POMODORO เทคนิคการแบ่งเวลาการทำงานโดยใช้รูปทรงมะเขือเทศ
1024 525 Mitsumoto

เทคนิคการแบ่งเวลาการทงานโดยใช้รูปทรงมะเขือเทศ Pomodoro ที่อ่านออกเสียงเหมือนภาษาญี่ปุ่น แต่เดี๋ยวก่อน คำนี้มาจากภาษาอิตาลีที่แปลว่า มะเขือเทศ แต่ PomodorosTechnique ที่เราพูดถึงนั้นไม่ได้หมายถึงวิธีการทำมะเขือเทศ แต่ pomodorosคือวิธีการจัดการเวลาที่กำลังเป็นที่นิยม ด้วยการแบ่งเวลาการทำงานเป็นช่วงการทำงานที่เน้นย้ำ โดยแบ่งเป็นช่วงพักสั้นๆ บ่อยๆ โดยจะแบ่งช่วงเวลาการทำงานออกเป็นเซสชั่นละ 25 นาที และพักเบรค 5-10 นาทีเพื่อรีเฟรชสมอง ซึ่งการใช้เทคนิค pomodorosนั้นง่ายดายและทำได้ไม่ยากค่ะ แค่หยิบปากกาและกระดาษ วางแผนงานของคุณ จากนั้นเริ่มจับเวลา 25 นาที !   เทคนิคการบริหารเวลาที่จะช่วยปรับปรุงการโฟกัสและประสิทธิภาพการทำงานของคุณ ทำให้เราสามารถทำงานได้ภายในเวลาที่จำกัดและสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่เราตั้งไว้ เป็นวิธีการบริหารเวลายอดนิยมที่คิดค้นโดย Francesco Cirillo ชาวอิตาลีค่ะ โดยเขาค้นพบเนื่องจากสมัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย เขามีปัญหาในการจดจ่อกับการเรียนและทำงานที่ได้รับมอบหมาย เขาจึงใช้นาฬิกาจับเวลาในครัวรูปทรงมะเขือเทศเพื่อวัดช่วงเวลา 25 นาทีของเขาที่ทุ่มเทเวลาเรียนในช่วงเวลานั้น และนับแต่นั้นมาเทคนิค Pomodoro ก็ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเทคนิค Pomodoro นั้นเรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพมาก  เทคนิคนี้เหมาะกับใครบ้าง เทคนิค pomodorosคือเทคนิคที่เหมาะกับคนที่ต้องการทำงานอย่างต่อเนื่องผ่านจุดที่มีประสิทธิผลสูงสุด หรือคนที่มักจะมี สิ่งรบกวนเล็กน้อยซึ่งมักจะทำให้วันทำงานหยุดชะงัก หรือมีงานจำนวนมากที่อาจใช้เวลามาก และต้องการจัดเวลาหรือทำให้เสร็จตามกำหนด นอกจากนี้ยังเหมาะกับคนที่สนุกกับการตั้งเป้าหมายให้ตัวเองด้วยค่ะ…

นามบัตร
23 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนแลกนามบัตร
1024 525 Mitsumoto

23 วิธี 4 ขั้นตอนการแลกนามบัตรตามธรรมเนียมหลักสากล   ขั้นตอนที่ 1 ฉุกคิดก่อนจะแลกนามบัตร 1. ข้อปฏิบัติในการแลกนามบัตรที่สำคัญที่สุดคือ “มีนามบัตรติดตัวอยู่เสมอ” เพราะเราเองไม่อาจคาดเดาได้ว่าเราจะเจอใครเมื่อไหร่… บางทีเจอคนสำคัญๆที่มีผลต่อหน้าที่การงานหรือความสัมพันธ์ของเราในอนาคต แต่เราไม่มีนามบัตรเอาไว้แลก ก็เท่ากับการปิดกั้นโอกาสที่จะรู้จักกับคนคนนั้นครับ 2. ให้คิดไว้เสมอว่านามบัตร เปรียบเสมือน “หน้าตา”ของคู่สนทนาดังนั้นต้องละเอียดและให้เกียรติกับการแลกนามบัตร   ขั้นตอนที่ 2 เตรียมนามบัตร 1. ให้ใส่เคสนามบัตรไว้ในกระเป๋าด้านในสูท หรือกระเป๋าถือ 2. ต้องเตรียมนามบัตรไว้พร้อมเสมอ พร้อมยื่นได้เลยโดยไม่ติดขัดเมื่อรู้ว่าจะต้องแลกนามบัตรให้เอาออกมาจากเคสนามบัตรและสอดเก็บไว้ 3. ให้ยื่นนามบัตรที่สะอาดเท่านั้นตรวจสอบนามบัตรในเคสนามบัตรเสมอ ว่าสกปรก หรือพับอยู่หรือไม่ถ้าพบว่าสกปรกแม้จะนิดเดียว ให้ทิ้งนามบัตรใบนั้นเสีย 4.ให้ตรวจสอบนิ้วมือด้วยว่าสกปรกหรือไม่ ควรให้สะอาดอยู่เสมอ   ขั้นตอนที่ 3 ยื่นนามบัตร รับนามบัตร 1.ไม่ยื่นนามบัตรขณะนั่งหรือยื่นผ่านโต๊ะ ถ้ามีโต๊ะอยู่ให้ลุกออกมาแลกนามบัตรในบริเวณที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง 2.ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่า ต้องเป็นผู้ยื่นก่อนเสมอยกเว้น การเข้าเยี่ยมบริษัท แขกผู้มาเยี่ยมจะต้องเป็นผู้ยื่นก่อน 3.ถ้าเรายื่นนามบัตรออกไปช้ากว่าผู้ที่อาวุโสกว่า ต้องกล่าวขอโทษที่ยื่นช้า (申し遅れました – โมชิโอคุเระมาชิตะ) แล้วถึงยื่นนามบัตรได้ 4.ถ้าแลกนามบัตรพร้อมกับเจ้านาย ให้ยื่นนามบัตรภายหลังที่เจ้านายแลกนามบัตรเสร็จ5.…

Agile
แนวคิดการทำงานแบบอไจล์ (Agile)
1024 525 Mitsumoto

Agile (อไจล์) Agile  ‘แนวคิดในการทำงาน’ (ไม่ใช่รูปแบบวิธีการหรือขั้นตอนในการทำงาน) และไม่ได้จำกัดว่าต้องนำไปใช้กับการพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้น เพราะอไจล์ให้ความสำคัญในเรื่อง ‘คน’ ‘การสื่อสาร’ และ ‘แนวทางที่จะนำไปใช้พัฒนาสินค้าและบริการ’ ขององค์กรให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สินค้าและบริการเหล่านั้นตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้ใช้งานรวมถึงผู้บริโภคอยู่เสมอ   องค์กรส่วนใหญ่มักจะทำงานด้วยระบบจัดการที่มีชื่อเรียกว่า Project Management โดยมี Project Manager หรือ PM เป็นผู้จัดการโครงการและมีทีมมานั่งวางแผนร่วมกันก่อนที่จะเริ่มโครงการ ดูทั้งเรื่องงบประมาณโครงการ ระยะเวลา กำลังคน และองค์ประกอบอื่นๆ ตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ ซึ่งมักจะใช้รูปแบบการทำงานแบบ ‘Waterfall Process’ คือแบบมีขั้นมีตอน ซึ่งเป็นการทำงานที่ต้องให้ผ่านไปทีละขั้น แต่แนวคิดอไจล์นั้นมีรูปแบบการทำงานที่ต่างออกไป อาจกล่าวได้ว่า   ‘อไจล์เป็นกระบวนการที่ช่วยลดการทำงานที่เป็นขั้นตอนและงานด้านการทำเอกสารลง’ แต่จะไปมุ่งเน้นในเรื่องการสื่อสารของทีมมากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ได้รวดเร็วขึ้น แล้วจึงนำสิ่งที่ได้ไปให้ผู้ใช้กลุ่มตัวอย่าง (Target group) ทดสอบใช้งานจริง จากนั้นจึงรวมรวมผลทดสอบมาประเมินดูอีกครั้ง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงสินค้าและบริการนั้นๆ ให้ดีขึ้นทีละนิด ด้วยแนวทางนี้จะทำให้องค์กรสามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็วและตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากขึ้นอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง       แนวคิดแบบ ‘อไจล์’ เลยถูกนำมาประยุกต์ใช้ โดย ‘แทนที่เราจะวางเป้าหมายให้ใหญ่ๆ แล้วยังต้องใช้ระยะเวลานานๆ อีกทั้งความพยายามทำให้ซอฟต์แวร์ออกมาให้สมบูรณ์แบบที่สุดในคราวเดียว’ ก็ให้เปลี่ยนเป็นการวางแผนและพัฒนาไปทีละนิด แบ่งซอยขอบเขตงานให้เล็กลง แล้วค่อยๆ ประเมินไปทีละเฟสว่าทำออกมาดีไหม ทำมาถูกทางหรือไม่ จะก้าวต่อไปอย่างไร…

Muda Mura Muri
3มู ที่ทำให้ธุรกิจไปไม่ถึงฝัน
1024 525 Mitsumoto

ในครั้งก่อนจากที่เคยอธิบายคำว่า KAIZEN ไคเซ็น ไปแล้ววันนี้ขอนำเสนอเรื่อง 3 MU เพราะสองอย่างนี้มีความเกี่ยวข้องกัน แล้วมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร?? คนที่ไม่เคยทำกิจกรรม KAIZEN ก็คงจะงงงวยกันอยู่ แต่คนที่ทำกิจกรรมนี้บ่อยคงจะเคยชินกับ 3 คำนี้แน่นอน เราไปดูความหมายกันก่อนดีกว่าค่ะ คำว่า MU เอามาจากคำแรกของภาษาญี่ปุ่น ได้แก่ ムダ MUDA มุดะ   =  ความสูญเปล่า ムラ   MURA มุระ   =   ความไม่สม่ำเสมอ ムリ   MURI  มุริ     =   การฝืนทำ,เกินกำลัง ถ้า 3 สิ่งนี้ แทรกตัวอยู่ในการปฏิบัติงานจะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ สร้างปัญหาในการทำงาน เราจึงต้องทำการกำจัด 3 MU นี้ออกไป ตรงจุดนี้เองที่เชื่อมโยงกับกิจกรรม KAIZEN Muda, Mura, Muri เป็นคำภาษาญี่ปุ่น Muda คือ ความสูญเปล่า Mura คือ ความไม่สม่ำเสมอ…

4M Change Method
1024 724 Mitsumoto

ปัจจัยในกระบวนการผลิต 4 ด้าน (4M in Production Process) ในการผลิตจะมีขั้นตอนควบคุมการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นในผลผลิตที่ได้ให้เกิดกับลูกค้าดังนั้นในกระบวนการผลิตจะเน้นเรื่องของความสามารถในการควบคุมการผลิต โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมให้การผลิตมีคุณภาพที่ดี มีความสม่ำเสมอ สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามเป้าหมายในการจัดการกับปัจจัยหรือตัวแปรในการผลิต โดยทั่วไปแล้วมักจะให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยหลักที่สำคัญ 4 กลุ่มได้แก่ Man, Method, Material และ Machine รายละเอียดปัจจัยในแต่ละกลุ่ม 1. ทรัพยากรมนุษย์ (Man) คือ คนงาน พนักงาน หรือบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอก ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด เพราะการผลิตหรือดำเนินการใด ๆ จะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคนทั้งในดานความคิด การวางแผน การดำเนินการ หรือจัดการทำให้เกิดการผลิตหรือกิจกรรมทางธุรกิจทุกรูปแบบ การพัฒนาคนจริงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ 2. วิธีปฏิบัติงาน (Method) คือ วิธีการ ขั้นตอน หรือขบวนการในการทำงานหรือการผลิต ซึ่งปัจจุยนี้เป็นปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต่อมา เพราะความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมที่มีนั้นจะต้องมาจากการปฏิบัติงานและขั้นตอนของการผลิตหรือการดำเนินธุรกิจที่ดี ต้องมีการจัดการ การวางแผน การติดตาม การตรวจสอบ และการควบคุมการผลิตหรือการดำเนินกิจกรรม โดยกำหนดให้มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ดีมีประสิทธิภาพ 3. ทรัพยากร (Resource) ในเรื่องของทรัพยากรนี้เราอาจแยกพิจารณาใน…

Kaizen
“ไคเซน (KAIZEN)” กลยุทธ์ เลิก ลด เปลี่ยน
1024 525 Mitsumoto

ในการทำงานกับคนญี่ปุ่นต้องได้ยินคำว่า “ไคเซน” (改善) งงมั้ย? ว่าคำนี้มีความหมายว่าอย่างไร ไคเซน ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ดีขึ้น หรือเรียกว่าเป็น การปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็ว่าได้ หลักการง่าย ๆ ที่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญของการทำ . หลักการของไคเซน วิเคราะห์ระบุประเด็นที่เป็นปัญหาและหาวิธีการแก้ปัญหา แล้วนำไปทดลองปฎิบัติ หลังจากนั้นให้มาทบทวนขั้นตอนและกระบวนการอีกครั้งสำหรับปัญหาที่ยังได้รับการแก้ไขไม่ดีพอ ว่าขั้นตอนใดสำคัญ หากไม่สำคัญให้ยกเลิกไป และเปลี่ยนเป็นวิธีที่ใช้เวลาลดลดง แต่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิถีแบบไคเซนมีความเชื่อว่าทุกสิ่งสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และไม่มีสิ่งใดที่จะคงอยู่สภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป การทำงานแบบไคเซนทุกคนมีความสำคัญ เคารพผู้คนและเพื่อนร่วมงาน เพราะหัวใจสำคัญ คือ “ทุกคน” ต้องมีส่วนร่วม มุ่งมั่นทำไปในทิศทางเดียวกัน วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อยอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมา . ไคเซน คือ การลดขั้นตอนส่วนเกิน แต่ลดจากเรื่องที่ไม่จำเป็น ด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน ทำด้วยความตั้งใจจริง 1. เปลี่ยนวิธีการ…เปลี่ยนวิธีการทำงาน ลดขั้นตอนส่วนที่ไม่จำเป็นออก 2. เปลี่ยนเรื่องเล็ก…เปลี่ยนเรื่องเล็ก ๆ หรือปัญหาที่พบเห็นในแต่ละวัน 3. รับมือกับความเป็นจริง…ทำเรื่องที่ทำได้ก่อน รับมือกับความเป็นจริงที่มีข้อจำกัด การทำไคเซ็นปรากฏให้เราได้เห็นกันทุกที่ ไม่ใช่แค่ในโรงงาน เพราะไม่ว่าจะเป็นใน สายการผลิต ในสำนักงาน…

อิจิโกะ อิจิเอะ
9 อย่างที่จะทำให้คุณรู้ว่าความสุขคืออะไร ในแบบฉบับของอิจิโกะ อิจิเอะ
1024 525 Mitsumoto

9 อย่างที่จะทำให้คุณรู้ว่าความสุขคืออะไร ในแบบฉบับของ อิจิโกะ อิจิเอะ   อิจิโกะ อิจิเอะ (Ichigo-Ichie) คือกฎแห่งความสุข 9 ข้อ ของคนญี่ปุ่น อิจิโกะ อิจิเอะ (Ichigo-Ichie) เป็นวลีเด็ดของคนญี่ปุ่นเลยและมีหมายความว่า ‘การได้พบกันครั้งเดียว’ ซึ่งต้นกำเนิดของคำนี้มาจากพิธีชงชาของนิกายเซน เนื่องจากการที่เราได้พบกับใครคนหนึ่งในงานพิธีชงชา จะเป็นโอกาสที่ได้พบกันครั้งเดียวแล้วอาจจะไม่มีโอกาสได้พบกันอีกเลยก็เป็นได้ ดังนั้นช่วงเวลาที่ได้พบกันเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด ต่อมาอิจิโกะ อิจิเอะ ถูกตีความและนำมาปรับใช้เป็นปรัชญาชีวิต โดยเฉพาะในการทำงานว่า เราควรปฏิบัติและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีแก่คนที่เราได้พบเจอหรือลูกค้าอย่างดีที่สุด เพราะมันอาจเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ได้พบกัน อิจิโกะอิจิเอะ(Ichigo-Ichie) ก็เปรียบเสมือนกับการทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย และหายจากอาการเหนื่อยล้า ในชีวิตประจำวันของการทำงาน เราจึงควรจดจำว่าทุกช่วงเวลาที่เราใช้นั้นมันสำคัญ และมีค่ามากขนาดไหนที่จะต้องให้ความสำคัญกับทุกสิ่งที่เราได้กระทำไปแล้ว เราจะได้ไม่ตองมานั่งเสียดายหรือเสียใจกับการกระทำของเราเองในภายหลัง การฝึกฝนวิถีการเป็นอิจิโกะอิจิเอะ(Ichigo-Ichie) จะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น โดยไม่ต้องรู้สึกกังวลในสิงที่เราได้ทำไปแล้วหรือเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งคุณยังจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ณ ปัจจุบัน พร้อมการเปลี่ยนคุณให้เป็นคนที่ยอมรับและเห็นความสำคัญของทุกช่วงเวลา มาดูกันว่าหลักการ 9 อย่างที่สรุปปรัชญานี้ของชาวญี่ปุ่นมีอะไรและต้องทำยังไงกันบ้าง…  1.อย่าผลัดหรือเลื่อนช่วงเวลาที่พิเศษและแสนสำคัญ เพราะแต่ละโอกาสเกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียว หากคุณไม่รับมันไว้ มันก็จะเลือนหายไปตลอดกาล ซึ่งบางครั้งชีวิตก็คือการตั้งคำถามว่า คุณจะลงมือทำมันตอนนี้ หรือจะไม่ทำเลยดีกว่าล่ะ ? 2.ใช้ชีวิตเสมือนกับว่าสิ่งๆ นี้จะเกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นทุกบ้าน…

ริเน็น (理念)
เมื่อเราอยากให้ธุรกิจเรายืนยง 100 ปี เราต้องรู้จัก “ริเน็น”
1024 525 Mitsumoto

เมื่อเราอยากให้ธุรกิจเรายืนยง 100 ปี เราต้องรู้จัก “ริเน็น” ริเน็นมาจากคำว่า ริ (理) ซึ่งแปลว่าเหตุผล ผสมกับคำว่าเน็น (念) ซึ่งความหมายดั้งเดิมแปลว่าสติ คำว่า ริเน็น (理念) จึงมีความหมายว่าเหตุผลที่เกิดจากสติ ซึ่งก็คือปัญญา หรือ ปรัชญานั่นเอง การใช้หลักการแบบ ริเน็น ประเทศญี่ปุ่นมีบริษัทเก่าแก่กว่า 200 ปีมากที่สุดในโลกซึ่งมีถึง 3,113 บริษัท ทุกบริษัทล้วนมีปรัชญาในการทำธุรกิจเหมือนกัน นั้นก็คือ การใช้หลักการแบบ ริเน็น ในการบริหารธุรกิจ จนประสบความสำเร็จ และหัวใจหลักคือการทำธุรกิจ ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญต่อพนักงานที่อยู่กันแบบครอบครัว แต่ในยุคปัจจุบันการทำธุรกิจในบ้านเรามีความเสี่ยงทุกทาง เพราะปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว หรือ พฤติกรรมของผู้บริโภค (เพราะโลกหมุนตลอดเวลา) ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจหรือ การใช้ชีวิตให้อยู่รอดนั้น ดังนั้นธุรกิจต่างๆจึงต้องหาแนวทางในการอยู่รอด หรืออาจจะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อทำอย่างอื่นแทน การทำธุรกิจให้ยืนยาว และมีความมั่นคง ตามหลักของ ริเน็น มีการทำธุรกิจ 2 รูปแบบ คือ แบบต้นไผ่และแบบต้นสน เรามาดูกันว่า แบบต้นไผ่กับต้นสนนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง แบบแรกก็คือแบบต้นไผ่…

SOFTWARE ERP (ENTERPRISE RESOURCE PLANNING) BY PHYTON
150 150 Mitsumoto

SOFTWARE ERP (ENTERPRISE RESOURCE PLANNING) BY PHYTON ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในแต่ละองค์กรณ์จึงมีวิธีแก้ไขโดยการให้พนักงาน (WFH)Work From Home เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ก็ส่งผลเสียกับองค์กรณ์หลายๆส่วน ทั้งในเรื่องการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และส่งผลให้งานที่ได้รับมอบหมายต่างๆ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยทางบริษัท มิซึโมะโตะ (ประเทศไทย) จำกัด จึงนำ Software ที่มีชื่อว่า ERP(Enterprise Resource Planning)  มาใช้เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว Software ERP เข้ามามีบทบาทในองค์กรณ์ของเราอย่างไรบ้าง ลดต้นทุนทรัพยากรบุคคล ลดเวลาการทำงาน ลดความเสียหายที่เกิดจากการทำงานผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพและผลลัพธ์ให้กับงาน Software ERP ในปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่ชื่อและรูปแบบการใช้งานจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานที่ใช้ ซึ่งภาษาที่ใช้พัฒนา Software ERP ก็มีภาษาที่ใช้งานต่างกันออกไปเช่นกัน วันนี้เราจะพามารู้จักกับ “Phyton” หนึ่งในภาษาที่สามารถใช้พัฒนา Software ERP และ Software อื่นๆ…