Posts By :

Mitsumoto

ระบบ Toyota ที่ Supplier ตัวจริงต้องรู้ (Toyota Production System)

1024 724 Mitsumoto

Toyota Production System (TPS) หมายถึง ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการกําจัดของเหลือหรือของส่วนเกินต่าง ๆ จากกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการลดต้นทุน ให้ต้นทุนต่ำสุด และผลิตสินค้าที่สามารถขายได้เท่านั้น เพราะ TOYOTA มองว่าสินค้าที่ผลิตแล้วขายไม่ได้ถือเป็นต้นทุนชนิดหนึ่ง ด้วยหลักการดังกล่าวทำให้ Toyota เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นหลักการสำคัญของของ Toyota ในการควบคุมต้นทุนการผลิตคือประกอบไปด้วย 2 หลักการคือ 1. Just In time (JIT) 2. JIDOKA “Just In Time” ในความหมายที่ตรงตัว หมายถึง ทันเวลาพอดี ทํางานให้พอดี เวลาวางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี เป้าหมายสำคัญของการทำงาน “สิ่่งที่ต้องการ ส่งมอบได้ตามเวลาที่ต้องการ ปริมาณที่้ต้องการ และสินค้าคงคลังต้องมีจำนวนน้อยที่สุด” ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกกำหนดจากความต้องการของลูกค้า หลักการสำคัญของ Just In time (JIT) คือ • ระบบดึง (Pull System) ใช้ในการควบคุมเวลาและ ปริมาณการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสินค้าโดยใช้ KABAN • กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow Processing) เพื่อให้ปริมาณวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนสินค้า ในคลังแต่ละรอบของกระบวนการเหลือน้อยที่สุด • รอบการผลิต (Takt Time) ปรับปรุงกระบวนการให้ใช้เวลาในการผลิตต่ำที่สุด “JIDOKA” หรือในความหมายของคําภาษาอังกฤษว่า “Autonomation” หรือ การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งในความหมายของ TOYOTA คือการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรในการป้องกันความผิดพลาดในการทํางานที่อาจจะทําให้สินค้าเสียเกิดขึ้น หรือในทุกๆกระบวนการ หากเกิดการผิดพลาดขึ้น ระบบจะควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในสายการผลิตหรือในเครื่องจักร และป้องกันสินค้าที่เกิดความเสียหายหรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หลุดไปยังกระบวนการถัดไป ซึ่งอาจส่งผลให้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหลุดไปถึงมือลูกค้า หลักการ JIDOKA ของโตโยต้าประกอบไปด้วย • Andon เป็นป้ายไฟขนาดใหญ่ เพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเมื่อเกิดปัญหา • Pokayoke เป็นเครื่องมือในการป้องกันความผิดพลาด นอกจากนี้ TOYOTA ยังได้ระบุด้วยว่า สาเหตุสําคัญที่ทําให้คุณภาพในการผลิตลดลงนั้น มี 3…

read more

ทำไมต้องจดสิทธิบัตร

1024 724 Mitsumoto

     การจดสิทธิบัตร (patent) เป็นมากกว่าการยื่นเอกสารเพื่อขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทางกฏหมายแก่งานประดิษฐ์หรืองานออกแบบอุตสาหกรรม แต่ การจดสิทธิบัตร เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความได้เปรียบทางกลยุทธ์เหนือคู่แข่ง โดยมี “สิทธิบัตร” เป็นเหมือนเครื่องมือในการสร้างพื้นที่ทางการแข่งขันให้กับธุรกิจ เราอาจจะเคยเห็นว่า ทำไม gillette ถึงสามารถใช้ใบมีดโกนแบบ 3 ใบได้บริษัทเดียว แถมขายกับด้ามมีดของบริษัทตัวเองเท่านั้น ทำไมคนอื่นถึงไม่ทำด้ามมีดมาใช้กับใบมีดของ gillette หละ? หรือทำไมยาบางตัวถึงมีราคาแพง และอยู่ๆมันก็มีราคาถูกลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ มีสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิบัตร” อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น และเป็นเครื่องมือที่ทำให้ธุรกิจสามารถหากำไรจากสินค้าหรือบริการที่เฉพาะของตน ได้อย่างเต็มที่ในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อคุณรู้เช่นนั้น อยากจะทำอย่างนั้นและตื่นเต้นที่จะทำได้แบบนั้น คุณก็พร้อมแล้วหละ ที่จะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตร และก้าวเข้าสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร ที่สามารถบริการจัดการ เขียนสิทธิบัตร ได้อย่างมีกลยุทธ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจของคุณ และที่สำคัญคือ มันจะช่วยลดต้นทุนด้านสิทธิบัตรของคุณ จากการจ้างทีมที่ปรึกษาที่เก่งๆ อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้ว ซีรีย์ชุดนี้ จะพาคุณเรียนรู้วิธีการจดสิทธิบัตรด้วยต้นเอง ตั้งแต่แนวคิด จนถึงการลงมือปฏิบัติ ที่คุณก็หาอ่านจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ถ้าคุณชอบบทความของเรา อย่าลืมแชร์หรือส่งต่อให้กับเพื่อนๆ ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนนั่นเอง      สิทธิบัตร (Patent) คือเอกสารทางกฏหมายที่ตราไว้เพื่อคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของในการผลิต ขาย ให้เช่า หรือแจกจ่ายการประดิษฐ์ในประเทศที่ได้รับการคุ้มครอง เพราะฉะนั้นเจ้าของสิทธิสามารถกีดกันผู้อื่นจากการผลิต ขาย แจกจ่าย หรือนำเข้างานของเจ้าของสิทธิได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ใช้สอย (Functional Products) หรือเป็นการออกแบบเพื่อตกแต่ง (Ornamental Designs) ซึ่งรวมไปถึงรูปร่าง ลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้อาจนำมาจดสิทธิบัตรได้ แต่การที่จะได้มาซึ่งสิทธิเหล่านี้ ผู้ยื่นจดสิทธิบัตรจำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดและสาระสำคัญของงานต่อสำนักสิทธิบัตรในประเทศที่ต้องการได้รับการคุ้มครอง หากงานประดิษฐ์หรืองานออกแบบใดไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรแล้ว จะเป็นเรื่องยากที่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบจะสามารถนำเอาไอเดียนั้นมาพัฒนาต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเริ่มธุรกิจที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม หรือการให้ผู้อื่นเช่าสิทธิ (License-Out) เพื่อที่ผู้อื่นสามารถนำไปผลิต ขาย หรือพัฒนาต่อยอดได้      อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ  หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น      สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร…

read more

SPEC ที่จำเป็นต้องรู้ของ FILAMENT

1024 724 Mitsumoto

     การเลือกประเภทของวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์ที่ต้องการนั้นยากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากตลาด 3D printing นั้นมีวัสดุใหม่ๆที่นำมาใช้เกิดขึ้นเสมอ และขณะนี้เราเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นทั้ง Polymer บริสุทธิ์และ Composite ในการศึกษานี้เรามุ่งเน้นไปที่ Polymer บริสุทธิ์หลักที่มีอยู่ในตลาดในปัจจุบัน และขณะนี้เราเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นทั้ง Polymer บริสุทธิ์และ Composite ในการศึกษานี้เรามุ่งเน้นไปที่ Polymer บริสุทธิ์หลักที่มีอยู่ในตลาดในปัจจุบัน      การเลือกเส้นพลาสติกให้ถูกประเภทกับงาน จะช่วยให้ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมานั้น ทำได้ตามคุณสมบัติที่ต้องการ โดยเราแยกหมวดหมู่เหล่านี้ออกเพื่อให้เห็นภาพคุณสมบัติของ Polymer ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการเลือกวัสดุขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการพิมพ์

read more

PPAP คืออะไรทำไมต้องมี

1024 724 Mitsumoto

PPAP คืออะไร?? PPAP (Production Part Approval Process) หรือ “การยื่นขออนุมัติชิ้นส่วนการผลิต” ซึ่ง PPAP เป็นหนึ่งใน Core Tool ตามข้อกำหนด IATF16949 ระบบมาตรฐานคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ทุกลำดับขั้นจำเป็นต้องยื่นเอกสารขออนุมัติชิ้นส่วนการผลิต ให้กับคู่ค้าของตนตามลำดับขั้น ตามข้อกำหนดจะต้องยื่นเอกสาร PPAP ให้ลูกค้าช่วง New model และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้าน Engineering 4 Reason for submission PPAP ชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ (เช่น ชิ้นส่วนใหม่ วัสดุใหม่ สีใหม่ ไม่เหมือนที่เคยส่งลูกค้า) การยื่น PPAP เกิดเมื่อผลิตภัณฑ์ใหม่หรือมีการแก้ไขปรับปรุง ในกรณีที่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ สามารถใช้ข้อมูลรวมกันได้ มีการแก้ไขข้อบกพร่อง จากการยื่น PPAP ครั้งที่ผ่านมาแล้ว เช่น สมรรถนะการผลิตภัณฑ์ ตามที่ลูกค้ากำหนด, ผลวัดขนาดหรือความสามารถของกระบวนการ, ประเด็นจากผู้ส่งมอบ, ยื่น PPAP  สำหรับปรับสถานะอนุมัติชั่วคราวเป็น อนุมัติสมบูรณ์, ผลการทดสอบวัสดุ/สมรรถนะผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงในเชิง วิศวกรรม เช่น ข้อมูลในการออกแบบ ข้อกำหนดต่างหรือ วัสดุที่ใช้ เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน 18 Document for submission PPAP Design Record Of Saleable Products Engineering Change Document Customer Engineering Approval Design FMEA Process Flow Diagrams Process FMEA Control Plan Measurement System Analysis Studies Dimensional Result Material, Performance Test Result Initial Process…

read more