตจะนำโพลีอะคริโลไนไตรล์หรือ PAN  (Polyacrylonitrile) มาทำละลายแล้วยืดออกให้เป็นเส้นใยยาวๆ แล้วเส้นใยจะถูกลำเลียงผ่านเตาที่จะทำให้เส้นใยร้อนสูงขึ้นไป 1,000-3,000 องศาเซลเซียส และภายในเตานั้นจะไม่มีออกซิเจน ป้องกันไม่ให้เส้นใยถูกเผา และความร้อนจะเข้าไปทำให้เส้นใยแข็งแรงขึ้น เมื่อกระบวนการคาร์โบไนเซชั่นเกิดขึ้นอะตอมภายในเส้นใยจะสะเทือนอย่างรุนแรงทำให้เกิดอะตอมที่ไม่ใช่คาร์บอน เหลือไม่แต่เส้นใยคาร์บอนที่เกือบจะบริสุทธิ ที่มีคุณสมบัติที่บาง เบา และแข็งแรงมากๆ ข้อดีของคาร์บอนไฟเบอร์ น้ำหนักเบา – คาร์บอนไฟเบอร์เป็นวัสดุที่มีความหนาแน่นต่ำและมีความแข็งแรงสูงต่อน้ำหนัก ความต้านทานแรงดึงสูง – เป็น เส้นใยเสริมแรง ที่แข็งแกร่งที่สุดในเชิงพาณิชย์เมื่อเกิดความตึงเครียดคาร์บอนไฟเบอร์เป็นเรื่องยากที่จะยืดหรือโค้งงอได้ การขยายตัวทางความร้อนต่ำ – คาร์บอนไฟเบอร์จะขยายตัวหรือหดตัวมากขึ้นในสภาวะที่ร้อนหรือเย็นกว่าวัสดุเช่นเหล็กและอะลูมิเนียม ความทนทานพิเศษ – เส้นใยคาร์บอนมีคุณสมบัติเมื่อยล้าที่เหนือกว่าเมื่อเทียบกับโลหะซึ่งหมายความว่าส่วนประกอบที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์จะไม่เสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วภายใต้ความเครียดจากการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ความต้านทานการกัดกร่อน – เมื่อทำด้วยเรซินที่เหมาะสมเส้นใยคาร์บอนเป็นหนึ่งในวัสดุป้องกันการกัดกร่อนที่ดีที่สุด Radiolucence – คาร์บอนไฟเบอร์มีความโปร่งใสในการฉายรังสีและมองไม่เห็นในรังสีเอกซ์ทำให้เป็นประโยชน์สำหรับการใช้งานในอุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทนต่อรังสีอัลตราไวโอเลต – คาร์บอนไฟเบอร์สามารถทนต่อรังสียูวีได้โดยใช้เรซินที่เหมาะสม ข้อเสีย เส้นใยคาร์บอนจะ แตกหรือแตก เมื่อบีบอัดผลักดันให้เกินขีดความสามารถหรือสัมผัสกับผลกระทบสูง มันจะแตกถ้าโดนด้วยค้อน การกลึงและรูยังสามารถสร้างพื้นที่ที่อ่อนแอซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการถูกทำลาย  

read more

Milk Runs

1024 724 Mitsumoto

โดยมิลค์รัน (milk run) มีแนวคิดมาจากการส่งนมสดจากฟาร์มไปตามบ้านโดยจะจัดส่งไปตามบ้านที่หน้าบ้านมีขวดนมเปล่ามาวางรอไว้ ทางฟาร์มจะเก็บขวดเปล่าแล้วน้ำนมขวดใหม่วางแทนเท่าจำนวนเดิม ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆกับบ้านทุกหลัง ในทุกๆเช้า และเมื่อโลกเราก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมก็ได้มีการประยุกต์วิธีการดังกล่าวมาใช้สำหรับขนส่งวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนการผลิตในทันเวลาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บสต็อคหรือไม่ทำให้สายการผลิตวางงาน โดยการผลิตแบบทันเวลาในที่นี้เรารู้จักกันดีในชื่อ Just in Time ที่อุตสาหกรรมชั้นนำยึดเป็นหลักปฏิบัติมาอย่างยาวนาน มิลค์รัน เป็นรูปแบบการจัดการการขนส่งที่ทำการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนเพื่อนำไปใช้ทำการผลิตเพื่อลดปริมาณสินค้าคงคลัง โดยการรับของจาก Supplier ทุกรายในเส้นทางที่กำหนดไว้แล้ว จากนั้นเดินทางกลับมายังโรงงานผลิต โดยลักษณะการขนส่งจะเป็นวงรอบ และต้องตรงเวลาพอดี ดังนั้นการวางแผนเส้นทาง ศักยภาพของรถบรรทุกและคนขับ ย่อมเป็นสิ่งสำคัญมาก ประโยชน์ที่ได้รับจาก Milk Run  1. ลดต้นทุนรวมของการขนส่ง กล่าวคือการที่ Supplier แต่ละรายจัดส่งวัตถุดิบมาให้โรงงานทำให้ Supplier แต่ละรายต้องจัดหารถขนส่ง และการนำส่งอาจจะมาโดยไม่ตรงต่อเวลา ทำให้ผู้ผลิตต้องแบกรับต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นในราคาซื้อวัตถุดิบจาก Supplier 2. ลดต้นทุนในการจัดเก็บ (Stock) ของผู้ผลิตและ Supplier โดยเน้นให้ผลิตออกมาทันเวลาพอดี ขนส่งทันเวลาพอดี และส่งมอบให้ลูกค้าแบบทันเวลาพอดี ทำให้ไม่จำเป็นต้องเก็บวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จ แต่จะทำแบบนี้ได้ต้องมีการประเมินความต้องการของลูกค้าให้แม่นยำและสั่งผลิตให้แม่นยำและรอบคอบจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี 3. สามารถกำหนดตารางการผลิตได้แน่นอนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตเป็นผู้ดำเนินการส่งรถออกไปรับสินค้าจาก Supplier เอง ทำให้กำหนดและควบคุมเวลาการดำเนินการได้เป็นอย่างดี 4. ลดปัญหาการจราจรหน้าโรงงานเพราะหากให้ Supplier แต่ละรายมาส่งด้วยตัวเอง การจัดการจราจรหน้าโรงงานจะยากลำบาก และการตรวจรับสินค้าก็ยิ่งล่าช้า แต่ระบบมิลค์รันต้องตรวจเช็คสินค้าก่อนรับขึ้นรถอยู่แล้วทำให้สามารถถ่ายสินค้าเข้าโรงงานผลิตได้ทันที่ที่รถมาถึง ข้อจำกัดของ Milk Run ไม่สามารถใช้กับการขนส่งที่ต้องการเชี่ยวชาญหรือต้องระมัดระวัง เช่น สินค้าที่ต้องใช้รถแบบพิเศษขนส่ง สินค้าที่ผู้ส่งสินค้ามีความรู้ในการจัดการที่ถูกต้อง Supplier ที่จะวนไปรับแต่ละแห่งควรอยู่ใกล้กันในระดับหนึ่ง เพราะตำแหน่งที่ตั้งของแต่ละสถานทที่ที่ไป ไม่เรียงอยู่ในระดับที่เหมาะสมการใช้วิธีขนส่งแบบ Milk Run จะให้เส้นทางการขนส่งวุ่นวายขึ้นพอสมควร  

read more

ความแตกต่างระหว่าง TPU และTPE

1024 724 Mitsumoto

ความแตกต่างระหว่าง TPU และ TPE TPE ถือได้ว่าเป็นคําทั่วไปสําหรับเทอร์โมพลาสติกอีลาสโตเมอร์ทั้งหมด TPU เป็นเทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทนอีลาสโตเมอร์ จากมุมมองนี้ TPU เป็นเพียงประเภทหนึ่งของ TPE เทอร์โมพลาสติกอีลาสโตเมอร์ วัสดุ TPE และ TPU ที่มีความแข็งใกล้เคียงกันมีความนุ่มนวลและความยืดหยุ่นของยาง ความแตกต่างระหว่างของ TPU และ TPE 1. ความแข็ง โดยทั่วไปความแข็งของ TPE มีตั้งแต่ ShoreA Scale 0 ~ 100 ในขณะที่ TPU มักเป็น Shore60A ~ Shore70D กล่าวได้ว่า TPU มีความแข็งสูงกว่า TPE 2. การเผาไหม้ Distinction เมื่อเผาไหม้ TPE จะช่วยลดควันและกลิ่นหอมบาง ๆ ในทางกลับกันกลิ่นของ TPU มีประจุ m หรือ e ระคายเคือง และยังมีการระเบิดเล็กน้อย 3. กดปุ่ม Differen ce ผลิตภัณฑ์ที่มีการขึ้นรูปมากเช่นล้อทำจาก TPE หรือ TPU ข้อแตกต่างหลักระหว่าง TPE และ TPU คือความนุ่มนวล TPE และผลิตภัณฑ์ของ บริษัท มีสัมผัสนุ่มนวลและนุ่มนวลมากขึ้นขณะที่ประสิทธิภาพการเสียดสีลดลง 4. หดตัวแตกต่างกัน เปอร์เซ็นต์การหดตัวของ TPE อยู่ที่ประมาณ 1.2-3% ขณะที่ TPU อยู่ที่ 0.8-1.8% 5.ความแตกต่างทางเชิงกล ความยืดหยุ่นและคุณสมบัติการกู้คืนที่ยืดหยุ่น (ความต้านทานการดัดและความต้านทานการคืบ) ของ TPU ดีกว่า TPE ส่วนใหญ่โครงสร้างวัสดุของ TPU เป็นโครงสร้างเฟสโพลีเมอร์ซึ่งอยู่ในประเภทเรซินโพลีเมอร์ TPE เป็นวัสดุโพลีเมอร์ที่มีโครงสร้างหลายเฟส การประมวลผล TPE ที่มีความแข็งสูงนั้นง่ายต่อการเปลี่ยนรูป ในทุกช่วงความแข็ง TPU แสดงความยืดหยุ่นที่ดีและผลิตภัณฑ์ไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนรูป 6.ความแตกต่างของการสัมผัส TPU มีความรู้สึกมือที่หยาบกร้านและทนต่อแรงเสียดทานได้ดี ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ TPE มีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนและอ่อนนุ่มกว่าและคุณสมบัติแรงเสียดทานที่อ่อนแอกว่า…

read more

หล่องานแบบง่ายๆด้วยแม่พิมพ์ Silicone

1024 724 Mitsumoto

ขั้นตอน ของวิธีการทำแม่พิมพ์ซิลิโคน ก่อนที่จะเริ่มการหล่อชิ้นงานต่าง ๆ ออกมา มีขั้นตอนที่สำคัญก่อนหน้าก็คือ การหล่อแม่พิมพ์ขึ้นมาก่อน และแม่พิมพ์ที่เราต้องนำมาใช้นั้นก็จะทำมาจากซิลิโคน เมื่อเราต้องการให้งานหล่อเรซิ่นและงานหล่ออื่น ๆ ของเราออกมาดีที่สุด ก็ควรรู้วิธีหล่อซิลิโคนให้เป็นแม่พิมพ์อย่างถูกต้อง แม้ขั้นตอนนี้จะมีมากมายหลายเทคนิคตามความถนัดของแต่ละคน แต่เราก็มีวิธีหล่อซิลิโคนแบบง่ายๆ ที่เป็นความรู้เบื้องต้นแบบที่ใครก็ทำได้มาแนะนำกัน ขั้นตอนการทำแม่พิมพ์ซิลิโคน การจัดเตรียมน้ำยางซิลิโคลนเพื่อที่จะนำมาหล่อเป็นแม่พิมพ์ยางซิลิโคน โดยใช้ น้ำยางซิลิโคนแบบสองส่วน โดยจะใช้น้ำยางซิลิโคน สองตัว Part A และ Part B จากการที่ได้เตรียมน้ำยางซิลิโคลนเรียบร้อยแล้ว  นำภาชนะที่จะทำการหล่อแม่พิมพ์ตัดก้นภาชนะที่จะทำเป็นแม่พิมพ์และเปิดฝากล่องแยกออกไป ตัดเทปกาวติดกล่องมาหลายๆ แถบยาว จากนั้นแปะทับด้านบน ให้ซ้อนเหลื่อมกันประมาณ ¼ นิ้ว (ประมาณ 0.5 ซม.) เผื่อเทปห้อยเกินทุกด้านของกล่องประมาณ 1 – 2 นิ้ว/ซม.เอานิ้วรูดไปตามขอบกล่อง เพื่อติดเทปให้แนบสนิทอย่าให้มีช่องว่าง ไม่งั้นซิลิโคนจะไหลออกมาได้ พับขอบเทปกาวติดไปที่ด้านข้างของกล่อง พอเทซิลิโคนใส่กล่อง ก็ยังมีโอกาสที่ซิลิโคนจะรั่วออกมาจากเทปได้ ขั้นตอนนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ซิลิโคนรั่วออกมาจนเลอะเทอะไปหมด นำของตัวอย่างที่จะขึ้นเป็นแบบแม่พิมพ์ อย่างเช่น Oring Seal หรืออย่างอื่นที่จะทำเป็นแบบ เป็นต้น โดยจะวางของชั้นนั้นในส่วนที่ราบเสมอกัน โดยหงายด้านตัด/เปิดขึ้นข้างบน วางของนั้นลงไปแล้วกดไปกับเทปกาว อย่าให้ของนั้นโดนด้านข้างของกล่องหรือโดนกันเอง ที่สำคัญคือต้องหันด้านลายขึ้นด้านบน ส่วนด้านหลังให้แนบไปกับเทปกาว ถ้าด้านหลังของของชิ้นนั้นเรียบ ก็ใช้วิธีนี้ได้สะดวก อย่าลืมเช็ดทำความสะอาดของที่จะเอามาขึ้นแบบซะก่อน ตวงซิลิโคนตามคำแนะนำที่ฉลาก ปกติต้องผสม Part A กับ Part B เข้าด้วยกัน ซิลิโคนบางประเภทก็ต้องตวงเป็นปริมาตร แต่บางประเภทให้ตวงด้วยน้ำหนัก ก็ต้องอ่านคำแนะนำที่ติดมากับซิลิโคนให้ดี แล้วตวงไปตามนั้นให้เป๊ะๆ เทซิลิโคนลงในถ้วยที่ติดมากับชุดอุปกรณ์ ถ้าไม่มีถ้วยที่ว่า ให้เทซิลิโคนใส่แก้วพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ต้องใช้ซิลิโคนมากพอจะท่วมมิดของที่ใช้เป็นแบบ สูงประมาณ ¼ นิ้ว (ประมาณ 0.5 ซม.) ถ้าผสมไม่ได้ตามอัตตราส่วนอาจทำให้น้ำยางซิลิโคนไม่แห้งหรืออาจจะไม่เกาะตัวทำให้น้ำยางเกิดการเสียขึ้น คนผสมน้ำยางซิลิโคนเข้าจนเป็นเนื้อเดียวกัน จะใช้ไม้ลูกชิ้น ไม้ไอติม หรือช้อน มีด ส้อมพลาสติกก็ได้ ให้คนไปเรื่อยๆ จนสีเนียนเสมอกัน ไม่ด่างเป็นเส้นๆ หรือลายหินอ่อน เทซิลิโคนใส่กล่อง ใช้อุปกรณ์ที่มีคนผสมไปเรื่อยๆ โดยขูดซิลิโคนส่วนเกินให้หมด อย่าให้เสียของ ย้ำว่าซิลิโคนต้องท่วม มิด ของที่เอามาขึ้นแบบ อย่างน้อย…

read more

ทำไมต้องทำ Ppk (Process Performance Index)

1024 724 Mitsumoto

เราลองมาทำความรู้จักกับ Core tool ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Ppk Ppk (Process Performance Index) ,(k : Katayori การเปลี่ยนหรือการเลื่อน) คือ การประเมินความสามารถของกระบวนการ ระหว่าง ชิ้นงานจริงที่เราผลิตได้กับ สเปกที่ลูกค้ากำหนดใน Drawing (USL,LSL) ในช่วงทดลองผลิต (Trial Run) ซึ่งอาจทำให้กระบวนการยังไม่เสถียร (Not-Stable) ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก Cpk เนื่องจาก Cpk นั้นจะเป็นการประเมินความสามารถของกระบวนการ ในช่วง Mass Production คำนิยามระหว่าง Cpk และ Ppk ค่า Cpk และ Ppk เป็นการนำค่าเฉลี่ยของ กระบวนการ ค่าความผันแปรของกระบวนการและข้อ กำหนดของลูกค้ามาคำนวณร่วมกัน ดัชนีชี้วัดดังกล่าว สะท้อนว่ากระบวนการมีขีดความสามารถแค่ไหนเมื่อเทียบ กับข้อกำหนดของลูกค้า Cpk เป็นค่าที่บอกถึงขีดความสามารถของ กระบวนการในระยะสั้น คือ ที่เวลาใดเวลาหนึ่งกระบวนการ มีขีดความสามารถเป็นอย่างไร Ppk เป็นค่าที่บอกถึงขีดความสามารถของ กระบวนการในระยะยาวซึ่งจะรวมเอาความผันแปรที่เกิด จากความไม่มีเสถียรภาพของกระบวนการเข้ามาด้วย กล่าวคือ มีความ ผันแปรระยะสั้นรวมกับความผันแปรอื่นที่เข้ามากระทบกระบวนการ ค่า Ppk จะน้อยกว่าหรือเท่ากับ Cpk เสมอ ถ้า Cpk และ Ppk มีค่าใกล้กัน แสดงว่ากระบวนการไม่สูญเสีย เสถียรภาพเนื่องจากการขยับตัวของค่าเฉลี่ยหรืออาจกล่าวได้ว่ากระบวนการ ถูกควบคุมได้อย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว ซึ่งกรณีตรงกันข้าม ถ้าค่า Ppk น้อยกว่า Cpk มาก แสดงว่ากระบวนการสูญเสีย เสถียรภาพ อย่างที่อุตสาหกรรมวงการต่างๆทราบกันดีว่า การประเมินความสามารถของกระบวนการ (Cpk,Ppk) นั้นมีความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ออกมา และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถยอมรับได้ทั้งลูกค้า และผู้ผลิต แต่ก่อนจะมีการประเมินความสามารถของกระบวนการ ต้องรู้จักการทำ Control Chart ด้วย Control Chart คือแผนภูมิที่ แสดงคุณลักษณะของกระบวนการจากข้อมูลที่บันทึกลงไป เพื่อประเมิณว่ากระบวนการดังกล่าวอยู่ภายใต้สภาวะควบคุมทางสถิติ หรือไม่ และช่วยในการรักษาสภาวะที่ควบคุมได้ทางสถิติ…

read more

Dale Carnegie 18 Rules พิชิตใจคน

613 354 Mitsumoto

เขาเคยพูดถึงกฏทอง 18 ประการในการเข้าไปนั่งในใจคนอื่น ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากหากเราต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต เราสามารถนำกฏทองเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว และชีวิตส่วนตัว กฎ 18 ประการที่ชนะใจคนของ เดล คาร์เนกี้ เดล คาร์เนกี้ เป็นสุดยอดนักขาย นักพูด และนักอบรมระดับโลก เขาได้ประมวลการทำงานของเขาทั้งหมดในชีวิต แล้วเขียนออกมาเป็นหนังสือขายดีระดับโลก คือเรื่อง How to Win Friends and Influence People. หรือ “วิธีชนะมิตรและจูงใจคน” และ How to Stop Worrying and Start Living. หรือ “วิธีชนะทุกข์และสร้างสุข” ซึ่งเป็นสุดยอดกลยุทธ์สำคัญที่สามารถต่อยอดใช้ในธุรกิจและการมีชีวิตที่มีคุณค่าได้ ซึ่งสรุปง่ายๆ ดังนี้ กฎข้อที่ 1 จงให้ความสนใจแก่บุคคลที่เราติดต่อด้วย โดยการแสดงออกทั้งทางกาย(ท่าทาง) วาจา ใจ และไม่ควรพูดแต่เรื่องของตัวเอง กฎข้อที่ 2 จงยิ้ม การยิ้มช่วยสร้างรอยยิ้มพิมพ์ใจให้บังเกิดแก่ผู้ที่พบเห็นทุกคน และจะก่อมิตรภาพขึ้นมาทันที กฎข้อที่ 3 จำชื่อคนนั้นๆให้ได้ และเรียกให้ถูกทุกครั้ง กฎข้อที่ 4 ให้ความสนใจฟังเรื่องที่เขาพูด ทำตนเป็นนักฟังที่ดี ให้เขาพูดเรื่องเกี่ยวกับตัวเขาตามความพอใจของเขาแล้วเขาจะรักเราไม่รู้ลืม กฎข้อที่ 5 จงพูดในเรื่องที่เขากำลังคลั่งไคล้หลงไหล และเรื่องที่เขามีความรู้ความชำนาญเรื่องที่เขาชอบ หรือเรื่องที่เขากำลังได้รับ ความตื่นเต้นมาใหม่ๆ กฎข้อที่ 6 จงทำให้เขาเกิดความรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ หรือชี้ให้เห็นจุดสำคัญ จุดเด่นในตัวเขา ทำเช่นนั้นด้วยความจริงใจและแนบเนียน ทุกคนจะชอบท่าน เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบให้คนสรรเสริญ ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง กฎข้อที่ 7 จงหลีกเลี่ยงการโต้เถียง เพราะถึงแม้จะเถียงชนะเขา แต่ก็ทำให้เสียมิตรภาพ กฎข้อที่ 8 จงแสดงความเคารพในความคิดเห็นของเขา อย่าบอกว่าเขาผิด กฎข้อที่ 9 ถ้าเราผิด จงรับผิดทันที กฎข้อที่ 10 จงเริ่มต้นด้วยการเป็นมิตร พูดจาไพเราะอ่อนหวาน ไม่นำเรื่องที่ขัดแย้งมากล่าวให้ขัดใจกัน กฎข้อที่ 11 จงทำให้พูดยอมรับว่า “ใช่ๆ”…

read more

คอมโพสิตวัสดุแห่งอนาคต

1024 724 Mitsumoto

วัสดุคอมโพสิตวัสดุแห่งอนาคต ที่มาทดแทนความแข็งแรงของเหล็กกล้าและมีน้ำหนักเบากว่า ที่เราได้ยินมาเช่นนั้นคืออะไรและทำมาจากอะไรถึงได้สามารถทดแทนเหล็กกล้าที่มีใช้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เราได้จัดทำเกี่ยวกับข้อมูลวัสดุคอมโพสิทว่าคือะไรและมีประโยชน์อย่างไรในการนำมาใช้งาน วัสดุคอมโพสิต คืออะไร วัสดุ คอมโพสิต Composite Materials หมายถึง วัสดุที่เกิดจากการนำวัสดุทางเคมี 2 ชนิดขึ้นไปมาประกอบกันจนได้คุณสมบัติที่ดีขึ้น (เปลี่ยนเป็นวัสดุชิ้นใหม่ที่มีคุณสมบัติเชิงบวกมากกว่าเดิม) ตัวอย่างเช่น เรซิ่น (Polyester Resin) ผสม โคบอลท์ (Cobalt) และ ฮาร์ดเดนเนอร์ (Hardener) เปลี่ยนเรซิ่น จากพลาสติกที่เป็นของเหลว ให้กลายเป็นของแข็งที่มีรูปร่างคงที่ หรือ นำใยแก้วมาผสาน เพื่อได้ชิ้นงานที่เป็นรูปทรงต่างๆ สามารถสร้างชิ้นงานได้หลายหลายตามจินตนาการ ทั้งการทำแม่พิมพ์ และชิ้นงานขึ้นรูปต่างๆ วัสดุ คอมโพสิต งานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน วัสดุ คอมโพสิต จากพลาสติกที่เสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใยไฟเบอร์ (Fiber-reinforced Plastics, FRP) นิยมใช้ในงานเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างวัตถุ รวมไปถึงการซ่อมแซมสิ่งของ โดยจะกล่าวดังนี้ เรซิ่น โพลีเอสเตอร์ (Polyester Resin) มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีความข้นหนืด สามารถเปลี่ยนเป็นของแข็ง เมื่อเกิดการรวมตัวกับ โคบอลท์(ตัวทำปฎิกริยา มีสีม่วงเข้ม) ทำให้เรซิ่นกับตัวเร่งทำปฎิกิริยากัน  และ ฮาร์ดเดนเนอร์ (ตัวเร่ง มีสีใส มีกลิ่นฉุน ) เรซิ่นทนความได้ประมาณ 150°C มีการใช้งานกว้างขวางหลากหลายวงการ  ชิ้นงานจาก อีพ็อกซี่ เรซิ่น (Epoxy Resin) อีพ็อกซี่ หรือ โพลีอีพอกไซด์ (Polyepoxide) เป็นพลาสติก แบบพอลิเมอร์เธอร์โมเซตติง  สามารถเปลี่ยนเป็นของแข็งโดยการผสานระหว่าง อีพอกไซด์เรซิน และ พอลีอมีน ทนความร้อนได้มากถึง 200°C ความแข็งแกร่งมากกว่าโพลีเอสเตอร์ รับน้ำหนักได้ดี ใช้ในงานอุตสาหกรรมหนักหรือผลิตชิ้นส่วนไฟเบอร์กลาส ใยแก้ว ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) เส้นใยแก้ว ,ใยแก้ว วัสดุสังเคราะห์สารเสริมแรง มีลักษณะเป็นเส้นใยมีสีขาว ที่มีความแข็งแรงมักใช้ในงานผลิตเรือ โครงสร้างพาหนะ รวมถึงงานประเภท Glass Fiber Reinforced Concrete ผสานกับวัสดุได้หลายชนิด เช่น ปูนซีเมนต์ ,เรซิ่น เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับโครางสร้างวัตถุ ใยคาร์บอน (Carbon Fiber)…

read more

สิ่งที่ต้องรู้เมื่ออยากจดสิทธิบัตร

1024 724 Mitsumoto

สิ่งที่ต้องรู้เมื่ออยากจดสิทธิบัตร นั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้างและจะดำเนินการ การจดสิทธิบัตรอย่างไร ในที่นี้จะเสนอเกี่ยวกับขั้นตอนในการขอดำเนินการจดสิทธิบัตรเพื่อให้เข้าใจและสามารถดำเนินการขอจดสิทธิบัตรได้อย่างถูกต้องและไม่เสียเวลา ขั้นตอนการขอจดสิทธิบัตร ในการขอยื่นการจดสิทธิบัตรนั้นจะต้องจัดเตรียมคำขอในการจดสิทธิบัตร ขั้นตอนี่1 จัดเตรียมคำขอในการยื่นจดสิทธิบัตร โดยผู้จัดเตรียมเอกการการยื่นจดสิทธิบัตรนั้นๆ เช่น สิทธิบัตรการออกแบบ เป็นต้น ขั้นตอนที่2 ผู้จัดทำยื่นคำขอจดสิทธิบัตรให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสอบสิทธิบัตรและตรวจสอบสิทธิบัตรทั้งหมดทั่วโลก โดยใช้ระยะเวลา 10เดือน-1ปี โดยประมาน ขั้นตอนที่3 เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นและตรวจสอบความถูกต้องในการยื่นขอจดสิทธิบัตร ขั้นตอนที่3.1 ในกรณีตรวจสอบแล้วต้องทำการแก้ไขตัวเอกสารการยื่นจดผู้ยื่นต้องทำการแก้ไขเอกสารการยื่นขอภายใน 90 วัน ขั้นตอนที่3.2 ในกรณียกยกคำขอ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อทำการยกเลิกการขอจดสิทธิบัตร ขั้นตอนที่4 เมื่อเจ้าหน้าที่กำการตรวจสอบเอกสารคำขอสิทธิบัตรผ่านแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการติดต่อผู้ยื่นจดเพื่อประกาศโฆษณาโดยให้ผู้ยื่น ยื่นชำระค่าโฆษณาและเตรียมประกาศโฆษณาต่อไป ภายใน 90 วัน ขั้นตอนที่5 เมื่อเจ้าหน้าทีประกาศโฆษณาสิทธิบัตรของผู้ยื่นแล้ว ระยะเวลาในการประกาศโฆษณา 90วัน เพื่อให้มีผู้มาคัดค้านผลงานที่ผู้ยื่นจดสิทธิบัตรทำการยื่นเรื่องคัดค้าน หากไม่มีผู้คัดค้านภายใน90วัน ผลงานที่ยื่นจดสิทธิบัตรจะถือว่าผ่าน ขั้นตอนที่5.1 ในกรณีประกาศโฆษณาแล้วมีผู้คัดค้านภายในระยะ 90วัน ผู้คัดค้านต้องแจ้งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาในการอุทธรณ์ศาลและยกเลิกคำขอในการยื่นจดสิทธิบัตรต่อไป ขั้นตอนที่6 เมื่อครบระยะเวลาในการประกาศโฆษณาเป็นที่เรียบร้อยแล้วทางผู้ยื่นจดจะต้องยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ ขั้นตอนที่7 เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้นเอกสารสิทะบัตรที่มีอยู่และทำการตรวจสอบเอกสารของผู้จดสิทธิบัตรทั้งหมด ขั้นตอนที่8 เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเอกสารงานที่ปรากฏเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการรับจดสิทธิบัตร ขั้นตอนที่9 ผู้จัดทำชำระค่าธรรมเนียมออกสิทธิบัตร เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ดำเนินการออกสิทธิบัตรต่อไป ขั้นตอนที่10 เจ้าหน้าที่ทำการออกสิทธิบัตร

read more

ระบบ Toyota ที่ Supplier ตัวจริงต้องรู้ (Toyota Production System)

1024 724 Mitsumoto

Toyota Production System (TPS) หมายถึง ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการกําจัดของเหลือหรือของส่วนเกินต่าง ๆ จากกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการลดต้นทุน ให้ต้นทุนต่ำสุด และผลิตสินค้าที่สามารถขายได้เท่านั้น เพราะ TOYOTA มองว่าสินค้าที่ผลิตแล้วขายไม่ได้ถือเป็นต้นทุนชนิดหนึ่ง ด้วยหลักการดังกล่าวทำให้ Toyota เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นหลักการสำคัญของของ Toyota ในการควบคุมต้นทุนการผลิตคือประกอบไปด้วย 2 หลักการคือ 1. Just In time (JIT) 2. JIDOKA “Just In Time” ในความหมายที่ตรงตัว หมายถึง ทันเวลาพอดี ทํางานให้พอดี เวลาวางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี เป้าหมายสำคัญของการทำงาน “สิ่่งที่ต้องการ ส่งมอบได้ตามเวลาที่ต้องการ ปริมาณที่้ต้องการ และสินค้าคงคลังต้องมีจำนวนน้อยที่สุด” ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกกำหนดจากความต้องการของลูกค้า หลักการสำคัญของ Just In time (JIT) คือ • ระบบดึง (Pull System) ใช้ในการควบคุมเวลาและ ปริมาณการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสินค้าโดยใช้ KABAN • กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow Processing) เพื่อให้ปริมาณวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนสินค้า ในคลังแต่ละรอบของกระบวนการเหลือน้อยที่สุด • รอบการผลิต (Takt Time) ปรับปรุงกระบวนการให้ใช้เวลาในการผลิตต่ำที่สุด “JIDOKA” หรือในความหมายของคําภาษาอังกฤษว่า “Autonomation” หรือ การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งในความหมายของ TOYOTA คือการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรในการป้องกันความผิดพลาดในการทํางานที่อาจจะทําให้สินค้าเสียเกิดขึ้น หรือในทุกๆกระบวนการ หากเกิดการผิดพลาดขึ้น ระบบจะควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในสายการผลิตหรือในเครื่องจักร และป้องกันสินค้าที่เกิดความเสียหายหรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หลุดไปยังกระบวนการถัดไป ซึ่งอาจส่งผลให้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหลุดไปถึงมือลูกค้า หลักการ JIDOKA ของโตโยต้าประกอบไปด้วย • Andon เป็นป้ายไฟขนาดใหญ่ เพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเมื่อเกิดปัญหา • Pokayoke เป็นเครื่องมือในการป้องกันความผิดพลาด นอกจากนี้ TOYOTA ยังได้ระบุด้วยว่า สาเหตุสําคัญที่ทําให้คุณภาพในการผลิตลดลงนั้น มี 3…

read more

ทำไมต้องจดสิทธิบัตร

1024 724 Mitsumoto

     การจดสิทธิบัตร (patent) เป็นมากกว่าการยื่นเอกสารเพื่อขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทางกฏหมายแก่งานประดิษฐ์หรืองานออกแบบอุตสาหกรรม แต่ การจดสิทธิบัตร เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความได้เปรียบทางกลยุทธ์เหนือคู่แข่ง โดยมี “สิทธิบัตร” เป็นเหมือนเครื่องมือในการสร้างพื้นที่ทางการแข่งขันให้กับธุรกิจ เราอาจจะเคยเห็นว่า ทำไม gillette ถึงสามารถใช้ใบมีดโกนแบบ 3 ใบได้บริษัทเดียว แถมขายกับด้ามมีดของบริษัทตัวเองเท่านั้น ทำไมคนอื่นถึงไม่ทำด้ามมีดมาใช้กับใบมีดของ gillette หละ? หรือทำไมยาบางตัวถึงมีราคาแพง และอยู่ๆมันก็มีราคาถูกลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ มีสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิบัตร” อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น และเป็นเครื่องมือที่ทำให้ธุรกิจสามารถหากำไรจากสินค้าหรือบริการที่เฉพาะของตน ได้อย่างเต็มที่ในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อคุณรู้เช่นนั้น อยากจะทำอย่างนั้นและตื่นเต้นที่จะทำได้แบบนั้น คุณก็พร้อมแล้วหละ ที่จะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตร และก้าวเข้าสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร ที่สามารถบริการจัดการ เขียนสิทธิบัตร ได้อย่างมีกลยุทธ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจของคุณ และที่สำคัญคือ มันจะช่วยลดต้นทุนด้านสิทธิบัตรของคุณ จากการจ้างทีมที่ปรึกษาที่เก่งๆ อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้ว ซีรีย์ชุดนี้ จะพาคุณเรียนรู้วิธีการจดสิทธิบัตรด้วยต้นเอง ตั้งแต่แนวคิด จนถึงการลงมือปฏิบัติ ที่คุณก็หาอ่านจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ถ้าคุณชอบบทความของเรา อย่าลืมแชร์หรือส่งต่อให้กับเพื่อนๆ ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนนั่นเอง      สิทธิบัตร (Patent) คือเอกสารทางกฏหมายที่ตราไว้เพื่อคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของในการผลิต ขาย ให้เช่า หรือแจกจ่ายการประดิษฐ์ในประเทศที่ได้รับการคุ้มครอง เพราะฉะนั้นเจ้าของสิทธิสามารถกีดกันผู้อื่นจากการผลิต ขาย แจกจ่าย หรือนำเข้างานของเจ้าของสิทธิได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ใช้สอย (Functional Products) หรือเป็นการออกแบบเพื่อตกแต่ง (Ornamental Designs) ซึ่งรวมไปถึงรูปร่าง ลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้อาจนำมาจดสิทธิบัตรได้ แต่การที่จะได้มาซึ่งสิทธิเหล่านี้ ผู้ยื่นจดสิทธิบัตรจำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดและสาระสำคัญของงานต่อสำนักสิทธิบัตรในประเทศที่ต้องการได้รับการคุ้มครอง หากงานประดิษฐ์หรืองานออกแบบใดไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรแล้ว จะเป็นเรื่องยากที่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบจะสามารถนำเอาไอเดียนั้นมาพัฒนาต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเริ่มธุรกิจที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม หรือการให้ผู้อื่นเช่าสิทธิ (License-Out) เพื่อที่ผู้อื่นสามารถนำไปผลิต ขาย หรือพัฒนาต่อยอดได้      อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ  หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น      สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร…

read more