Posts By :

Mitsumoto

ikigai

“IKIGAI”มีชีวิต..เพื่อใช้ชีวิต

871 611 Mitsumoto

“IKIGAI” (生き甲斐) ที่ชาวญี่ปุ่นให้ความหมายอย่างลึกซึ้ง แต่เราจะแปลให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆเลยก็คือ “เหตุผลของการมีชีวิตอยู่” นั่นเอง . . แนวคิดนี้ เป็นทั้งในแง่จิตวิทยาและปรัชญาของการใช้ชีวิต ที่ประกอบไปด้วย Passion, Mission, และ Vacation และเมื่อเราทำทั้ง 3 อย่างรวมกัน คือ การทำสิ่งที่รักหรือมีความสุขที่จะทำ การทำประโยชน์ต่อโลก การทำสิ่งที่ถนัด และการทำสิ่งที่สร้างรายได้ หากเราได้ “รู้” ถึงสิ่งเหล่านี้ และ “ทำ” ออกมาได้อย่างพอเหมาะ พอดี แน่นอนว่าทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมา เราก็จะมีความสุขกับการได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักและใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย บางคนจึงกล่าวว่า “ikigai” หมายถึง “เหตุผลที่ทำให้เราอยากลืมตาตื่นขึ้นมา” . . นี่เป็นเหตุผลที่ว่า หากเรายังไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม ลองเรียนรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับ “ikigai” แล้วจะพบว่า เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของเรานั้น คืออะไร? . . วิธีหาเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของเรานั้น สามารถใช้แนวคิดง่ายๆ ดังนี้ – เริ่มจากสิ่งเล็กๆ – มองหาจากสิ่งรอบๆตัวเรา – ปล่อยวางตัวตน – ไม่ควรคิดแทนคนอื่น คิดถึงตัวเองให้มากขึ้น – เป็นสิ่งเดียวกับสิ่งรอบข้าง – เรียนรู้วิถีชีวิตจากสิ่งรอบข้าง – มีความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ – อยู่กับปัจจุบัน – ทำสิ่งที่เป็นปัจจุบันให้ดีที่สุด . . จะเห็นได้ว่า IKIGAI ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ไม่ต้องใช้ท่ายาก ไม่ต้องหาเวลา ทุกวินาที เราทุกคนก็สามารถทำได้ และที่สำคัญ เราก็อาจจะคิดว่า “ikigai” เป็นเรื่องส่วนบุคคล ที่จะต้องเรียนรู้และนำไปปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นที่รู้จักกับ ikigai แล้ว จะรู้เลยว่า ikigai เป็นแนวคิดเชิงสังคม เพราะทุกคนก็อยากจะมีชีวิตที่มีความหมาย มีความสุข จึงไม่น่าแปลกใจที่ในประเด็นหลักของ ikigai นั้น จะหมายรวมถึงการทำสิ่งที่มีความสุข และทำสิ่งที่มีประโยชน์กับคนอื่นอยู่ด้วย . . เราทุกคนสามารถดำเนินชีวิตด้วย…

read more

OKR หรือ Objective Key Result คืออะไร ??

1000 667 Mitsumoto

WHAT ABOUT OKR ?? OKR คืออะไร ? OKR มาจากคำว่า Objective and Key Result O (Objective) แปลว่า เป้าหมาย (ความฝัน) KR (Key Result) แปลว่า สิ่งที่วัดความสำเร็จ หรือ ตัวชี้วัดที่แสดงว่าเราบรรลุเป้าหมาย WHY DO WE CHANGE FROM KPI TO OKR ?? ความแตกต่างระหว่าง OKR และ KPI KPI มีผลโดยตรงกับผลตอบแทนที่พนักงานได้รับ หรือที่เราอาจะเรียกกันว่า Compensation KPI แต่สำหรับ OKR ไม่ได้ยึดติดกับผลตอบแทน OKR จำมีการประกาศให้ทุกคนในองค์กรได้ทราบ และจะมีการทบทวนเป็นไตรมาส หรือ 4 ครั้งต่อปี แต่ KPI นั้นจะไม่มีการประกาศ และทบทวนแค่ ปีละ 1-2 ครั้ง OKR เป็นการท้าทายระบบการทำงานแบบใหม่ ในขณะที่ KPI นั้น จะยึดติดกับหลักการทำงานแบบเดิม OKR มุ่งเน้นในการปรับปรุงงานหรือพัฒนาศักยภาพ OKR สร้างความเชื่อมโยงเป้าหมายของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน OKR สามารถสร้างความท้าทายใหม่ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด (Leapfrog) OKR สามารถควบคุมผลลัพธ์ได้บางส่วน แต่ในขณะที่ KPI นั้นสามารถควบคุมผลลัพธ์ได้ทั้งหมด OKR มาจากการเสนอแนะจากพนักงานที่ปฏิบัติงาน ส่วน KPI นั้นเป็นข้อกำหนดที่ถูกตั้งโดยผู้บริหารเท่านั้น (Top to down) สิ่งสำคัญสำหรับการใช้ระบบ OKR คือการสร้างแนวทางสู่ความสำเร็จและการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน (Clear path to success) ตัวอย่างของบริษัทที่ใช้ระบบ OKR อย่างเช่น Google จะมีการกำหนดเป้าหมาย หรือการประกาศ…

read more

CSR 2020

1024 700 Mitsumoto

MITSUMOTO (THAILAND) CO., LTD. . . #mitsumoto #mitsumotothailand #endcap #dustcap #CSR #covid19 #csrmitsumoto #Faceshield #plastic #blog #polymer #dipping #จุกปิดกันฝุ่น #จุกป้องกันฝุ่น

read more

LEAN การบริหารจัดการ การผลิตให้องค์กรมีประสิทธิภาพโดยปราศจากความสูญเปล่า (Waste)

1024 525 Mitsumoto

ระบบ Lean 7 ความสูญเปล่า หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกความสูญเปล่าว่า “มุดะ (Muda)” Lean คืออะไร เป็นระบบที่หลายคนจะนึกถึงเรื่องการผลิต การลดของเสียหรือสิ่งที่ไม่เกิดมูลค่าในโรงงาน และเปลี่ยนความสูญเปล่าให้เกิดคุณค่า  ทำให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพ สามารถบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น leanจึงถูกสร้างมาเพื่อใช้กับโรงงาน แต่ในยุคปัจจุบันหลักการของ Lean ก็ได้ถูกพัฒนามาให้สามารถใช้ได้กับการทำงานในองค์กร อีกทั้งยังมีการการันตีว่าระบบลีนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ระบบลีน จะสามารถทำให้ลดความสูญเปล่าได้จริงหรือไม่นั่น จะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดต้นทุนและเพิ่มกำไร มีด้วยกัน 7 อย่าง หรือที่เรียกกันว่า 7 Waste   1.    ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction) กระบวนการผลิตในรูปแบบโรงงานปัญหาหลักก็คือ การผลิตเกินกว่าความต้องการ หรือยิ่งผลิตเยอะ จะทำให้ขายได้เยอะ และ ต้นทุนการผลิตน้อยลง แต่กลับกลายเป็นว่าการสร้างผลผลิตล่วงหน้า เพราะคิดว่า ยิ่งผลิตเยอะ จะขายได้เยอะตามไปด้วย ซึ่งไม่ได้ผลิตตามแผนจะทำให้เกิดสภาวะสินค้าคงคลังมากเกินไป อาจเกิดการสูญเสียจากต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่มาจากการผลิตมากเกินไป ควรผลิตสินค้าให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด คือการผลิตในปริมาณที่จำเป็นต่อการขาย หรือ ปริมาณที่เหมาะสม   2.    ความสูญเสียเนื่องจากการเก็บวัสดุคงคลัง (Inventory) วัสดุคงคลังนับเป็นอีกหนึ่งอย่างที่เป็นการสูญเสียเช่นกัน เพราะธุรกิจส่วนมากเชื่อว่าหากมีสต๊อกเยอะ โอกาสที่จะขายให้กับลูกค้าได้ก็จะมีเยอะ มีผลมาจากการสั่งซื้อ Material จำนวนมากต่อหนึ่งครั้ง หากเราเก็บสต๊อกมากเกินไป จะทำให้พื้นที่ในการจัดเก็บที่มากเกินความจำเป็น อาจทำให้วัสดุตกค้าง โดยไม่มีกำหนดการว่าจะได้ใช้งานเมื่อไร  เราจะแก้ไขความสูญเสียนี้ได้จากจัดเก็บหรือพื้นที่การจัดเก็บที่ชัดเจน จัดทำแผนการจัดซื้อที่สอดคล้องกับการผลิต รวมถึงการใช้ระบบเข้าก่อน ออกก่อน (First in first out) เพื่อลดปริมาณวัสดุตกค้างเป็นเวลานาน 3. ความสูญเสียเนื่องจากการขนส่ง (Transportation) หากไม่อยากให้เกิดความสูญเสียควรจัดแผนในการเดินทางให้ไปในโซนเดียวกัน และคำนวณเส้นทางที่ประหยัดเวลามากที่สุด เพื่อลดความสูญเสีย ควรบริหารจัดการในการขนส่งแต่ละครั้งเพื่อให้ได้ระยะทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด   4. ความสูญเสียเนื่องจากการเคลื่อนไหว (Motion) การเคลื่อนไหวของพนักงานในองค์กรกับแรงงานในกระบวนการผลิตไม่ว่าจะเป็นการเดินจากเครื่องจักรไปเครื่องจักร หรือการเคลื่อนไหวระหว่างชั้น ระหว่างตึกทำงานอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับบางองค์กร แต่เมื่อลองคำนวณเวลาดูแล้ว อาจทำให้เห็นว่าใน 1 ปีเราเสียเวลาในการใช้พนักงานในการเคลื่อนไหวไม่น้อยเลยทีเดียว หากเอาเวลานั้นใช้ในการทำงานให้เกิดประโยชน์แทน   5. ความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต (Processing) กระบวนการผลิตในระบบโรงงานที่ส่งผลให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน ทำพลาด หรือทำช้าได้ เป็นการสูญเสียของเวลาและค่าใช้จ่ายในองค์กร อาจะทำให้จัดส่งสินค้าให้ลูกค้าไม่เต็มจำนวน ส่งล่าช้า หรือคุณภาพแย่…

read more

RoHS มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม

500 500 Mitsumoto

RoHS มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม         เวลาเลือกซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือใน Datasheet ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ คงจะเคยเห็นสัญลักษณ์วงกลม ที่มีตัวอักษร “Pb” แล้วคาดด้วยเส้นเฉียง หรือมีเขียนคำว่า “RoHS Compliant” หรือจะเขียนว่า “Pb-Free”, “Green” หรืออะไรก็แล้วแต่ นั่นหมายความว่าอุปกรณ์เหล่านั้น ผ่านตามข้อกำหนดที่เรียกว่า “RoHS” (สัญลักษณ์ของแต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกัน เนื่องจากไม่มีสัญลักษณ์ที่เป็นทางการ) RoHS คืออะไร ? RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้นซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยสารที่จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ดังนี 1.ตะกั่ว (Pb)    ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก 2.ปรอท (Hg)    ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก 3.แคดเมียม (Cd)    ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก 4.เฮกซะวาเลนท์ (Cr-VI)   ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก 5.โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก 6.โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์บางอย่าง ที่ยังไม่สามารถใช้สารอื่นมาทดแทนได้ หรือสารที่ใช้ทดแทน มีอันตรายมากกว่า เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ ตะกั่วในเหล็กอัลลอย นอกจากนี้ เครื่องมือด้านการแพทย์…

read more

UL สัญลักษณ์มาตรฐานแห่งความปลอดภัย

1024 512 Mitsumoto

UL สัญลักษณ์มาตรฐานแห่งความปลอดภัย วัตถุประสงค์หลักของมาตรฐาน UL มาตรฐาน UL มีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดความเสี่ยงจากไฟไหม้และไฟฟ้าช็อตที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกาต้องได้รับการรับรองจากห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ (NRTL) ทำไม มาตรฐาน UL จึงเป็นยอมรับ ของ ลูกค้า บริษัท องค์กร ขนาด กลางและใหญ่ UL ห้องปฏิบัติการที่รับประกัน หรือ Underwriters’ Laboratories Inc. เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรรวมถึงมีห้องปฏิบัติการ  ก่อตั้งขึ้นที่ ประเทศ สหรัฐ อเมริกา เมื่อปี คศ.1894 . ได้เริ่มทดสอบสินค้าและเขียนมาตรฐานความปลอดภัยกว่า 100 ปี UL มาตรฐานกว่า 1200 มาตรฐาน โดยได้รับความไว้วางใจในฐานะผู้นำในระดับสากลในการตรวจสอบความปลอดภัยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบ และการรับรองผล การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของ UL ประกอบด้วยการตรวจสอบ การประเมินและการตรวจสอบโรงงานในระดับประเทศ ภูมิภาค และความปลอดภัยในระดับสากล โดยการรับรองมาตรฐานนี้จะช่วยให้ความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ได้รับความเชื่อมั่นในระดับสาธารณะ ทั้งผู้บริโภค ผู้ขายปลีก บริษัทประกันภัย ผู้จัดจำหน่าย ให้เป็นที่จดจำและคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ UL เสมือนสัญลักษณ์แห่งการไว้วางใจในความปลอดภัย การจำแนกมาตรฐาน มาตรฐานความยั่งยืน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มาตรฐานความปลอดภัยในชีวิต มาตรฐานผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง มาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ควบคุมอุตสาหกรรม มาตรฐานสำหรับวัสดุพลาสติก มาตรฐานสำหรับแคนาดาที่พัฒนาโดย ULC Standards ซึ่งเป็นสมาชิกของ บริษัท ในตระกูล UL  ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ทำไมต้อง UL94เพราะเราผลิตภัณฑ์เราอยู่ในกลุ่ม polymers ยังไงล่ะ –UL 94การทดสอบความไวไฟของวัสดุพลาสติกสำหรับชิ้นส่วนในอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มาตรฐานสำหรับสายไฟและสายเคเบิล การทดสอบการลามไฟ(flammability test)กับมาตรฐาน UL-94 การทดสอบมาตรฐานการลามไฟ(flammability test UL-94) กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยสำหรับการผลิตวัสดุพลาสติกหรือชิ้นส่วนในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าบนมาตรฐานการลามไฟUL-94(flammability test) นั้นจำเป็นจะต้องมีการทดสอบมาตรฐานการลามไฟ(flammability test)เพื่อให้วัสดุอุปกรณ์ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมพลาสติกUL-94บนการทดสอบflammability test เพื่อป้องกันความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่วัสดุพลาสติกดังกล่าวเสี่ยงต่อการลุกไหม้ วัสดุที่ใช้ในการผลิตที่เกี่ยวกับไฟฟ้านั้น เช่น ฉนวนสายไฟ จึงต้องมีการทดสอบมาตรฐานการลามไฟ(flammability test UL-94) เพื่อลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บของผู้ใช้งานวัสดุจำเป็นจะต้องผ่านมาตรฐานการลามไฟ UL-94ที่เสี่ยงต่อการลามไฟโดยเฉพาะ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ หรือการเดินสายไฟ…

read more