เทคนิคแก้ปัญหาธุรกิจอย่างรวดเร็ว
https://www.mitsumoto.co.th/wp-content/uploads/2023/07/Grey-and-Yellow-Car-Sale-Promo-Facebook-Post.png 940 788 Mitsumoto Mitsumoto https://secure.gravatar.com/avatar/d4949da7ee4fcc04d40442cbb815513a?s=96&d=mm&r=gวิธีแก้ปัญหาได้รวดเร็วด้วยเทคนิคจากสุดยอดนักแก้ปัญหามือหนึ่งของญี่ปุ่น ในการทำธุรกิจมักต้องเจอปัญหาต่างๆอยู่เสมอ ยิ่งในปัจจุบันที่มีความไม่แน่นอนและความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ปัญหาต่างๆก็ยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น ถ้าไม่รีบแก้ไข ปัญหาอื่นๆก็จะตามมาอย่างไม่หยุดหย่อน ปัญหา คือ ช่องว่างระหว่างสิ่งที่ต้องการกับสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่ หลายคนเข้าใจผิดว่าเมื่อเจอปัญหาให้รีบลงมือทำอะไรสักอย่างโดยทันที หรือต้องหาวิธีที่แก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์แบบก่อนจึงค่อยลงมือทำ การทำทั้งสองสิ่งนี้ยิ่งทำให้ปัญหาดูแก้ยากไปอีก เพราะเรายังไม่ทราบต้นตอของปัญหา และการมัวรอจนไม่ทำอะไร ก็ยิ่งทำให้สิ่งต่างๆดูแย่ลง การแก้ปัญหาที่ถูกวิธีจึงไม่ใช่การกระโจนเข้าหาวิธีแก้ปัญหาทันที แต่ให้หยุดนิ่งๆ แล้วหาสาเหตุของปัญหาก่อน มองให้เห็นภาพรวมของปัญหา แล้วแก้ปัญหาโดยเน้นความเร็ว หากเกิดเหตุไม่คาดฝันค่อยปรับทิศทางใหม่ คิดหาวิธีแก้แบบ 70% และนำไปปฏิบัติ แล้วทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว วันนี้จะขอนำเสนอ 4 ขั้นตอนที่ช่วยให้แก้ปัญหาด้วยความเร็วสูงด้วยเวลาเพียง 70 นาที โดยนำเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ “High-speed Problem Solving” ของ “เทระชิตะ คาโอรุ” ผู้ฝึกอบรมมืออาชีพของทีมพัฒนาบุคลากรของบริษัท Yahoo! Japan Corporation และบรรยายให้แก่หน่วยงานภายนอกมากมาย 1. มองหาสาเหตุของปัญหา มองให้ออกว่ามีปัญหายังไงใน 10 นาที การจะมองสาเหตุปัญหาให้ออก ก่อนอื่นต้องตระหนักว่ามีปัญหาก่อน หลายครั้งที่ปัญหาอยู่ตรงหน้าแต่มองไม่เห็น เพราะไม่ได้สนใจหรือใส่ใจ โดยเฉพาะถ้าปัญหานั้นไม่ได้กระทบกับเรา ก็ยิ่งมองไม่เห็นเข้าไปใหญ่ เมื่อเจอปัญหาแล้วก็ต้องมองปัญหาด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่มีอคติความเชื่อส่วนตัว และศึกษาหาความรู้เพื่อแยกแยกให้ออกว่าสิ่งไหนดีไม่ดี อะไรที่เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา 2. กำหนดเป้าหมาย จัดระเบียบปัญหาใน 20 นาที เวลากำหนดเป้าหมายเพื่อที่จะแก้ปัญหาให้ได้นั้น ต้องคำนึงถึง กรอบเวลา ผู้ที่เกี่ยวข้อง และความเป็นรูปธรรม ต้องตั้ง Deadline ให้ชัดเจนว่าต้องทำภายในเมื่อไหร่ ระบุว่าใครเป็นคนลงมือทำและรับผิดชอบ ทำให้เห็นภาพของผลลัพธ์ให้ชัดเจนด้วยการกำหนดเป็นตัวเลข รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้จากหลากหลายแหล่ง จัดประเภทของข้อมูล แยกแยะข้อมูลโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบขั้วตรงข้าม (ข้อดี-ข้อเสีย) ใช้การคำนวณ ทำเป็นประบวนการ เป็นลำดับขั้นตอน หรือใช้ Framework ในการจัด เช่น SWOT Analysis 3 มองเห็นภาพรวมของปัญหา หาสาเหตุที่แท้จริงใน 30 นาที เมื่อเจอปัญหา ให้หยุดคิดถึงสาเหตุก่อน หาภาพรวมของปัญหาได้ด้วย 3 คำถาม – ถ้าต้องหาสาเหตุของปัญหา 1 ข้อ สาเหตุนั่นคืออะไร…
read more