Kaizen

“ไคเซน (KAIZEN)” กลยุทธ์ เลิก ลด เปลี่ยน

1024 525 Mitsumoto
  • 0

ในการทำงานกับคนญี่ปุ่นต้องได้ยินคำว่า “ไคเซน” (改善) งงมั้ย? ว่าคำนี้มีความหมายว่าอย่างไร

ไคเซน ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ดีขึ้น หรือเรียกว่าเป็น การปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็ว่าได้ หลักการง่าย ๆ ที่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญของการทำ

.

หลักการของไคเซน

วิเคราะห์ระบุประเด็นที่เป็นปัญหาและหาวิธีการแก้ปัญหา แล้วนำไปทดลองปฎิบัติ หลังจากนั้นให้มาทบทวนขั้นตอนและกระบวนการอีกครั้งสำหรับปัญหาที่ยังได้รับการแก้ไขไม่ดีพอ ว่าขั้นตอนใดสำคัญ หากไม่สำคัญให้ยกเลิกไป และเปลี่ยนเป็นวิธีที่ใช้เวลาลดลดง แต่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิถีแบบไคเซนมีความเชื่อว่าทุกสิ่งสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และไม่มีสิ่งใดที่จะคงอยู่สภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป การทำงานแบบไคเซนทุกคนมีความสำคัญ เคารพผู้คนและเพื่อนร่วมงาน เพราะหัวใจสำคัญ คือ “ทุกคน” ต้องมีส่วนร่วม มุ่งมั่นทำไปในทิศทางเดียวกัน วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อยอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมา

.

ไคเซน คือ การลดขั้นตอนส่วนเกิน แต่ลดจากเรื่องที่ไม่จำเป็น ด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน ทำด้วยความตั้งใจจริง

  • 1. เปลี่ยนวิธีการ…เปลี่ยนวิธีการทำงาน ลดขั้นตอนส่วนที่ไม่จำเป็นออก
  • 2. เปลี่ยนเรื่องเล็ก…เปลี่ยนเรื่องเล็ก ๆ หรือปัญหาที่พบเห็นในแต่ละวัน
  • 3. รับมือกับความเป็นจริง…ทำเรื่องที่ทำได้ก่อน รับมือกับความเป็นจริงที่มีข้อจำกัด

การทำไคเซ็นปรากฏให้เราได้เห็นกันทุกที่ ไม่ใช่แค่ในโรงงาน เพราะไม่ว่าจะเป็นใน สายการผลิต ในสำนักงาน หรือแม้แต่ใน ชีวิตประจำวัน ก็สามารถทำไคเซ็นได้เหมือนกัน

.

ขั้นตอนในการปรับปรุงแบบไคเซน

การใช้หลักการไคเซ็น ระบุว่ามี 7 ขั้นตอนซึ่งทั้ง 7ขั้นตอน ดังกล่าวนี้ กล่าวได้ว่าเป็นวิธีการเชิงระบบ (System approach ) หรือปรัชญาในการสร้างคุณภาพงานของเดมมิ่ง ที่เรียกว่า PDCA (  – Do – Cheek – Action ) ที่นำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในทุกงานทุกกิจกรรม หรือ ทุกระบบการปฏิบัติงานนั่นเอง ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ อันประกอบด้วย

  • 1) ค้นหาปัญหา และกำหนดหัวข้อแก้ไขปัญหา
  • 2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของปัญหาเพื่อรู้สถานการณ์ของปัญหา
  • 3) วิเคราะห์หาสาเหตุ
  • 4) กำหนดวิธีการแก้ไข สิ่งที่ต้องระบุคือ ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร
  • 5) ใครเป็นคนทำ และทำอย่างไร
  • 6) ลงมือดำเนินการ
  • 7) ตรวจดูผล และผลกระทบต่าง ๆ และการรักษาสภาพที่แก้ไขแล้วโดยการกำหนดมาตรฐานการทำงาน

.

วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) มีดังนี้

  • 1) P-Plan ในช่วงของการวางแผนจะมีการศึกษาปัญหาพื้นที่หรือกระบวนการที่ต้องการปรับ ปรุงและจัดทำมาตรวัดสำคัญ (Key Metrics) สำหรับติดตามวัดผล เช่น รอบเวลา () เวลาการหยุดเครื่อง (Downtime) เวลาการตั้งเครื่อง อัตราการเกิดของเสีย เป็นต้น โดยมีการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity) เพื่อระดมสมองแสดงความคิดเห็นร่วมกันพัฒนาแนวทางสำหรับแก้ปัญหาในเชิงลึก ดังนั้นผลลัพธ์ในช่วงของการวางแผนจะมีการเสนอวิธีการทำงานหรือกระบวนการใหม่
  • 2) D-Do ในช่วงนี้จะมีการนำผลลัพธ์หรือแนวทางในช่วงของการวางแผนมาใช้ สำหรับ Kaizen Events ภายในช่วงเวลาอันสั้นโดยมีผลกระทบต่อเวลาทำงานน้อยที่สุด (Minimal Disruption) ซึ่งอาจใช้เวลาหลังเลิกงานหรือช่วงของวันหยุด
  • 3) C-Check โดยใช้มาตรวัดที่จัดทำขึ้นสำหรับติดตามวัดผลการดำเนินกิจกรรมตามวิธีการใหม่ (New Method) เพื่อเปรียบวัดประสิทธิผลกับแนวทางเดิม หากผลลัพธ์จากแนวทางใหม่ ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมาย ทางทีมงานอาจพิจารณาแนวทางเดิมหรือดำเนินการค้นหาแนวทางปรับปรุงต่อไป
  • 4) A-Act โดยนำข้อมูลที่วัดผลและประเมินในช่วงของการตรวจสอบเพื่อใช้สำหรับดำเนินการปรับแก้ (Corrective Action) ด้วยทีมงานไคเซ็น ซึ่งมีผู้บริหารให้การสนับสนุน เพื่อมุ่งบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการในช่วงของการดำเนินกิจกรรมไคเซ็นหรือ กิจกรรมการปรับปรุง (Kaizen Event) ทางทีมงานปรับปรุงจะมุ่งค้นหาสาเหตุต้นตอของความสูญเปล่าและใช้ความคิดสร้าง สรรค์ (Creativity) เพื่อขจัดความสูญเปล่า โดยมีการทำงานร่วมกับทีมงานข้ามสายงานอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 3-10 วัน และมีการติดตาม(Follow Up) ผลลัพธ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายใน 30 วัน หลังจากดำเนินกิจกรรมการปรับปรุง (Kaizen Event) รวมทั้งมีการจัดทำมาตรฐานกระบวนการ ( Standardization)

 

 

Author

Mitsumoto

All stories by: Mitsumoto