ระบบ Toyota ที่ Supplier ตัวจริงต้องรู้ (Toyota Production System)

1024 724 Mitsumoto
  • 0

Toyota Production System (TPS) หมายถึง ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการกําจัดของเหลือหรือของส่วนเกินต่าง ๆ จากกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการลดต้นทุน ให้ต้นทุนต่ำสุด และผลิตสินค้าที่สามารถขายได้เท่านั้น เพราะ TOYOTA มองว่าสินค้าที่ผลิตแล้วขายไม่ได้ถือเป็นต้นทุนชนิดหนึ่ง ด้วยหลักการดังกล่าวทำให้ Toyota เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นหลักการสำคัญของของ Toyota ในการควบคุมต้นทุนการผลิตคือประกอบไปด้วย 2 หลักการคือ 1. Just In time (JIT) 2. JIDOKA

“Just In Time” ในความหมายที่ตรงตัว หมายถึง ทันเวลาพอดี ทํางานให้พอดี เวลาวางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี
เป้าหมายสำคัญของการทำงาน สิ่่งที่ต้องการ ส่งมอบได้ตามเวลาที่ต้องการ ปริมาณที่้ต้องการ และสินค้าคงคลังต้องมีจำนวนน้อยที่สุด” ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกกำหนดจากความต้องการของลูกค้า
หลักการสำคัญของ Just In time (JIT) คือ
ระบบดึง (Pull System) ใช้ในการควบคุมเวลาและ ปริมาณการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสินค้าโดยใช้ KABAN
กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow Processing) เพื่อให้ปริมาณวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนสินค้า ในคลังแต่ละรอบของกระบวนการเหลือน้อยที่สุด
รอบการผลิต (Takt Time) ปรับปรุงกระบวนการให้ใช้เวลาในการผลิตต่ำที่สุด

“JIDOKA” หรือในความหมายของคําภาษาอังกฤษว่า “Autonomation” หรือ การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งในความหมายของ TOYOTA คือการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรในการป้องกันความผิดพลาดในการทํางานที่อาจจะทําให้สินค้าเสียเกิดขึ้น หรือในทุกๆกระบวนการ หากเกิดการผิดพลาดขึ้น ระบบจะควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในสายการผลิตหรือในเครื่องจักร และป้องกันสินค้าที่เกิดความเสียหายหรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หลุดไปยังกระบวนการถัดไป ซึ่งอาจส่งผลให้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหลุดไปถึงมือลูกค้า หลักการ JIDOKA ของโตโยต้าประกอบไปด้วย
Andon เป็นป้ายไฟขนาดใหญ่ เพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเมื่อเกิดปัญหา
Pokayoke เป็นเครื่องมือในการป้องกันความผิดพลาด

นอกจากนี้ TOYOTA ยังได้ระบุด้วยว่า สาเหตุสําคัญที่ทําให้คุณภาพในการผลิตลดลงนั้น มี 3 สาเหตุหลักด้วยกัน คือ
MUDA คือ การเคลื่อนไหวของพนักงานประกอบที่ไม่เกิดคุณค่า
MURI คือ การรับภาระเกินความสามารถของบุคคลและอุปกรณ์
MURA คือ แผนการผลิตหรือปริมาณการผลิตที่ไม่สม่ําเสมอ

หลักการนำมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรณ์ จำเป็นที่จะต้องมีการเก็บข้อมูล เพื่อที่จะนำมา Kaizen ในกระบวนการที่เป็นคอขวด เพื่อหาแนวทางการแก้ไขความเป็น MUDA ตามหลักปรัชญา วิถีโตโยต้า (Toyota Way)โดยองค์ความรู้ที่นำมาประยุกต์ใช้ประกอบไปด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน รู้ เห็น เป็น ใจ
• รู้ หมายถึง รู้ปัญหาในทุกกระบวนการภายใต้หลักของ TPS โดยการสำรวจหน้างานทุกกระบวนการ จากนั้นทำการระบุและหาสาเหตุของปัญหา
• เห็น หมายถึง เห็นแนวทางแก้ไขปัญหาตามหลัก Kaizen โดยทำการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ ระบบการมองเห็นเพื่อให้เห็นจุดเกิดปัญหา หรือจุดที่เกิดคอขวด
• เป็น หมายถึง ทำเป็นด้วยตัวเองตามหลัก Kaizen และพอเพียง โดยการให้พนักงานที่ประสบการณ์มากกว่าถ่ายทอดองค์ความรู้การทำงาน เช่นวิธีการไคเซน การใช้แบบฟอร์ม และระบบการมองเห็น เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง
• ใจ หมายถึง เข้าใจ ใส่ใจ ถูกใจ ตามหลักปรัชญาวิถีโตโยต้า โดยการสร้างมาตรฐานการประชุม เช่น ประชุมรายวัน หรือประชุมรายเดือน ของแผนกต่างๆ และจัดให้มีการตรวจหน้างาน ของแต่ละกระบวนการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การผลิตสินค้า ที่ถูกใจลูกค้า

Toyota Production System (TPS) คือ ระบบที่พนักงานและหัวหน้างานทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ควมเข้าใจ เพื่อให้รู้ถึงปัญหาที่ไม่มี (MUDA) และจุดคอขวด วิเคราะห์ระบบการมองเห็นเพื่อให้บุคคลากรภายในองค์กรณ์เห็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขหรือป้องกัน สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง และแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองมีความเข้าใจในงาน ใส่ใจรายละเอียดของงาน และสามารถทำงานได้ดีถูกใจลูกค้า ถ้าบุคคลากรภายในองค์กร เข้าใจหลักการดังกล่าวนี้ จะสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตตามปรัชญาของ Toyota Production System ได้ สามารถปฏิบัติงานได้ดี ตรงตามความต้องการของลูกค้า และยังช่วยลดปัญหาต้นทุนที่สูงจากปริมาณของเสียหรือกระบวนการที่ไม่เกิดคุณค่า (MUDA)

Author

Mitsumoto

All stories by: Mitsumoto