Toyota Production System (TPS) หมายถึง ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการกําจัดของเหลือหรือของส่วนเกินต่าง ๆ จากกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการลดต้นทุน ให้ต้นทุนต่ำสุด และผลิตสินค้าที่สามารถขายได้เท่านั้น เพราะ TOYOTA มองว่าสินค้าที่ผลิตแล้วขายไม่ได้ถือเป็นต้นทุนชนิดหนึ่ง ด้วยหลักการดังกล่าวทำให้ Toyota เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นหลักการสำคัญของของ Toyota ในการควบคุมต้นทุนการผลิตคือประกอบไปด้วย 2 หลักการคือ 1. Just In time (JIT) 2. JIDOKA
“Just In Time” ในความหมายที่ตรงตัว หมายถึง ทันเวลาพอดี ทํางานให้พอดี เวลาวางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี
เป้าหมายสำคัญของการทำงาน “สิ่่งที่ต้องการ ส่งมอบได้ตามเวลาที่ต้องการ ปริมาณที่้ต้องการ และสินค้าคงคลังต้องมีจำนวนน้อยที่สุด” ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกกำหนดจากความต้องการของลูกค้า
หลักการสำคัญของ Just In time (JIT) คือ
• ระบบดึง (Pull System) ใช้ในการควบคุมเวลาและ ปริมาณการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสินค้าโดยใช้ KABAN
• กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow Processing) เพื่อให้ปริมาณวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนสินค้า ในคลังแต่ละรอบของกระบวนการเหลือน้อยที่สุด
• รอบการผลิต (Takt Time) ปรับปรุงกระบวนการให้ใช้เวลาในการผลิตต่ำที่สุด
“JIDOKA” หรือในความหมายของคําภาษาอังกฤษว่า “Autonomation” หรือ การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งในความหมายของ TOYOTA คือการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรในการป้องกันความผิดพลาดในการทํางานที่อาจจะทําให้สินค้าเสียเกิดขึ้น หรือในทุกๆกระบวนการ หากเกิดการผิดพลาดขึ้น ระบบจะควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในสายการผลิตหรือในเครื่องจักร และป้องกันสินค้าที่เกิดความเสียหายหรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หลุดไปยังกระบวนการถัดไป ซึ่งอาจส่งผลให้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหลุดไปถึงมือลูกค้า หลักการ JIDOKA ของโตโยต้าประกอบไปด้วย
• Andon เป็นป้ายไฟขนาดใหญ่ เพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเมื่อเกิดปัญหา
• Pokayoke เป็นเครื่องมือในการป้องกันความผิดพลาด
นอกจากนี้ TOYOTA ยังได้ระบุด้วยว่า สาเหตุสําคัญที่ทําให้คุณภาพในการผลิตลดลงนั้น มี 3 สาเหตุหลักด้วยกัน คือ
• MUDA คือ การเคลื่อนไหวของพนักงานประกอบที่ไม่เกิดคุณค่า
• MURI คือ การรับภาระเกินความสามารถของบุคคลและอุปกรณ์
• MURA คือ แผนการผลิตหรือปริมาณการผลิตที่ไม่สม่ําเสมอ
หลักการนำมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรณ์ จำเป็นที่จะต้องมีการเก็บข้อมูล เพื่อที่จะนำมา Kaizen ในกระบวนการที่เป็นคอขวด เพื่อหาแนวทางการแก้ไขความเป็น MUDA ตามหลักปรัชญา วิถีโตโยต้า (Toyota Way)โดยองค์ความรู้ที่นำมาประยุกต์ใช้ประกอบไปด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน รู้ เห็น เป็น ใจ
• รู้ หมายถึง รู้ปัญหาในทุกกระบวนการภายใต้หลักของ TPS โดยการสำรวจหน้างานทุกกระบวนการ จากนั้นทำการระบุและหาสาเหตุของปัญหา
• เห็น หมายถึง เห็นแนวทางแก้ไขปัญหาตามหลัก Kaizen โดยทำการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ ระบบการมองเห็นเพื่อให้เห็นจุดเกิดปัญหา หรือจุดที่เกิดคอขวด
• เป็น หมายถึง ทำเป็นด้วยตัวเองตามหลัก Kaizen และพอเพียง โดยการให้พนักงานที่ประสบการณ์มากกว่าถ่ายทอดองค์ความรู้การทำงาน เช่นวิธีการไคเซน การใช้แบบฟอร์ม และระบบการมองเห็น เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง
• ใจ หมายถึง เข้าใจ ใส่ใจ ถูกใจ ตามหลักปรัชญาวิถีโตโยต้า โดยการสร้างมาตรฐานการประชุม เช่น ประชุมรายวัน หรือประชุมรายเดือน ของแผนกต่างๆ และจัดให้มีการตรวจหน้างาน ของแต่ละกระบวนการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การผลิตสินค้า ที่ถูกใจลูกค้า
Toyota Production System (TPS) คือ ระบบที่พนักงานและหัวหน้างานทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ควมเข้าใจ เพื่อให้รู้ถึงปัญหาที่ไม่มี (MUDA) และจุดคอขวด วิเคราะห์ระบบการมองเห็นเพื่อให้บุคคลากรภายในองค์กรณ์เห็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขหรือป้องกัน สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง และแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองมีความเข้าใจในงาน ใส่ใจรายละเอียดของงาน และสามารถทำงานได้ดีถูกใจลูกค้า ถ้าบุคคลากรภายในองค์กร เข้าใจหลักการดังกล่าวนี้ จะสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตตามปรัชญาของ Toyota Production System ได้ สามารถปฏิบัติงานได้ดี ตรงตามความต้องการของลูกค้า และยังช่วยลดปัญหาต้นทุนที่สูงจากปริมาณของเสียหรือกระบวนการที่ไม่เกิดคุณค่า (MUDA)